ท้องอย่างไรไม่ให้อ้วนฉุ ไม่ทำลายสุขภาพกับ 5 เทคนิคคุมน้ำหนักที่แม่ท้องต้องรู้
การมุ่งเป้าไปสู่การทำน้ำหนักให้ดีและเหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่จะต้องระมัดระวังอย่างมาก โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ที่ยังไม่รู้ว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ไม่ควรเกินไปกว่า 10-12 กิโลกรัม เพราะอาจนำพาโรคต่าง ๆ มาด้วย และยังไปสร้างผลข้างเคียงที่ไม่ดีต่อลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นจึงขอแนะนำ 5 เทคนิคของการดูแลน้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ ให้ขึ้นอย่างได้มาตรฐาน พร้อมทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน และมีสุขภาพที่ดี ดังต่อไปนี้
1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเน้นรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารจำเป็น เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนไม่ติดมัน และผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย โดยหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลสูง และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว นอกจากนี้ แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ วันละ 2-3 ครั้ง แนะนำให้แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวัน ประมาณ 5-6 มื้อ จะช่วยให้ลำไส้คุณแม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และปรับปรุงการดูดซึมสารอาหารให้มีคุณภาพ
2.เพิ่มปริมาณแคลอรี่อย่างเหมาะสม
ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก ไตรมาสแรกอาจเพิ่มเพียง 150 แคลอรี่ต่อวัน และเพิ่มเป็น 340 แคลอรี่ต่อวัน ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ขอแนะนำให้บริโภคอาหารธรรมชาติ เช่น ผลิตผลสด ซึ่งปรุงด้วยกระบวนการน้อยที่สุด เพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องและดองทุกชนิด การเลือกรับประทานอาหารที่สดใหม่ และผ่านกระบวนการน้อยที่สุด จะทำให้มั่นใจได้ว่าคุณแม่จะได้รับสารอาหารมากที่สุดจากทุกมื้ออาหาร
3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมของทั้งคุณแม่และทารก ซึ่งคุณแม่สามารถเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับสภาพร่างกาย เช่น การเดิน, การว่ายน้ำ หรือการทำโยคะเบา ๆ เป็นต้น
4.ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ สามารถช่วยลดความอยากอาหารที่มากเกินไป พร้อมทำให้ระบบภายในสมดุล ป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
5.ปรึกษาแพทย์หรือโภชนากร
การปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ สามารถช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมเกี่ยวกับการดูแลน้ำหนัก และโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือมีความเสี่ยงสูงในเรื่องโรคและครรภ์เป็นพิษ
ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจรู้สึกว่ายิ่งน้ำหนักเพิ่มขึ้น ลูกก็จะยิ่งแข็งแรงและมีสุขภาพดีมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจเพิ่มขึ้นเกือบ 20 กิโลกรัม ในขณะที่บางคนอาจประสบปัญหาในการกินและน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดความกังวลอย่างมาก โดยทั่วไปคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15 กิโลกรัม หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 12.5 กิโลกรัม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ด้วยนะคะ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.