คุณเปรียบเป็นสัตว์ตัวไหน เทียบได้กับเวลาตื่น และเวลานอน

รูปแบบการนอน พฤติกรรม และลักษณะนิสัย ล้วนแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับวัย ระดับกิจกรรม และสภาพแวดล้อมในการนอน พฤติกรรมเหล่านี้สามารถจัดกลุ่มได้ด้วย Chronotype หรือ จังหวะชีวภาพเฉพาะตัว ซึ่งกำหนดระดับความสดชื่นและความกระตือรือร้นของแต่ละคนตลอดทั้งวัน"

"Chrono" แปลว่า "เกี่ยวข้องกับเวลา" ส่วน "type" หมายถึง รูปแบบ หนึ่งในสี่รูปแบบหลักของ Chronotype ได้แก่ สิงโต โลมา หมาป่า และหมี แต่ละสัตว์เหล่านี้สอดคล้องกับบุคลิกภาพและระดับกิจกรรมของคน ประเภทไหน คือสายตื่นเช้า สายนกฮูก? ต้องงีบกลางวันไหม หรือลุยงานยาวๆ แล้วเข้านอนเร็ว ชอบโฟกัสและตั้งใจตอนเช้า หรือสิงสู่อยู่บนที่นอนอุ่นๆ จนถึงบ่าย? การรู้ Chronotype ของตัวเอง ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ยังช่วยให้เข้าใจความต้องการของร่างกายมากขึ้นด้วย"

"แทนที่จะฝืนธรรมชาติของร่างกายด้วยตารางการนอนที่ไม่เหมาะสม ทำไมไม่ลองยอมรับและปรับตัวตาม Chronotype ดูล่ะ? การรู้จักข้อดีข้อเสียของ Chronotype ส่วนตัว เริ่มต้นจากการรู้ว่าตัวเองเป็นประเภทไหนก่อนเลย"

หมี ชีวิตจะเดินตามแสงอาทิตย์ ตื่นเช้า นอนไว ไม่ค่อยงอแง แถมยังขยันสุดๆ ช่วงเช้า สายๆ นี่สมองโล่ง ทำงานลึกได้ยาวๆ แต่บ่ายแก่ หลังข้าวเสร็จปุ๊บ ตาค่อยๆ ปิด เริ่มง่วง

เวลาตื่นนอน : 7.00-8.00 น.
ทำงานหลักได้ดี : 10.00-14.00 น.
ทำงานเบาๆได้ : 14.00-16.00 น.
เวลาผ่อนคลาย : 16.00-22.00 น.
เตรียมตัวเข้านอน : 22.00 น.-23.00 น.
เข้านอน: 23.00-07.00 น.

คนประเภทหมีนี่มีประมาณ 55% เลยนะ สบายใจไป คนเยอะแยะ แต่ข้อเสียคือ แอบจะขี้เซา ถ้าอดนอน วันๆ ก็เบลอไปหมด แถมนอนเร็วกว่าปกติอีก แต่ข้อดีคือ คุยเก่ง สนุกสนาน เฮฮาไปทั้งวัน

หมาป่า ขออ้อนตื่นสายหน่อย เพราะพลังงานจะพุ่งสุดๆ สองรอบ รอบแรกเที่ยงวัน รอบสองเย็นๆ หกโมง กำลังดี (ส่วนคนอื่นเลิกงานกันหมดละ) สายค่ำตัวจริง แสงอาทิตย์ไม่ใช่ตัวปลุก แต่แสงไฟในห้องต่างหาก ตื่นเช้าแบบธรรมชาติเหรอ ฝันไปเถอะ  แต่เอ้า ดึกแค่ไหนไม่หวั่น แค่ได้ปล่อยของ แต่งเพลง เขียนนิยาย ยิงไอเดีย บรรเจิดไปยาวๆ จนถึงเที่ยงคืน ตีหนึ่ง

เวลาตื่นนอน : 7.30-9.00 น.
ทำงานเบาๆ ได้ : 10.00-12.00 น.
ทำงานหลักได้ดี : 12.00-14.00 น.
ทำงานเบาๆ ได้อีกครั้ง : 14.00-17.00 น.
เวลาแห่งศิลปะ วาดรูป เล่นดนตรี : 17.00-21.00 น.
เวลาผ่อนคลาย : 21.00-22.00 น.
เตรียมตัวเข้านอน : 22.00 น.-00.00 น.
เข้านอน: 24.00-07.30 น.

มีคนที่เปรียบเป็นหมาป่าประมาณ 15 % คนประเภทนี้มักเก็บตัว

สิงโต เป็นคนที่สดชื่นที่สุดในตอนเช้า พลังงานพุ่งสูงสุดก่อนเที่ยง และมักจะทำงานเยอะมากก่อนมื้อกลางวัน การตื่นเช้าสำหรับสายสิงโตนั้นง่ายดายเหมือนลมพัด และทุกอย่างมักจะราบรื่นจนถึงเที่ยงวัน แต่พลังงานที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็มักจะลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

อาการเหนื่อยล้าช่วงบ่ายนั้นส่งผลกับกลุ่มนี้ค่อนข้างรุนแรง มักจะต้องการงีบเพื่อชาร์จพลัง และในตอนเย็นก็รู้สึกหมดแรง สิ่งสำคัญสำหรับสายสิงโตคือการมีกิจวัตรผ่อนคลายช่วงเย็นเพื่อช่วยคลายความเครียดจากวันนั้น ก่อนเข้านอนเร็วประมาณ 10 โมงเย็น โดยทั่วไป สายสิงโตต้องการนอนประมาณ 8 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อรักษาระดับพลังงานสูงในตอนเช้า

เวลาตื่นนอน : 06.00-07.00 น.
ทำงานหลักได้ดี : 08.00-12.00 น.
ทำงานเบาๆได้ : 12.00-16.00 น.
เวลาผ่อนคลาย : 16.00-21.00 น.
เตรียมตัวเข้านอน : 21.00 น.-22.00 น.
เข้านอน: 22.00-06.00 น.

ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรจัดตัวเองอยู่ในกลุ่มสายสิงโต มักจะเห็นออกกำลังกายแต่เช้าและเป็นคนแรกๆ ที่มาถึงออฟฟิศ พวกเขาตื่นนอนเร็วและมีพลังงานล้นเหลือในช่วงชั่วโมงทองของตัวเอง บุคลิกภาพมักเป็นแบบ Type-A มุ่งมั่น ทะเยอทะยาน สายสิงโตมักใช้ประโยชน์จากเสน่ห์ของตัวเองและมักได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานให้เป็นผู้นำ

โลมา พวกมันนอนหลับโดยใช้สมองเพียงครึ่งซีกเท่านั้น เพื่อให้ตื่นตัวระวังภัยจากผู้ล่า โลมาตื่นเช้าได้ยาก แต่เมื่อเริ่มวัน พลังงานจะพุ่งสูงสุดช่วงสายๆ คล้ายกับสายนกฮูก โลมาแบกความเหนื่อยล้าเรื้อรังตลอดเวลา จากพฤติกรรมนอนที่น่ากังวล เช่น หลับยาก นอนหลับไม่สนิท สั้น ๆ ไม่เต็มอิ่ม การงีบช่วงบ่ายอาจช่วยเพิ่มพลังงานได้ โลมาจะหลับเมื่อร่างกายบังคับ ไม่ใช่หลับสนิทเต็มใจ ส่งผลให้หลับยากและคุณภาพการนอนไม่ดี แนะนำให้เข้านอนประมาณเที่ยงคืน ตื่นตอน 6 โมงเช้า

เวลาตื่นนอน : 06.00-07.30 น.
จัดการงานเบาๆ : 08.00-10.00 น.
ทำงานหลักได้ดี : 10.00-12.00 น.
จัดการงานเบาๆ :12.00-16.00 น.
เวลาผ่อนคลาย : 16.00-21.00 น.
เตรียมตัวเข้านอน : 22.00 น.-23.30 น.
เข้านอน: 24.00-06.30 น.

มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเท่านั้นที่จัดตัวเองอยู่ในกลุ่มสายโลมา พวกเขามักเป็นคนฉลาดและมักครุ่นคิดถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของวันขณะนอนอยู่บนเตียง บุคลิกภาพของสายโลมาอาจถูกมองว่าดูเฉยเมยและไม่ค่อยสนใจระหว่างการเข้าสังคม

ทุกคนมีรูปแบบการนอนและตื่นที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อช่วงเวลาที่เราเกิดพลังงานสูงสุดและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เราเรียกสิ่งนี้ว่า "chronotype" หรือ "รูปแบบนาฬิกาชีวิต" นั่นเอง การรู้จัก chronotype ของตัวเองนั้นมีข้อดีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน: คุณจะรู้ว่าช่วงเวลาไหนของวันสมองปลอดโปร่งที่สุด คุณจึงสามารถวางแผนงานสำคัญไปไว้ช่วงดังกล่าวได้ ทำให้ทำงานได้ลุล่วง คล่องตัว
  • ทำภารกิจสำเร็จลุล่วงมากขึ้น: การจัดตารางเวลาตาม chronotype ช่วยให้คุณมีพลังงานเหลือเฟือสำหรับการจัดการกับงานต่างๆ โดยแบ่งเวลาสำหรับงานยากๆ ไว้ช่วงพีค ส่วนงานเบาๆ ก็ไว้จัดการช่วงที่พลังงานเริ่มลดลง
  • รู้จักเวลาพักผ่อน: รู้ว่าช่วงไหนควรเติมพลังให้ตัวเอง นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ สิ่งเหล่านี้ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณ

 

 

 

 

 

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.