รพ.สัตว์อารักษ์ เผยสุนัขเสี่ยงโรคลิ้นหัวใจรั่วถึง 75% พร้อมเสนอทางเลือกใหม่ "ผ่าตัดลิ้นหัวใจไมทรัล"
โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ เผยว่า 10% ของจำนวนสุนัขที่มาโรงพยาบาลพบปัญหาโรคหัวใจ (1) และพบว่า ในสุนัขอายุมากมีปัญหาโรคหัวใจจากความเสื่อมถึง 60% (2,5) ที่มักพบได้บ่อยคือ โรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อม (Myxomatous mitral valve disease, MMVD) โดยพบประมาณ 75 % ของสุนัขที่เป็นโรคหัวใจ (3) รองลงมาได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขยาย (Dilated cardiomyopathy, DCM) (4) ซึ่งโรคหัวใจมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น จะแสดงอาการเมื่อโรคมีการพัฒนามากขึ้น เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และถึงแก่ชีวิตได้ แนะเจ้าของหมั่นสังเกตอาการและพาสุนัขเข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพ และตรวจหัวใจประจำปี จะช่วยให้สามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และวางแผนหาแนวทางการดูแลรักษาได้ เพิ่มทางเลือกในการรักษานอกจากทางยา เช่น การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ หรือการผ่าตัดแก้ไขกรณีเป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด เพื่อช่วยลดภาระค่ายารักษาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในระยะยาว ย้ำศูนย์โรคหัวใจของโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง 3D Echocardiogram เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใกล้เคียงกับการรักษามนุษย์ และทีมสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านโรคหัวใจ
สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กาญจนฉายา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อารักษ์ แอนิมัล เฮลท์แคร์ จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้ง โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ กล่าวว่า “โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยในสุนัข ที่โดยส่วนใหญ่รักษาด้วยการใช้ยาเป็นหลักและต้องรับยาไปตลอดชีวิต ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีการใช้การผ่าตัดในการรักษาโรคหัวใจบางประเภท อาทิ การซ่อมลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วในสุนัขกันมากขึ้น ซึ่งต้องใช้ทั้งเทคโนโลยีขั้นสูงและความชำนาญ จึงอาจทำให้การผ่าตัดในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก แต่ด้วยความมุ่งมั่นของโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยงแบบครบวงจร เราจึงลงทุนด้านเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัยและครบครัน พร้อมด้วยทีมสัตวแพทย์ด้านโรคหัวใจที่มีประสบการณ์ ให้ศูนย์โรคหัวใจของโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนหาแนวทางและทางเลือกการรักษาโรคหัวใจเพื่อความปลอดภัยในการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของสัตว์เลี้ยง”
โรคหัวใจในสุนัขมีทั้ง ที่เป็นมาแต่กำเนิดจากพันธุกรรม และที่เกิดขึ้นภายหลังจากความเสื่อมของร่างกาย โดยแบบหลังมักพบในกลุ่มสุนัขอายุ 7-8 ปีขึ้นไป หรือมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล ชิวาว่า ปอมเมอเรเนียน บีเกิล พุดเดิ้ล ดัชชุน มอลทีส บอสตัน เทอร์เรียร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ โดเบอร์แมน และค็อกเกอร์ สแปเนียล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้โรคหัวใจในสุนัขจะเป็นโรคที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง แต่หากตรวจพบได้เร็ว และได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถชะลอความรุนแรงของโรค ทำให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น
นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว สุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง หรือสุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 7 – 8 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจ (Heart Check Up) ร่วมด้วยโดยไม่ต้องรอให้แสดงอาการ โดยสัตวแพทย์จะวินิจฉัยหลายวิธีร่วมกัน ทั้งการฟังเสียงหัวใจ และการตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความทันสมัยและครบครัน ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายภาพเอกซเรย์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงเครื่อง 3D Echocardiogram สำหรับการตรวจอัลตราซาวน์หัวใจแบบ 3 มิติที่จะช่วยให้เห็นภาพโครงสร้างหัวใจได้อย่างชัดเจน เพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยและยังใช้ในการพิจารณาเคสที่สามารถรักษาด้วยแนวทางอื่นนอกจากการใช้ยาได้ โดยเจ้าของสามารถทราบผลการตรวจสุขภาพหัวใจได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ หากต้องการความชัดเจนของโครงสร้างหัวใจมากยิ่งขึ้น เช่นในกรณีความผิดปกติโดยกำเนิดอย่างภาวะเส้นเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus, PDA) หรือการตรวจก่อนการผ่าตัด ก็สามารถตรวจหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) ที่โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ได้เลยเช่นกัน
“อารักษ์มุ่งดำเนินการภายใต้แนวคิด Pet Humanization ตอบโจทย์กลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์เสมือนลูกหรือคนในครอบครัว เราจึงลงทุนในเครื่องมือการแพทย์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกับการรักษาของคน ซึ่งจะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถวินิจฉัยได้ลงลึกมากขึ้น ช่วยเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการรักษาให้กับเจ้าของและสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก” สพ.ญ.ทัศวรินทร์กล่าวเสริม
การตรวจเจอโรคได้เร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา เพียงดูแลควบคุมไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ด้วยการดูแลเรื่องอาหาร ควบคุมน้ำหนัก และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจทำงานหนัก ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ หรือหากตรวจเจอในระยะที่ต้องรักษาด้วยยาแล้ว การดูแลไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อมในการใช้ชีวิตก็สามารถช่วยลดการใช้ยาได้ นอกจากนี้ โรคหัวใจบางประเภทยังมีทางเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งไม่เพียงมีแนวโน้มที่จะทำให้สุนัขหายจากโรคหัวใจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายหรืออาจช่วยจบวงจรค่าใช้จ่ายยารักษาที่เจ้าของต้องจ่ายในทุกเดือนได้ด้วย
“การรักษาด้วยการใช้ยาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายราว 5,000 – 15,000 บาทต่อเดือน ไปจนตลอดชีวิตของสัตว์เลี้ยง การผ่าตัดจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เจ้าของสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ในระยะยาว การรักษาด้วยการผ่าตัดในประเทศไทยอาจยังไม่แพร่หลายมากนักด้วยข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่เป็นทางเลือกการรักษาที่หลายประเทศเริ่มหันมาทำกันมากขึ้น เนื่องจากการผ่าตัดมีแนวโน้มจะช่วยให้สุนัขหายหรือดีขึ้นจากโรคได้ ซึ่งศูนย์โรคหัวใจของอารักษ์มีความพร้อมในทุกด้าน ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย นำเสนอแนวทางการรักษา ประเมินโอกาสความสำเร็จในการผ่าตัด อุปกรณ์ทางการแพทย์อันทันสมัย ห้องผ่าตัดที่มีมาตรฐาน ทีมสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์และชำนาญการรักษาโรคหัวใจ ไปจนถึงพื้นที่ที่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรตามความต้องการของสัตว์เลี้ยง (Pet-Centric Design) เหมาะสมกับการพักฟื้น พร้อมทีมดูแลหลังผ่าตัดตลอด 24 ชั่วโมง” สพ.ญ.ทัศวรินทร์ กล่าวปิดท้าย
เจ้าของสุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง หรือมีอายุตั้งแต่ 7 – 8 ปีขึ้นไป ควรหมั่นสังเกตอาการสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอ หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ทำกิจกรรมน้อยลง ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หรืออาเจียน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรรีบพามาพบสัตวแพทย์โดยเร็ว โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์เปิดให้บริการสัตว์เลี้ยงทั่วไปตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการศูนย์โรคหัวใจและคลินิกพิเศษอื่นๆ โดยสัตวแพทย์ผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ หรือนัดหมายบริการได้ที่ โทรศัพท์ 02- 1069977 เว็บไซต์ https://arakanimal.com Line OA @arakanimal หรือhttps://www.facebook.com/ArakAnimalHospital
* อ้างอิงจากวารสารวิชาการสัตวแพทย์:
1. Atkins C, Bonagura J, Ettinger S, et al. Guidelines for the diagnosis and treatment of canine chronic valvular heart disease. J Vet Intern Med. 2009;23(6):1142–1150.
- Rush JE. Chronic valvular heart disease in dogs. Proceedings from the 26th Annual Waltham Diets/OSU Symposium for the Treatment of Small Animal Cardiology; October 19–20, 2002. www.vin.com/proceedings/Proceedings.plx?CID=WALTHAMOSU2002&PID=2988. Accessed January 21, 2011.
- Keene B.W., Atkins C.E., Bonagura J.D., Fox P.R., Haggstrom J., Fuentes. V.L., Oyama M.A., Rush J.E., Stepien R., Uechi M.,(2019), ACVIM consensus guidelines for the diagnosis and treatment of myxomatous mitral valve disease.J.Vet.Int.Med., 33(3):1127-1140
- O’Grady MR, Minors SL, O’Sullivan ML, Horne R. Effect of pimobendan on case fatality rate in Doberman pinschers with congestive heart failure caused by dilated cardiomyopathy. J Vet Intern Med. 2008;22(4):897–904.
- Sisson D. Valvular heart disease in dogs. Proceedings from the WSAVA 2002 Congress; October 3–6, 2002; Granada, Spain. http://www.vin.com/apputil/content/defaultadv1.aspxmeta=&pId=11147&id=3846146. Accessed November 28, 2016.
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.