รู้หรือไม่! ผู้ชายก็เสี่ยงโรคกระดูกพรุน ไม่น้อยไปกว่าผู้หญิง
เมื่อเราอายุมากขึ้นกระดูกของเรามีการสึกหรอ แตกหักง่ายตามกาลเวลา โดยปกติแล้วมวลกระดูกของคนเราจะถูกสร้างและสะสมมาตั้งแต่แรกเกิดจนมีความแน่นหนาสูงสุดเมื่ออายุ 30 ปี และมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุหลายๆ คนมีภาวะกระดูกพรุน โดยเฉพาะในผู้หญิงที่จะมีภาวะมวลกระดูกที่ลดลงอย่างรวดเร็ว มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงวัยหมดประจำเดือน
โรคกระดูกพรุนในผู้สูงวัย คืออะไร
โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่โครงสร้างในเนื้อกระดูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เนื้อกระดูกลดน้อยลง และทำให้กระดูกของเรามีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น และมักจะเกิดขึ้นบริเวณกระดูกมือ สะโพก และบริเวณกระดูกสันหลัง สำหรับโรคกระดูกพรุนจะพบมากในผู้หญิง เพราะในช่วงวัยที่หมดประจำเดือนผู้หญิงจะสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าปกติ หากเทียบกับผู้ชายอัตราการเกิดกระดูกพรุนในเพศหญิงจึงสูงมากกว่าและมีความเสี่ยงมากกว่านั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
สำหรับความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุนเกิดได้จากหลายปัจจัย และเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยยิ่งอายุที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงมากกระดูกพรุนมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุนเกิดจากปัจจัยอะไรได้บ้างนั้นมาดูกัน
- อายุที่มากขึ้น ซึ่งเมื่อเราอายุที่มากขึ้นมวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลงโอกาสที่จะเกิดกระดูกพรุนจึงเป็นไปได้สูงมากยิ่งขึ้น
- เพศ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกเสื่อมได้ง่าย โดยเฉพาะเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน ที่ขาดฮอร์โมนเพศทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว หากเปรียบเทียบกับเพศชาย
- ขาดสารอาหาร ก็เป็นภาวะที่ทำให้เกิดกระดูกพรุนได้ง่าย เท่านั้นยังไม่พอร่างกายยังเสียสมดุลต่อการสร้างมวลกระดูกอีกด้วย การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิตามินดี โปรตีนและแคลเซียมที่มีส่วนสำคัญในการสร้างมวลกระดูกให้หนาแน่นมากยิ่งขึ้น
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ก็เป็นตัวทำลายมวลกระดูกให้ดูเปราะบางได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย หากดื่มหรือสูบเป็นเวลานานอาจจะเสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้ แถมยังเสี่ยงกระดูกหักได้ง่ายด้วยเช่นเดียวกัน
- เกิดจากปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ เชื้อชาติ การกินยารักษาโรคบางชนิดหรือเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ ที่เคยทำให้กระดูกหักมาก่อน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็สามารถทำให้เกิดกระดูกพรุนได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ภาวะโรคกระดูกพรุนอาจจะเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกพรุนได้เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยยืดอายุกระดูกของเราให้แข็งแรงและลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดกระดูกพรุนได้ง่ายในอนาคต โดยเฉพาะในผู้หญิงเรา การเสริมแคลเซียมหลังจากหมดประจำเดือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.