ปลดทาส Fake News การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) คืออะไร
การรู้ดิจิทัล หรือ Digital Literacy มีความหมายตามที่กรมวิทยาศาสตร์บริการให้ไว้คือ ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการปฏิบัติงาน การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การเติบโตของสังคมเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเรียกง่ายๆว่า สังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ทำให้คนหันมาสนใจเรื่องการรู้ดิจิทัลมากขึ้น มีงานวิจัยหลายงานพูดถึง การรู้ดิจิทัล และมีความสงสัยว่า การรู้ดิจิทัล วัดและประเมินผลอย่างไร อย่างไรถึงเรียกว่ามีการรู้ดิจิทัล?
ภายใต้การรู้ดิจิทัลนั้นจำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การรู้ดิจิทัล ได้แก่ การใช้ หรือ Use ที่อย่างน้อยต้องรู้ว่า เปิด ปิด อย่างไร การเข้าใจ หรือ Understand บริบทของสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของสื่อดิจิทัล เพื่อนำไปสู่การประเมินหรือตัดสินใจ การสร้าง หรือ Create เนื้อหาหรือการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพผ่านช่องทางเทคโนโลยีดิจิทัล และสุดท้ายแต่ก็ยังไม่ท้ายสุด ที่ขาดไม่ได้เลยคือ การเข้าถึง (Access) และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งการเข้าถึงสามารถพูดถึง การเข้าถึงการมีด้วย การรู้ดิจิทัลจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือ แทปเลต เท่านี้ยังไม่พอ ถ้ามีอุปกรณ์แต่ไม่มีสัญญาณ อินเทอร์เน็ต หรือไวไฟ เหมือนครั้งหนึ่งเรื่องนโยบายการแจกแทปเลต เพื่อหวังการกระจากการศึกษาสู่พื้นที่ห่างไกล แต่พื้นที่ห่างไกลนั้นยังไม่มีแต่ไฟฟ้า และ/หรือเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต มีอุปกรณ์แต่ไม่มีตัวช่วยก็ไร้ประโยชน์
จากพูดไว้ข้างต้นว่า การรู้ดิจิทัลมากับเทคโนโลยีสังคมออนไลน์ ใต้พรมนอกเหนือจากทักษะพื้นฐานแล้ว การรู้ดิจิทัลยังต้องพึงพาการรู้ในมิติต่างๆ ตัวอย่างเช่น การรับข่าวสารจากสังคมออนไลน์หนึ่งข่าว ต้องอาศัยการรู้อไรบ้างในการบริโภคข่าวสารนั้น ต้องมี
1. การรู้สื่อ (Media Literacy) ความสามารถในการวิเคราะห์ และเข้าใจวัตถุประสงค์ของสื่อ รวมถึงการเลือกสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ
2. การรู้เทคโนโลยี (Technology Literacy) ความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานสู่ขั้นที่มีความซับซ้อน
3. การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ความสามารถในการประเมินความต้องการของสารสนเทศ และสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้
4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ความสามารถในการแปลความหมาย วิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เห็น
5. การรู้การสื่อสาร (Communication Literacy) ความสามารถในการเชื่อมต่อ หรือสื่อสาร กับคนในสังคม
และ 6. การรู้สังคม (Social Literacy) วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย การผสานและขจัดความขัดแย้งของข้อมูล
ถ้าทุกคนสามารถพัฒนาการรู้ทั้ง 6 มิตินี้ได้ ก็ครบองค์การรู้ดิจิทัล ไม่ใช้การรู้แบบธรรมดา แต่เป็นการรู้แบบวิเคราะห์และสามารถส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิผล มีความน่าเชื่อถือ และเป็นมิตรต่อสังคม และท้ายที่สุด เราก็จะได้ไม่ตกเป็นทาสของ Fake News
ดร ฉันฑิต สว่างเนตร
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.