เตรียมบอกลาแอปฯ เป๋าตัง พร้อมเปิดใจเรียนรู้ 'บล็อกเชน' กระเป๋าเงินดิจิทัลรับ 10,000 บาทใบใหม่

กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากสำหรับข่าวล่าสุดที่พรรคเพื่อไทยยืนยันว่าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาลที่จะจ่ายเงินเข้ากระเป๋าให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปนั้น จะเป็นการแจกเงินในกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้ระบบบล็อกเชน ไม่ใช่เงินสดที่ถูกโอนเข้าแอปพลิเคชันเป๋าตังเหมือนที่ผ่านมา

โดยผู้ที่ได้รับการแจกเงินดังกล่าว จะใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันใหม่ที่ไม่ใช่แอปฯ เป๋าตัง ซึ่งแอปดังกล่าวจะทำงานอยู่บนพื้นฐานของบล็อกเชนซึ่งเป็นระบบที่รัฐบาลคิดขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการรั่วไหลของเม็ดเงินเหมือนกับที่เจอในทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา

  • เช็กได้เลย ! นโยบายดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ในระยะรัศมี 4 กิโลเมตร เราออกไปซื้ออะไรได้บ้าง

ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยยืนยันว่านโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) จะเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากเทคโนโลยีแบบเดิม เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

เพราะฉะนั้นการที่จะต้องใช้เงินในกระเป๋าเงินดิจิทัลด้วยวิธีนี้นับเป็นการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่สามารถที่เบิกเป็นเงินสดออกมาใช้ได้ ดังนั้นผู้ที่นำไปใช้จะสามารถทำได้แค่เพียงใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและวัตถุดิบเท่านั้น แต่ก่อนที่จะถึงได้ใช้งานกระเป๋าเงินใบใหม่ เรามาเตรียมและตัวและทำความรู้จักกับ บล็อกเชน (Blockchain) กันก่อนดีกว่า

บล็อกเชนคืออะไร

บล็อกเชน (Blockchain) คือ เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นชุดข้อมูล (Block) ที่เชื่อมโยงกันเป็นโซ่ (Chain) ด้วยระบบการเข้ารหัสลับ ทำให้ข้อมูลมีความโปร่งใส ไม่สามารถปลอมแปลงหรือแก้ไขได้ โดยไม่อาศัยตัวกลางใด ๆ

บล็อกเชนเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2008 เป็นช่วงที่โลกของเราเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Global Financial Crisis ตอนนั้นมีบุคคลนิรนามที่เรียกตัวเองว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า Bitcoin ขึ้นมาในฐานะของสกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลแรกในประวัติศาสตร์ ความพิเศษของสกุลนี้คือทุกคนสามารถือและโอนหากันได้แบบที่ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่น ธนาคาร และหน่วยงานอื่น ๆ เนื่องจากมันไม่ได้ถูกสร้าง หรือถูกควบคุมโดยรัฐ หากตอนนั้นไม่มีบิตคอยน์ โลกของเราก็จะไม่มีทางได้รู้จักกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า บล็อกเชน หลายคนอาจสับสนว่าบล็อกเชนนั้นมีไว้สร้างสกุลเงินรึเปล่า แต่ในความเป็นจริงแล้วสกุลเงินต่าง ๆ เป็นเพียงหนึ่งในแอปพลิเคชันของบล็อกเชนเท่านั้น สรุปก็คือ บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป (Trustless System) ซึ่ง Bitcoin Network ถือเป็นระบบแรก ๆ ที่ใช้บล็อกเชน

องค์ประกอบที่สำคัญของบล็อกเชน

  • Block : หน่วยข้อมูลขนาดเล็กที่บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการโอนเงิน ข้อมูลการซื้อขาย เป็นต้น
  • Chain : ชุดข้อมูลบล็อกที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบการเข้ารหัสลับ
  • Consensus algorithm : อัลกอริธึมที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน
  • Validation : กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน

ประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชน

  • ความโปร่งใส : ข้อมูลในบล็อกเชนสามารถตรวจสอบได้โดยทุกคนในเครือข่าย
  • ความปลอดภัย : ข้อมูลในบล็อกเชนไม่สามารถปลอมแปลงหรือแก้ไขได้
  • ความยืดหยุ่น : บล็อกเชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอุตสาหกรรม

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้

  • การเงิน : การโอนเงินระหว่างประเทศ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
  • การค้า : การซื้อขายสินค้าและบริการ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
  • ห่วงโซ่อุปทาน : การติดตามสินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
  • ภาครัฐ : การออกเอกสารราชการ การลงคะแนนเสียง

ปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

โดยสรุปแล้ว บล็อกเชนสามารถใช้งานได้ทั้งง่ายและยาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากผู้ใช้งานมีความสนใจในบล็อกเชน ควรศึกษาข้อมูลและทดลองใช้งานก่อน เพื่อทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและเรียนรู้วิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง ซึ่งเราอาจจะต้องเริ่มเรียนรู้กันตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะได้เริ่มงานจริงใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.