มัดรวม ‘บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่’ ได้ใช้เมื่อไหร่? อย่างไร?
3 ระยะดำเนินการ ใครอยู่จังหวัดไหนได้ใช้เมื่อไหร่?
สำหรับเฟสนำร่อง ได้แก่ 4 จังหวัด คือ จังหวัด แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 80 โดยพบว่าแต่ละจังหวัดมีการยืนยันตัวตนแล้ว แพร่ 1 แสนคน เพชรบุรี 1.8 แสนคน ร้อยเอ็ด 3.41 แสนคน และนราธิวาส 1.51 แสนคน
ระยะที่ 2 มีนาคม 67 ครอบคลุม 8 จังหวัด
- เพชรบูรณ์
- หนองบัวลำภู
- นครสวรรค์
- อำนาจเจริญ
- สิงห์บุรี
- นครราชสีมา
- สระแก้ว
- พังงา
ระยะที่ 3 คือทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1,4,8 และ 12 ซึ่งสามารถใช้งานได้ในเดือนเมษายน 2567
- เขตสุขภาพที่ 1 ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน
- เขตสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
- เขตสุขภาพที่ 8 ประกอบด้วย อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ
- เขตสุขภาพที่ 12 ประกอบด้วย ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา
ระยะต่อๆ ไป ระยะที่ขยายผลครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งมีการตั้งเป้าที่เดือนตุลาคม 2567 (ภายใน 1 ปี)
การพัฒนาระบบของกระทรวงสาธารณสุข ครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ระยะด้วยกัน
ระยะที่ 1
1. พัฒนาระบบบันทึกข้อมูล ทั้งจาก รพ.รัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นอกสังกัดสธ. รพ.เอกชน รพ.สต. คลินิก ร้านยา
2. พัฒนาระบบยืนยันตัวตน ได้แก่ การยืนยันตัวตนผู้รับบริการ ดิจิทัลไอดี ยืนยันตัวตนผู้ให้บริการ การตรวจสอบสิทธิ การยืนยันเข้ารับบริการ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. พัฒนาระบบการทำงาน ได้แก่ ประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับรองแพทย์ดิจิทัล ใบสั่งยา/ สั่งแล็ป การแพทย์ทางไกลและเภสัชกรรมทางไกล สมุดสุขภาพประชาชน การนัดหมายออนไลน์ การรับส่งยาและเวชภัณฑ์ที่บ้าน การเบิกจ่ายกับกองทุน
4. พัฒนาระบบเชื่อมต่อประชาชน ทั้งการผ่าน LINE OA และ Application เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงประชาชนทั้งประเทศ
ระยะที่ 2 คือ เมษายน ปี 67
- ระบบการจ่ายเงินออนไลน์
- การส่งต่อการรักษา
- ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
- รวมไปถึงการยืนยันตัวตนต่างด้าว
สิ่งที่ประชาชนจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ (นำร่อง 4 จังหวัดก่อน) แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
ระยะที่ 1
- เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด ( ใน 4 จังหวัดนำร่องตอนนี้ครบแล้ว 100% ) ภายใต้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ประชาชนจะมีประวัติสุขภาพแสดงบนโทรศัพท์และสามารถดึงประวัติของตนเองมาเก็บไว้ในสมุดสุขภาพของตนเองได้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์จะมีสมุดฝากครรภ์สีชมพูบนโทรศัพท์
- หากต้องการใบรับรองแพทย์ จะเป็นใบรับรองระบบดิจิทัลที่มีลายเซ็นของแพทย์
- หากประสงค์จะไปรับยาที่ร้านยา หรือเจาะเลือดก็จะมีใบสั่งยาหรือแล็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงไปยังร้านยาและแล็บแบบอัตโนมัติ
- สามารถใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเชื่อมต่อประวัติสุขภาพผ่านโทรศัพท์ และมีระบบนัดหมายออนไลน์
- มีการส่งยาทางไปรษณีย์
ระยะที่ 2
- เพิ่มระบบจ่ายเงินออนไลน์ ไม่ต้องรอที่เคาท์เตอร์จ่ายค่าบริการ เพื่อลดระยะเวลาการรอรับบริการในโรงพยาบาล หรือมีตู้คีย์ออสในกรณีที่ไม่มีสมาร์ทโฟน
- การส่งตัวผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัวอีกต่อไป
- ระบบสามารถเชื่อมโยงถึงการเจาะเลือดใกล้บ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผู้ป่วยระยะประคับประคองอีกด้วย
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ จะสามารถเข้าถึงการรักษาแบบ บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่ได้เช่นเดียวกับสิทธิ 30 บาท
- การเบิกจ่ายเงินจะมุ่งให้หน่วยบริการได้รับเงินภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากการส่งเบิก
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.