ฉลากบอกความหวาน แบบไหนน้ำตาลน้อยสุด ดีต่อสุขภาพ
ในปัจจุบันหลายคนรับทราบร่วมกันอยู่แล้วว่า "น้ำตาล" นั้นถือเป็น "ยาพิษ" ดังนั้นอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ จึงมีการระบุความหวานบนฉลากผลิตภัณฑ์ด้วยคำบอกความหวานที่หลากหลาย ทั้ง No Sugar, Low Sugar, Sugar Free และคำอื่นๆ ว่าแต่คำบอกความหวานเหล่านี้อธิบายในเรื่องความหวานอย่างไร และแบบไหนน้ำตาล หรือหวานแล้วดีต่อสุขภาพมากที่สุด
1. Sugar Free หรือ ไร้น้ำตาล หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งมีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ วัตถุให้ความหวานเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
- วัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน: เป็นวัตถุให้ความหวานที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่ให้พลังงานและไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ตัวอย่างเช่น แอสปาร์แตม สตีวีโอไซด์ (สารสกัดจากหญ้าหวาน) ซูคราโลส
- วัตถุให้ความหวานที่ให้พลังงาน: เป็นวัตถุให้ความหวานที่ให้พลังงานบางส่วน เช่น ฟรุกโตส มอลทิทอล ซอร์บิทอล และไซลิทอล วัตถุให้ความหวานประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยเบาหวาน
2. No Sugar Added หรือ ไม่ใส่น้ำตาลเพิ่ม หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้เติมน้ำตาลลงไปหลังจากการผลิต แต่รสชาติหวานที่ได้มานั้น อาจมาจากวัตถุดิบหลักของผลิตภัณฑ์เอง เช่น ความหวานจากธรรมชาติของผลไม้ หรือจากกระบวนการผลิต "No Sugar Added" จึงเป็นตัวบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้มีการเติมน้ำตาลลงไป แต่ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะไม่มีน้ำตาลเลย เนื่องจากวัตถุดิบบางชนิดก็มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว ผู้บริโภคจึงควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจส่วนผสมและปริมาณน้ำตาลที่แท้จริง
3. Low Sugar บนฉลากผลิตภัณฑ์ หมายความว่า ผลิตภัณฑ์นั้นได้ลดปริมาณน้ำตาลลงอย่างน้อย 25% เมื่อเทียบกับสูตรดั้งเดิม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำตาลเหลืออยู่เลยแม้แต่น้อยนั่นเอง Low Sugar อาจยังคงมีน้ำตาลปริมาณหนึ่งหลงเหลืออยู่ ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบปริมาณน้ำตาลที่แท้จริงที่บรรจุอยู่ภายใน โดยปกติแล้ว ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม นม หรือโยเกิร์ต มักจะพบฉลาก Low Sugar ได้บ่อย
4.Low GI หรืออาหารที่มีค่า GI ต่ำ ซึ่งค่า GI หรือ ดัชนีน้ำตาล Glycemic Index (GI) คือ ค่าที่ใช้บ่งบอกถึงความสามารถของอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตว่ามีผลต่อการขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดได้รวดเร็วเพียงใดภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังการบริโภคอาหารชนิดนั้น หากเราทานอาหารที่ระบุว่า Low GI ก็จะทำให้กระบวนการย่อยและการดูดซึมเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ น้ำตาลในเลือดจะค่อย ๆ สูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องนาน ไม่หิวบ่อย ซึ่งระดับของค่า GI ในอาหารแบ่งเป็น ต่ำ กลาง และสูง
สิ่งที่ควรดูบนฉลาก
- หน่วยบริโภคและปริมาณน้ำตาลต่อหน่วย: ตรวจสอบปริมาณน้ำตาลที่ระบุไว้บนฉลาก ว่ามีเท่าไรต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
-
เปรียบเทียบกับปริมาณน้ำตาลที่ควรกินต่อวัน:
- เด็กและผู้สูงอายุ: ไม่ควรเกิน 16 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชาต่อวัน
- วัยรุ่นและวัยทำงาน: ไม่ควรเกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชาต่อวัน
คำนวณปริมาณน้ำตาลที่กินเข้าไป
หลังจากดูฉลากแล้ว ลองคำนวณดูว่าตลอดทั้งวัน เราบริโภคน้ำตาลไปเท่าไรแล้ว หากเกินปริมาณที่แนะนำ ก็ควรลดปริมาณการบริโภคในมื้อต่อไป
ระวังน้ำตาลแฝง
นอกจากน้ำตาลทรายที่เราคุ้นเคยแล้ว ยังมีน้ำตาลชนิดอื่น ๆ ที่แฝงอยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น
- น้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn Syrup): มักพบในเครื่องดื่มและขนมหวาน
- น้ำเชื่อมฟรักโทส (HFCS): พบได้ในอาหารแปรรูปหลายชนิด
- น้ำผลไม้เข้มข้น (Concentrated Fruit Juice): แม้จะเป็นผลไม้ แต่ก็มีปริมาณน้ำตาลสูง
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.