คำวิเศษณ์ คืออะไร หน้าที่ของคำวิเศษณ์ใช้ยังไง และ แบ่งเป็นกี่ชนิด
คำวิเศษณ์ หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม สรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น
หน้าที่ของ คำวิเศษณ์
- ขยายคำนาม
- ขยายคำสรรพนาม
- ขยายคำกริยา
- ขยายคำวิเศษณ์
- เป็นอกรรมกริยา หรือเป็นกริยาบอกสภาพ
คำวิเศษณ์ แบ่งเป็น 10 ชนิดคือ
- ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกลักษณะ ชนิด ขนาด สัณฐาน สี เสียง กลิ่น รส อาการ เป็นต้น
- กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลา เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ อดีต ปัจจุบัน อนาคตเป็นต้น
- สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่ หรือระยะทาง เช่น บน ล่าง ใกล้ ไกล หน้า หลัง ขวา ซ้าย ใน นอก เหนือ ใต้ เป็นต้น
- ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่ มาก น้อย หลาย หมด เป็นต้น
- ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงคำถาม เช่น ใคร ใด อะไร ไหน ทำไม อย่างไร เป็นต้น
- นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความชี้เฉพาะเจาะจง เช่น นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น อย่างนั้น อย่างนี้ ทีเดียว เป็นต้น
- อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง หรือบอกความไม่แน่นอน เช่น ใคร อะไร ใด ไหน ทำไม อื่น เป็นต้น (โดยรูปประโยคจะเป็นลักษณะบอกเล่า ไม่ใช่คำถาม)
- ประดิษชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงการขานรับใช้ในการเจรจาโต้ตอบ เช่น จ๊ะ จ๋า ค่ะ ครับ วะ โว้ย ขา เป็นต้น
- ปฏิเสธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงการปฏิเสธ เช่น บ่ ไม่ ไม่ได้ มิได้ หามิได้ เป็นต้น
- ประพันธวิเศษณ์ เป็นวิเศษณ์ที่ใช้เชื่อมความให้เกี่ยวข้องกัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ เช่นที่ ฯลฯ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.