ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี คนล่าสุดของไทย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถือว่าเป็นนายกที่เป็นที่จดจำของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นทั้งในเรื่องของความสามารถ บุคลิกที่เป็นตัวของตัวเอง และยังรวมไปถึงความรับผิดชอบของท่านอีก จนเรียกได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทยที่มีความเก่งกาจในการบริหารประเทศอีกคนหนึ่งเลยก็ว่าได้
โดยในครั้งนี้ Sanook! Campus เราจะพาเพื่อนๆ ไปย้อนดู ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวัยเรียน พร้อมประวัติการศึกษาของท่านนายกฯ คนนี้หน่อย ว่ากว่าจะมาเป็นนายกในแบบทุกวันนี้ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง
ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- พล.อ.ประยุทธ์ เกิดวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา
- สังกัดพรรค รวมไทยสร้างชาติ
- บิดา พันเอก ประพัฒน์ จันทร์โอชา
- มารดา เข็มเพชร จันทร์โอชา
- คู่สมรส นราพร จันทร์โอชา
- บุตร ธัญญา จันทร์โอชา, นิฏฐา จันทร์โอชา
- ศิษย์เก่า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดาเป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ได้ยุบไปแล้ว ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
โดยบุคลิกและนิสัยในการเรียนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยยังเป็นนักเรียนนั้นมีอุปนิสัยเงียบขรึมและเป็นคนที่มีวินัยสูง เพราะตัวเองเป็นพี่ชายคนโตของบ้าน ส่วนวิชาถนัดของเขานั้นคือวิชา คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และ วิทยาศาสตร์ และที่สำคัญนั้นประวัติการเรียนของเขาเรียกว่าระดับเด็กฉลาดของห้อง เพราะตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมปีที่ 3 นั้น เกรดของเขาจัดอยู่ระดับไม่เคยต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เลยด้วย โดยเขาเคยบอกว่า ถ้าเรียนจบ ม.3 แล้ว เขาตั้งใจจะเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร และหวังว่าจะได้เป็นทหารบกในอนาคต ซึ่งเขาก็เดินตามความฝันได้อย่างสวยงาม
ประวัติการทำงาน
ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
- พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
- พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
- พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาคที่ 1 (มทภ. 1 )
- พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
- พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
- พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการการทหารบก (ผบ.ทบ.)
- พ.ศ. 2557 – หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
องคมนตรี
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
- ด่วน! พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" เป็นองคมนตรี
อ่านประวัติเพิ่มเติมที่ Wiki
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.