ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ “Gaslighting” จะผิดกฎหมาย ?

เพราะการถูกควบคุมทางจิตใจ เราอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เราเป็น คือ การถูกควบคุมอยู่และกลายเป็นเหยื่อจากคนที่เรารัก...

 

“Gaslighting” ถูกนิยามว่าอย่างไร ? ใครเป็นคนคิดคำนี้ ?

นิยามคำว่า “Gaslighting (การปั่นหัว) เริ่มต้นครั้งแรกจากภาพยนตร์ระทึกขวัญ “Gas Light”  โดยสามีใช้การหรี่ตะเกียงน้ำมันเพื่อที่จะควบคุมจิตใจให้ภรรยาของเขาเชื่อว่าเธอจิตไม่ปกติและใช้ประโยชน์จากเธอ 

 

 

หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ฉาย คำว่า “Gaslighting” ถูกทำใช้ในการเรียกขาน รูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางจิตวิทยา และการข่มขู่ คนๆหนึ่งว่าเข้าใจว่าตัวเองกำลังทำผิดและสงสัยในสิ่งต่างๆที่ตัวเองทำ (กึ่งหลอนก็ว่าได้)

 

“Gaslighting” ผิดกฎหมายไหม? 

แม้ว่า Gaslighting จะเพิ่งถูกนำมาพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน แต่ความเข้าใจว่า Gaslighting ว่าส่วนหนึ่งของ “การกระทำโดยมิชอบภายในครอบครัว” เป็นเรื่องที่ยอมรับกันมานานแล้ว 

อย่างไรก็ตาม ในสหราชอาณาจักร ได้บัญญัติพฤติการณ์ “Gaslighting” ในกฎหมายอย่างเป็นทางการเมืองปี 2015 ข้อ 76 ของกฎหมายอาชญากรรมร้ายแรง ปี 2015 โดยระบุว่า พฤติกรรม “การควบคุม” หรือ “บงการ” ในลักษณะข่มขู่ สำหรับสมาชิกในครอบครัวถือเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งหมายความว่าในทางกฎหมายสหราชอาณาจักร “Gaslighting” ถือว่าผิดกฎหมาย ! 

และวันที่ 20 มกราคม ปี 2022 คำว่า “Gaslighting” ได้รับการยอมรับว่าเป็นความผิดเป็นครั้งแรกในศาลสูง

 

แต่สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดนิยามของคำว่า “Gaslighting” ในทางกฎหมาย และยังไม่ปรากฎเป็นคดีขึ้นสู่ศาล

 

“Gaslighting” ขนาดไหน ? ถึงดำเนินคดีเอาผิดได้ ? ( UK Law) 

เนื่องจากนิยามคำว่า “Gaslighting” กว้างมาก การจะระบุว่าพฤติการณ์แบบใดเข้าข่ายการ “บีบบังคับ” “ควบคุม” “บงการ” ในการดำเนินคดี เป็นเรื่องที่ต้องละเอียดเข้มข้น ( Serious Effect ) มาก 

สิ่งที่ต้องระบุอย่างละเอียดเข้มข้น ( Serious Effect) คือการระบุถึง ความกลัวของเหยื่อ อย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใต้การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง อีกด้านหนึ่ง สามารถเป็นความรู้สึกทุกข์ทรมานของเหยื่อจากการถูกกระทำอย่างต่อเนื่องและเป็นผลกระทบในการใช้ชีวิต สำคัญที่สุดคือ พฤติกรรมเหล่านั้นจะต้องต่อเนื่องถึงจะอ้างความผิดจาก “Gaslighting” ได้

 

เมื่อไหร่ “Gaslighting” จะเป็นความผิดในกฎหมายไทย ?

​จากกรณีที่เกิดขึ้นในสังคมที่สะเทือนวงการสื่อวิทยาศาสตร์ ที่มี “ไอดอลด้านวิทยาศาสตร์” ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรม “Gaslighting” ในช่วงที่ผ่านมา โดยเรื่องนี้เปิดเผยอย่างกล่างหาญโดยเหยื่อที่ถูกกระทำ และหลังจากเหยื่อคนแรกเปิดเผย ก็พบว่ามีคนที่ถูกกระทำ ( Victim) จำนวนหนึ่งออกมาเปิดเผยถึงพฤติกรรมลักษณะเดียวกัน แม้ว่า “ไอดอลวิทยาศาสตร์” คนนั้นจะออกมาโพสต์ขอโทษ และยังไม่มีใครดำเนินคดีทางกฎหมาย แต่ในทางสังคมเขาก็ถูกสังคมลงโทษแล้ว เพราะรายการต่างๆที่เขาทำ สำนักข่าวต่างๆ ก็เอาเนื้อหาเหล่านั้นออกทั้งหมด 

​อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวถึงการกระทำ “Gaslighting” เขาทำไม่ผิดกฎหมาย เอาผิดไม่ได้สำหรับกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่การนิยามคำนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่จะปิดประตูไปเสียทั้งหมด เพราะหากการะทำเช่นนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพ เสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน หรือ มีพฤติการณ์ข่มขู่ ก็สามารถนำพฤติการณ์เหล่านี้มาเอาผิดได้ ทั้งกฎหมายแพ่งและอาญา และหากนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะผิดพ.ร.บ.คอมฯไปด้วย ทั้งนี้ต้องดูพฤติการณ์เป็นรายกรณีไป และผู้เสียหายต้องนำคดีมาฟ้องร้องดำเนินคดี 

แม้ว่ากฎหมายไทยจะยังไม่ชัดเจนเรื่องฐานความผิดของการ “Gaslighting” แต่เรื่องนี้ก็ควรได้รับการถกเถียงและผลักดัน เพราะส่วนใหญ่ การ “Gaslighting” จะเกิดขึ้นภายในครอบครัว คนที่รักเคารพและไว้ใจ และกว่าที่จะรู้ตัวก็อาจจะสายไปแล้ว เพราะการถูกควบคุมทางจิตใจ เราอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เราเป็น คือ การถูกควบคุมอยู่และกลายเป็นเหยื่อจากคนที่เรารัก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา

Managing Partner STELO Entertainment Law 

[email protected]

Page : Stelo Entertainment Law ( https://www.facebook.com/STELOentertainmentlaw) 

 

ที่มา

https://www.howellslegal.co.uk/news/post/is-gaslighting-a-legal-concern

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.