โรคมะเร็งตับ ภัยเงียบใกล้ตัวกว่าที่คิด ไม่ดื่มก็เสี่ยง!

โรคมะเร็งตับ ภัยเงียบใกล้ตัวกว่าที่คิด ไม่ดื่มก็เสี่ยง!

มะเร็งตับ อาจฟังดูเหมือนโรคร้ายแรงที่ไกลตัวสำหรับคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ แต่ความจริงแล้ว มันอาจอยู่ใกล้กว่าที่คุณคิด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มะเร็งตับเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ และสาเหตุก็ไม่ได้มาจากการดื่มเท่านั้น!

จากข้อมูลของกรมการแพทย์และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งตับและท่อน้ำดีเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทย โดยมีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 2 หมื่นรายต่อปี และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.6 หมื่นราย เกินครึ่งของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งตับ รวมถึงสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และวิธีป้องกัน เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและคนที่คุณรักได้ดียิ่งขึ้น

มะเร็งตับ ภัยร้ายอวัยวะสำคัญ

มะเร็งตับคือการเกิดเนื้องอกชนิดร้ายแรงในตับ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่กำจัดสารพิษในร่างกาย ผลิตน้ำดีช่วยย่อยไขมัน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มะเร็งตับแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

  • มะเร็งตับปฐมภูมิ  เกิดขึ้นจากเซลล์ในตับโดยตรง หรือเกิดจากเซล์ล์มะเร็งในท่อน้ำดีที่เชื่อมต่อกับตับโดยตรง
  • มะเร็งตับทุติยภูมิ  เกิดจากการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่น เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ โดยกระจายมาที่เนื้อตับในเวลาต่อมา 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง มะเร็งตับ 

การเกิดมะเร็งตับมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มคนที่มีประวัติโรคเกี่ยวกับตับมาก่อน ดังนี้

  1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) และซี (HCV)

การติดเชื้อไวรัสเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งตับ โดยไวรัสสามารถทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดในตับ (ตับแข็ง) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ และการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก

  1. ตับแข็ง (Cirrhosis)

ตับแข็งเกิดจากเนื้อเยื่อตับถูกทำลายจนแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อพังผืด สาเหตุของตับแข็งมักมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือไขมันพอกตับ

  1. การบริโภคแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดการอักเสบของตับและนำไปสู่ตับแข็ง

  • ผลวิจัยชี้ คนดื่มเหล้าแล้วหน้าแดง เสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่า
  1. การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin)

สารอะฟลาทอกซินพบในถั่วลิสงหรือธัญพืชที่เก็บรักษาไม่ดีจนเกิดเชื้อรา สารนี้เป็นสารก่อมะเร็งที่มีผลโดยตรงต่อตับ

  1. ไขมันพอกตับ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease, NAFLD)

ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ เป็นผลจากโรคอ้วน เบาหวาน หรือภาวะดื้อต่ออินซูลิน หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ตับแข็งและมะเร็งตับได้

  • ภาวะไขมันพอกตับ ต้นตอสู่ “มะเร็งตับ” พบมากเป็นอันดับ 1 ของคนไทย
  • คุณหมอเล่าประสบการณ์ตรง ไขมันพอกตับ กลับเป็นปกติได้
  1. พันธุกรรมและประวัติครอบครัว

หากครอบครัวมีประวัติของมะเร็งตับหรือโรคเกี่ยวกับตับ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับจะเพิ่มขึ้น

  1. สารพิษและสารเคมี

การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น ยาฆ่าแมลง หรือสารหนู (Arsenic) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ

  1. โรคทางพันธุกรรมบางชนิด

โรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อตับ เช่น โรคเฮโมโครมาโทซิส (Hemochromatosis) ซึ่งเกิดจากการสะสมธาตุเหล็กในตับ

  1. การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งตับและโรคมะเร็งอื่น ๆ

สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

โรคมะเร็งตับมักไม่มีอาการในระยะแรก แต่เมื่ออาการเริ่มปรากฏ ผู้ป่วยอาจมีนี้ หากสงสัยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด

  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการปวดหรือแน่นบริเวณชายโครงขวา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน)
  • ท้องบวมเนื่องจากน้ำในช่องท้อง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน

หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

การป้องกัน ปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง

แม้โรคมะเร็งตับจะดูน่ากลัว แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น:

  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มอย่างสิ้นเชิง 
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัย หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา 
  • ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • ตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีประวัติไวรัสตับอักเสบหรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 

โรคมะเร็งตับอาจไม่ได้ไกลตัวอย่างที่หลายคนคิด การรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก หากคุณพบว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมส่งต่อข้อมูลนี้ให้กับครอบครัวและเพื่อน ๆ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ตระหนักถึงสุขภาพและป้องกันภัยเงียบที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราและคนที่เรารัก

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.