ภาษาลู คืออะไร เรียนไวยากรณ์ ภาษาลู ใช้ยังไงถึงถูกจริตแบบชิคๆ เฟียสๆ
เรียกว่าเป็นภาษาที่อยู่กับวงการการนินทามานานมากจริงๆ สำหรับภาษาลู ภาษาที่นิยมใช้ในกลุ่มเพศทางเลือก ที่เอาไว้เม้าท์มอยอย่างออกรส โดยไม่ให้คนอื่นรู้ความหมายที่แท้จริงนั่นเอง เว้นแต่คนที่เรากำลังเม้าท์มอยอยู่รู้จักและใช้ภาษาลูเป็นนั่นแหละ อันนั้นจะเรียกว่าโป๊ะแตก
โดยในครั้งนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาเรียนรู้ทำความรู้จักกับ ภาษาลู ว่ามัน คืออะไร แล้ว วิธีการใช้ ภาษาลู มันคืออะไร ไวยากรณ์ ภาษาลู มันใช้ยังไง มาศึกษาไปด้วยกันเลย
ภาษาลู คืออะไร เรียนไวยากรณ์ ภาษาลู ใช้ยังไงถึงถูกจริตแบบชิคๆ เฟียสๆ
ไวยากรณ์ “ภาษาลู”
ภาษาไทย 1 พยางค์ จะได้ภาษาลู 2 พยางค์เสมอ แบ่งหลัก ๆ ได้ 4 กรณี
- คำที่เป็นปรกติ
- คำที่มีพยัญชนะ ร, ล
- คำที่มีสระ อุ, อู
- คำที่มีทั้งพยัญชนะ ร, ล และมีสระ อุ, อู
กรณีที่ 1 คำที่เป็นปรกติ
1.1 คำที่มีสระเสียงยาว (ใช้ “ลู”)
1 นำคำว่า “ลู” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : สาม + ลู
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : หลาม + สูม
ตัวสะกด คือ ม ม้า และเสียงวรรณยุกต์ คือ จัตวา
1.2 คำที่มีสระเสียงสั้น (ใช้ “ลุ”)
1 นำคำว่า “ลุ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : กิน + ลุ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ลิน + กุน
ตัวสะกด คือ น หนู และเสียงวรรณยุกต์ คือ สามัญ
กรณีที่ 2 คำที่มีพยัญชนะ ร, ล
2.1 คำที่มีอักษร ร, ล ใช้ “ซู” (กรณี : คำที่มีสระเสียงยาว)
1 นำคำว่า “ซู” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : ลาก + ซู
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซาก + ลูก
ตัวสะกด คือ ก ไก่ และเสียงวรรณยุกต์ คือ โท
2.2 คำที่มีอักษร ร, ล ใช้ “ซุ” (กรณี : คำที่มีสระเสียงสั้น)
1 นำคำว่า “ซุ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : รัก + ซุ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซัก + รุก
ตัวสะกด คือ ก ไก่ และเสียงวรรณยุกต์ คือ ตรี
กรณีที่ 3 คำที่มีสระ อุ, อู
3.1 คำที่มีสระอู ใช้ “ลี” (กรณี : คำที่มีสระเสียงยาว)
1 นำคำว่า “ลี” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : ขูด + ลี
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : หลูด + ขีด
ตัวสะกด คือ กด เด็ก และเสียงวรรณยุกต์ คือ เอก
3.2 คำที่มีสระอุ ใช้ “ลิ” (กรณี : คำที่มีสระเสียงสั้น)
1 นำคำว่า “ลิ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : มุก + ลิ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ลุก + มิก
ตัวสะกด คือ ก ไก่ และเสียงวรรณยุกต์ คือ ตรี
กรณีที่ 4 คำที่มีทั้งพยัญชนะ ร, ล และมีสระ อุ, อู
4.1 คำที่มีทั้ง ร, ล และสระอู ใช้ “ซี” (กรณี : สระเสียงยาว)
1 นำคำว่า “ซี” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : รู้ + ซี
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซู้ + รี้
ตัวสะกด คือ - และเสียงวรรณยุกต์ คือ ตรี
4.2 คำที่มีทั้ง ร, ล และสระอุ ใช้ “ซิ” (กรณี : สระเสียงสั้น)
1 นำคำว่า “ซิ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : รุม + ซิ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซุม + ริม
ตัวสะกด คือ ม ม้า และเสียงวรรณยุกต์ คือ สามัญ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.