คำสันธาน คืออะไร ใช้ยังไง เวลาใช้งานจะอยู่ตรงไหนของประโยค
คำสันธาน เป็นคำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล หรือเชื่อมความให้สละสลวย
คำสันธานแบ่งเป็น 4 ชนิด ดังนี้
คำสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน
ได้แก่คำว่า และ ทั้ง...และ ทั้ง...ก็ ครั้น...ก็ ครั้น...จึง ก็ดี เมื่อ...ก็ว่า พอ...แล้ว เช่น
- ทั้งพ่อและแม่ของผมเป็นคนใต้
- พอทำการบ้านเสร็จแล้วฉันก็นอน
คำสันธานที่เชื่อมความขัดแย้งกัน
เช่นคำว่า แต่ แต่ว่า กว่า...ก็ ถึง...ก็ เป็นต้น เช่น
- ผมต้องการพูดกับเขา แต่เขาไม่ยอมพูดกับผม
- กว่าเราจะเรียนจบเพื่อนๆ ก็ทำงานหมดแล้ว
คำสันธานที่เชื่อมข้อความให้เลือก
ได้แก่คำว่า หรือ หรือไม่ ไม่...ก็ หรือไม่ก็ ไม่เช่นนั้น มิฉะนั้น...ก็ เป็นต้น เช่น
- นักเรียนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือภาษาไทย
- เธอคงไปซื้อของหรือไม่ก็ไปดูหนัง
คำสันธานที่เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผล
ได้แก่คำว่า เพราะ เพราะว่า ฉะนั้น...จึง ดังนั้น เหตุเพราะ เหตุว่า เพราะฉะนั้น...จึง เป็นต้น เช่น
- นักเรียนมาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก
- เพราะวาสนาไม่ออกกำลังกายเธอจึงอ้วนมาก
หน้าที่ของคำสันธาน
เชื่อมประโยคกับประโยค
- เขามีเงินมากแต่เขาก็หาความสุขไม่ได้
- พ่อทำงานหนักเพื่อส่งเสียให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ
- ฉันอยากได้รองเท้าที่ราคาถูกและใช้งานได้นาน
เชื่อมคำกับคำหรือกลุ่มคำ
- สมชายลำบากเมื่อแก่
- เธอจะสู้ต่อไปหรือยอมแพ้
- ฉันเห็นนายกรัฐมนตรีและภริยา
เชื่อมข้อความกับข้อความ
- ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่เมืองไทย เขาขยันหมั่นเพียรไม่ยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เขาจึงร่ำรวย จนเกือบจะซื้อแผ่นดินไทยได้ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลายจงตื่นเถิด จงพากันขยันทำงานทุกชนิดเพื่อจะได้รักษาผืนแผ่นดินของไทยไว้
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.