9 สัญลักษณ์แสดงอันตรายของสารเคมีที่ประชาชนทั่วไปต้องรู้
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุไว้ให้สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (Hazard pictogram) เป็นสัญลักษณ์สีดำบนพื้นขาวอยู่ภายในกรอบสีแดงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีทั้งหมด 9 รูปสัญลักษณ์
- สัญลักษณ์ของ GHS หรือ Globally Harmonized System for Classification and Labelling of Chemicals กำหนดโดย องค์การสหประชาชาติ เป็นการติดฉลากสารเคมีเพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก
จากกรณีเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติกจนทำให้เกิด สไตรีนโมโนเมอร์ ( Styrene Monomer) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า สไตรีน ซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย โดยใน คู่มือการจัดการสารเคมีอันตรายสูง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตุลาคม 2552 จะพบสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ อันตรายของสารเคมี ชนิดนี้ตามข้อกำหนดของ GHS ไว้ 2 รูปคือ สารไวไฟ และ รูปคนสูดสารเคมี ที่แปลว่าอันตรายต่อสุขภาพ
สัญลักษณ์ของ GHS หรือ Globally Harmonized System for Classification and Labelling of Chemicals กำหนดโดย องค์การสหประชาชาติ เป็นการติดฉลากสารเคมีเพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการปกป้องสุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจาก อันตรายของสารเคมี ผ่านระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก ทั้งยังลดความซ้ำซ้อนในการจัดเตรียมข้อมูล การประเมินสารเคมี ให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลสารเคมีที่ถูกต้องตรงกัน
สำหรับประชาชนทั่วไป สัญลักษณ์ GHS ก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพื่อที่จะได้ระวังเมื่อเจอรถขนส่งสารเคมี หรือเมื่อพบเห็นกล่องที่ติดสัญลักษณ์แสดงอันตรายนั้นๆ โดยจากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุไว้ว่า รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (Hazard pictogram) เป็นสัญลักษณ์สีดำบนพื้นขาวอยู่ภายในกรอบสีแดงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีทั้งหมด 9 รูปสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายของความเป็นอันตรายในแต่ละด้าน และแต่ละประเภท ได้แก่
1. สารไวไฟ : อาจเป็นได้กับทั้งก๊าซ ของเหลว ของแข็ง / สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง / เกิดความร้อนได้เอง / ลุกติดไฟในอากาศได้เอง / สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ / สารเปอร์ออกไซด์อินทรี
2. สารออกซิไดซ์ : อาจเป็นได้กับทั้งก๊าซ ของเหลว ของแข็ง
3. วัตถุระเบิด : หมายถึงวัตถุระเบิด สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
4. ก๊าซบรรจุภายใต้ความดัน : ก๊าซภายใต้ความดัน
5. สารกัดกร่อน : สารที่กัดกร่อนโลหะ ผิวหนัง และดวงตา
6. พิษเฉียบพลัน : สารที่มีอันตรายถึงชีวิต
7. อันตรายต่อสุขภาพ : การก่อมะเร็ง / การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจ /ความเป็นพิษต่อระบบสิบพันธุ์ / ความเป็นพิษต่ออวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง / ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ /ความเป็นอันตรายต่อการสำลัก (สไตรีนโมโนเมอร์ มีสัญลักษณ์นี้ระบุไว้)
8. ระวัง : ระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง / ทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อผิวหนัง / อาจระคายเคืองต่อทางเดินหายใจหรือทำให้ง่วง หรือมึนงง / ความเป็นพิษเฉียบพลัน
9. อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม : เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในน้ำ ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
อ้างอิง
- คู่มือการจัดการสารเคมีอันตรายสูง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตุลาคม 2552
- http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=73&content_id=1758
- สัญลักษณ์และป้ายเตือนอันตรายสารเคมี โดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.