ผู้ป่วยเบาหวานกิน "มะม่วง" ได้ไหม กินแบบไหนไม่เสี่ยงน้ำตาลพุ่ง
มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงซึ่งอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่ด้วยใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำทำให้มะม่วงอาจไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว แต่หากรับประทานเป็นประจำ ระดับน้ำตาลในเลือดก็อาจเพิ่มสูงขึ้นได้ ดังนั้นการทานมะม่วงควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เลือกทานมะม่วงสุกที่มีเนื้อสีเหลือง หลีกเลี่ยงมะม่วงที่สุกจนเนื้อเละ และทานคู่กับอาหารอื่นๆ เพื่อชะลอการดูดซึมน้ำตาล
ผู้ป่วยเบาหวานทานมะม่วงได้หรือไม่
มะม่วงเป็นหนึ่งในผลไม้เขตร้อนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ด้วยเนื้อสีเหลืองสดใส รสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์ มะม่วงจัดเป็นผลไม้ที่ปลูกพัฒนาพันธุ์มาอย่างยาวนานในเขตร้อนของเอเชีย แอฟริกา และอเมริกากลาง ปัจจุบันมีการปลูกมะม่วงทั่วโลก หลายคนสงสัยว่ามะม่วง ซึ่งมีน้ำตาลธรรมชาติอยู่สูง เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไม่
มะม่วงจัดเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารมากมาย เต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เหมาะสำหรับการนำไปปรับสมดุล เสริมสร้างโภชนาการให้กับทุกๆ รูปแบบการรับประทานอาหาร รวมถึงผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมะม่วงมีสารอาหารต่อไปนี้
- พลังงาน
- โปรตีน
- ไขมัน
- คาร์โบไฮเดรต
- น้ำตาล
- ใยอาหาร
- วิตามินซี:
- ทองแดง:
- โฟเลต:
- วิตามินเอ
- วิตามินอี:
- โพแทสเซียม
นอกจากนี้ มะม่วงยังมีแร่ธาตุสำคัญอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และสังกะสี
ส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดน้อย
แม้ว่าน้ำตาลจะเป็นแหล่งพลังงานหลักของมะม่วง (คิดเป็นกว่า 90% ของแคลอรีทั้งหมด) ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ทว่าในขณะเดียวกัน มะม่วงก็ยังมีใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ซึ่งสารอาหารทั้งสองกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการลดผลกระทบโดยรวมต่อน้ำตาลในเลือด
ใยอาหารช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดภาวะความเครียดที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้ส่งผลให้ร่างกายสามารถจัดการกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ดัชนีน้ำตาลในเลือด (GI) ของมะม่วง
ดัชนีน้ำตาลในเลือดเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดอันดับอาหารตามผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือด โดยใช้สเกล 0-100 ค่า 0 แทนไม่มีผล และ 100 แทนผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับจากการกินน้ำตาลบริสุทธิ์ อาหารใดที่มีค่า GI ต่ำกว่า 55 จัดว่าเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มะม่วงมีค่า GI อยู่ที่ 51 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ
อย่างไรก็ตาม แต่ละคนอาจมีการตอบสนองต่ออาหารแตกต่างกัน แม้ว่ามะม่วงจะเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ควรสังเกตอาการหลังรับประทานเพื่อประเมินผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละบุคคล เพื่อกำหนดปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการนำมะม่วงมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรับประทานอาหาร
เคล็ดลับทานมะม่วงอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการทานมะม่วง มีวิธีการหลายประการที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ดังนี้
1.รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจากอาหารทุกชนิด รวมถึงมะม่วง อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องตัดมะม่วงออกจากแผนการรับประทานอาหารไปเสียทีเดียว โดยทั่วไป ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 1 หน่วยบริโภค จะอยู่ที่ประมาณ 15 กรัม
2.เพิ่มแหล่งโปรตีน
เช่นเดียวกับใยอาหาร โปรตีนก็สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อทานคู่กับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง มะม่วงมีใยอาหารตามธรรมชาติ แต่ปริมาณโปรตีนไม่สูงมากนัก
ดังนั้น การทานมะม่วงควบคู่กับแหล่งโปรตีน อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการทานมะม่วงเพียงอย่างเดียว
สำหรับมื้ออาหารหรือของว่างที่สมดุลมากขึ้น ลองทานมะม่วงคู่กับไข่ต้ม ชีส หรือถั่ว
ตัวอย่างการทานมะม่วงควบคู่กับแหล่งโปรตีน
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + ไข่ต้ม 1 ฟอง
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + โยเกิร์ตกรีก 1 ถ้วย + อัลมอนด์ 1 หยิบมือ
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + พาร์เมซานชีส 2 ช้อนโต๊ะ + สลัดผัก
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + อกไก่ย่าง 1 ชิ้น
ข้อควรระวัง: ควรเลือกโปรตีนที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ เพื่อสุขภาพที่ดี
- วิธีปอกมะม่วงสุกไม่ให้เนื้อดำ ทิ้งไว้นานแค่ไหนก็ไม่คล้ำ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.