กลั่นแกล้งออนไลน์ คือ พฤติกรรมอาชญากร ?

กรณีกลั่นแกล้งออนไลน์ ( Bullying) นับไม่ถ้วนที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ไม่ต่างจากข่าวประจำวัน จากที่เคยดูรุนแรงจนตอนนี้หลายคนมองว่าเคยชิน แต่รู้หรือไม่? ว่าการกระทำเช่นนี้ “ฆ่าคนได้” หลักฐานมากมายทั้งจากข่าวและงานวิจัย เช่น การฆ่าตัวตายของคนดังเกาหลีใต้จากโรคซึมเศร้าที่มีต้นเหตุมาจากการกลั่นแกล้งออนไลน์ จนครั้งหนึ่งกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้นานนับ 10 ปี จนเมื่อปี 2565 คิม อิน ฮยอก นักวอลเลย์บอลชาย วัย 28 ปี และโจ จาง มี สตรีมเมอร์เกมสาววัย 27 ปี ฆ่าตัวตายห่างกันแค่ 1 วัน ซึ่งสื่อเกาเหลีรายงานว่าต่างก็ปลิดชีพตัวเองหลังตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งออนไลน์มานาน ทำให้ประชาชนกว่า 150,000 คนร่วมเข้าชื่อถึงประธานาธิบดีมุน แจ อิน แห่งเกาหลีใต้ให้รัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องนี้

 

ล่าสุดได้เกิดกรณีที่เป็นประเด็นในโลกออนไลน์ในประเทศไทย กับกรณี TiKToKer วัยมัธยม น้องปิ่นปิ้น (@pwpinn) ที่ทำคอนเทนต์การรับประทานอาหาร แล้วมีท่าที “เขินอาหาร” เพราะกินไปยิ้มไป ซึ่งกลายเป็นจุดที่ทำให้เหล่านักเลงคีย์บอร์ด วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างสนุกปาก แม้บางคอมเมนต์อาจจะไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่พอโดน“แซะ” หนักเข้า ก็มีเซเหมือนกัน ขนาดเป็นผู้ใหญ่ยังเจ็บแล้วเด็กมัธยมจะรู้สึกอย่างไร ? จากกรณีที่เกิดขึ้นน้องปิ่นปิ้นได้โพสต์ใน TiKTok ในโลกล่าสุดของตัวเองตอนหนึ่งว่า “หนูขอโทษที่รอยยิ้มของหนูเป็นสิ่งที่สังคมตัดสินว่าผิด อย่าไม่น่าให้อภัย” “ตัวหนูเองไม่สามารถทำอะไรได้เพื่อทำให้ทุกคนพอใจ” “หนูก็แค่เด็กคนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าผิดอะไร” แล้วจนถึงวันนี้น้องก็ยังไม่เคลื่อนไหวใน TiKToK อีกเลย ครั้งแรกที่ผู้เขียนเห็นข่าวนี้ก็ได้แต่ขอให้น้องเข้มแข็ง มีคนรอบข้างผู้ปกครองที่เข้าใจ ที่จะพากันผ่านเรื่องนี้ไปได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว มันไม่สามารถหายไปจากความทรงจำของคนๆหนึ่งได้ และในกรณีเช่นนี้อาจจะทำให้เกิดบาดแผลในใจ

 

ในแง่ของผู้กระทำ มีทฤษฎีหนึ่งในทางอาชญาวิทยาแนวจิตวิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้กระทำการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางออนไลน์ และถูกนำมาอ้างอิงบ่อยครั้งอย่าง ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ มุ่งค้นหาสาเหตุ ของอาชญากรรมโดยเน้นไปที่ด้านจิตใจของบุคคลเป็นปัจจัยหลัก ทฤษฎีนี้ถูกนำเสนอโดย Sigmund Freud กล่าวถึง “จิตใจ” ที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้ง“พฤติกรรมเบี่ยงเบน” ด้วย โดยความขัดแย้ง ภายในจิตใจของบุคคลจะมีผลต่อสภาพทางจิต ทั้งในส่วนที่เป็นจิตที่รู้สำนึกและจิตไร้สำนึก ความขัดแย้งในใจทำให้ บุคคลมีความทุกข์ทรมานต่อความตึงเครียดและเกี่ยวข้องกับการที่บุคคลจะมีโอกาสเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนเพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์ทรมานดังกล่าว (กนกอร จันยมิตรี2 กัญญ์ฐิตา ศรีภา,2563 ) พูดง่ายๆก็คือ คนที่กระทำมีสภาพจิตใจที่เป็นทุกข์จากปัจจัยต่างๆ จึงมีพฤติกรรมแสดงออกด้วยการสร้างความทุกข์ให้ผู้อื่น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหลายๆทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์สาเหตุในการเป็น “อาชญากร”

 

แล้วคุณล่ะมีพฤติกรรมของอาชญากรหรือไม่ ? หรือบางทีเราอาจจะกลายเป็นอาชญากรไปแล้วโดยที่เราไม่รู้ตัว 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา

Managing Partner STELO Entertainment Law 

[email protected]

Page : Stelo Entertainment Law ( https://www.facebook.com/STELOentertainmentlaw) 

 

ที่มา 

https://www.voathai.com/a/a-47-2010-03-31-voa5-90873189/923652.html

http://bsris.swu.ac.th/journal/260263/04.kanog-on16-41.pdf

https://vt.tiktok.com/ZSNQnAH6S/

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.