4 ลักษณะของ “น้ำดื่ม” ที่ควรหลีกเลี่ยง ก่อนเสี่ยงโรค

อาหารแรกๆ ที่เราทานในแต่ละวัน คงหนีไม่พ้น “น้ำดื่ม” ยิ่งในระหว่างวันเรายิ่งมีความจำเป็นที่ต้องดื่มน้ำเปล่าไปตลอดทั้งวันด้วย ในแต่ละวันเราควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะนอกจากช่วยเรื่องของสุขภาพที่ป้องกันโรคร้ายต่างๆ แล้ว ยังช่วยเรื่องผิวพรรณให้เปลั่งปลั่งไม่มีริ้วรอยก่อนวัยอันควรอีกด้วย

  • 6 โรคร้ายถามหา ถ้า “ดื่มน้ำน้อย”
  • 8 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลัง “ดื่มน้ำน้อยเกินไป”

อย่างไรก็ตาม น้ำดื่มที่เราดื่มกันอยู่ทุกวันนี้ ปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือไม่ มีน้ำดื่มแบบไหนที่เราควรหลีกเลี่ยง มาดูกัน

น้ำดื่ม ที่เราควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

  1. น้ำฝน

คนสมัยก่อนอาจจะชอบรองน้ำฝนมาดื่มเย็นชื่นใจ แต่สำหรับชาวเมืองที่ในชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่น เมื่อก๊าซรวมตัวกับน้ำฝนจะเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ทำให้น้ำฝนกลายเป็นน้ำกรดอ่อนๆ ที่นอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวๆ ไม่อร่อยชื่นใจแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

  1. น้ำกลั่น

น้ำกลั่น เป็นน้ำที่บริสุทธิ์มาก ทางการแพทย์ใช้ในการเตรียมสารละลายต่างๆ เช่น ทำน้ำเกลือ เป็นต้น แต่น้ำกลั่นก็เป็นน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเช่นกัน หากเราดื่มน้ำกลั่นเข้าไปในร่างกาย ร่างกายต้องดึงเอาแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือแร่อื่นๆ ออกมาใช้ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุเหล่านี้ จนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

  1. น้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่ได้มาตรฐาน / สัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน

น้ำดื่มบรรจุขวดก็อาจไม่ปลอดภัยหากไม่ได้รับการผลิตที่มีมาตรฐานดีเพียงพอ เพราะอาจพบสารปนเปื้อน เช่น พลาสติก ระหว่างกระบวนการผลิตได้ ดังนั้นควรเช็กให้แน่ใจว่าเป็นน้ำดื่มที่ผลิตจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพของการผลิตทุกขั้นตอน

  1. น้ำประปาที่มีปริมาณไตรฮาโลมีเทนสูงเกินไป

ไตรฮาโลมีเทน คือ สารที่เกิดจากสารอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนที่อยู่ในน้ำประปา ซึ่งหากพบว่ามีไตรฮาโลมีเทนในปริมาณมาก อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ ปกติแล้วมาตรฐานของระดับไตรฮาโลมีเทนในน้ำประปาของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน สำหรับประเทศไทย ไม่ควรพบค่าไตรฮาโลมีเทนในการใช้น้ำประปาทำอาหาร เช่น หุงข้าว มากกว่า 80 ไมโครกรัมต่อลิตร และในน้ำประปาของเราที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ พบว่าไตรฮาโลมีเทนราว 70 และ 73 ไมโครกรัมต่อลิตร ดังนั้นจึงวางใจได้ว่าน้ำประปาบ้านเราสามารถดื่ม และนำมาปรุงอาหารได้ แต่หากว่าพบว่าไตรฮาโลมีเทนสูงเกินไป ก็ควรหลีกเลี่ยง

เพื่อความแน่ใจว่าเราจะได้ดื่มน้ำที่ปลอดภัยต่อร่างกายของเราจริงๆ อาจเลือกดื่มน้ำจากบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท ผลิตใหม่ไม่ค้างเก็บไว้นาน ผลิตจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ หรืออาจนำน้ำมาต้มให้เดือดก่อนดื่ม รวมไปถึงใช้เครื่องกรองน้ำที่ได้มาตรฐาน และเปลี่ยนไส้กรองตามเวลาที่กำหนด

  • รู้ได้อย่างไร “ดื่มน้ำ” เพียงพอแล้วหรือยัง

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.