เตรียมระบบการระบายความร้อนให้พร้อม สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย

เนื่องจากมีความต้องการใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยกลายเป็นหมุดหมายที่น่าสนใจสำหรับบริษัทระดับโลกที่ต้องการตั้งฐานการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ เมื่อปีที่ผ่านมา ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยมีมูลค่าถึง 62.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับแรงขับจากความต้องการบริการดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามการเติบโตไม่ใช่จะไม่เกิดปัญหาขึ้น เพราะได้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ซึ่งรัฐบาลพยายามได้ตั้งเป้าไว้ โดยต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 40 ภายในปี 2573 และความท้าทายที่เห็นได้ชัดสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยซึ่งเหมือนกับที่อื่น ๆ นั้นก็คือการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างรวดเร็วไปพร้อมกับการเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะลองชั่งน้ำหนักดูผลดีผลเสียระหว่างการเติบโตและความยั่งยืนซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงแล้วก็ตาม แต่ความจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น

 

กลยุทธ์การรับมือกับความท้าทาย

การระบายความร้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นแนวทางอันทรงพลังที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน การมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพนี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยลดปริมาณการบริโภค และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

ในภาวะที่มีปริมาณการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)เพิ่มมากขึ้น จะต้องใช้เทคโนโลยีการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมไม่สามารถรองรับความต้องการดังกล่าวได้ เช่น ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศซึ่งมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทางเลือกในการระบายความร้อนด้วยของเหลว

ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์จะต้องเปลี่ยนไปใช้การระบายความร้อนด้วยของเหลวอย่างเต็มรูปแบบหรือใช้วิธีการไฮบริด ที่ผสมผสานระหว่างของเหลวกับการระบายความร้อนด้วยอากาศ เนื่องด้วยการระบายความร้อนด้วยของเหลว จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการระบายความร้อนด้วยอากาศ และช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวม ซึ่งสามารถวัดประสิทธิภาพได้จากตัวชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) ที่ลดลง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทางอ้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งในไทยยังพึ่งพาระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ การใช้ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวจึงนับเป็นความท้าทาย และไม่ใช่เพียงแค่เรื่องนั้น เพราะการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการบำรุงรักษาที่เฉพาะทาง ซึ่งอาจมีผลให้ต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ เนื่องจากต้องพยายามจัดการต้นทุนล่วงหน้า และความซับซ้อนในการดำเนินงาน

แม้ข้อกังวลดังกล่าวจะมีมูลความจริงอยู่บ้าง แต่เราก็สามารถเดินหน้าไปได้ด้วยการวางแผนงานที่ชัดเจน ซึ่งต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและการพิจารณาพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องกลยุทธ์การจัดการระบายความร้อนในปัจจุบัน และงบประมาณ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจต้องปรึกษากับผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อประเมินสถานที่อย่างครอบคลุม ทำให้ใช้งานระบบการระบายความร้อนแบบไฮบริด ที่รวมโครงสร้างพื้นฐานการระบายความร้อนด้วยอากาศที่มีอยู่ในปัจจุบัน เข้ากับระบบที่ใช้ของเหลวได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ดาต้าเซ็นเตอร์สามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็ลดรายจ่ายการลงทุนเพิ่มเติมให้เหลือน้อยที่สุด

ท้ายที่สุดแล้ว การใช้มาตรการเพียงครึ่งเดียวยังไม่เพียงพอ  องค์กรสามารถทำได้สองแนวทางเพื่อปรับแก้โครงสร้างพื้นฐาน ประการแรกการสร้างขึ้นมาใหม่ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โซลูชันโมดูลาร์แบบสำเร็จรูป (Modular Data Center) สามารถลดระยะเวลาการก่อสร้างได้ ในขณะเดียวกันการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และการระบายความร้อน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญดังกล่าวยังเอื้อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการระบายความร้อนเซิร์ฟเวอร์ AI ด้วยของเหลว ซึ่งนำไปใช้ร่วมกับการจัดการระบายความร้อนด้วยอากาศเพื่อรองรับพื้นที่การวางดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมด

อนาคตของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์

อนาคตของดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้งานที่ยั่งยืน ประกอบกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี แม้ว่ายังมีความต้องการบริการดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง แต่เราก็จำเป็นต้องลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ด้วยการนำเทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยของเหลวมาใช้และปรับใช้กลยุทธ์ความยั่งยืนที่ครอบคลุม ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์สามารถมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้ การทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ และผู้สนับสนุนงานด้านสิ่งแวดล้อมจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมระบบนิเวศที่ยั่งยืนสำหรับการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์

แม้ว่าบริษัทระดับโลกจะหลั่งไหลเข้ามาตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต แต่ก็ต้องมาพร้อมกับแนวคิดที่ยึดมั่นต่อความยั่งยืน การดำเนินการควรต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม เช่น ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว และการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีความรับผิดชอบ ด้วยการใช้มาตรการเชิงรุกและการร่วมมือกัน ประเทศไทยจะไม่เพียงแค่ตอบสนองความต้องการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลได้เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นสัญญาณของการพัฒนาที่ยั่งยืนของดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกอีกด้วย

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ การตัดสินใจในวันนี้จะกำหนดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป ด้วยการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในการดำเนินงานของดาต้าเซ็นเตอร์ ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่นและเจริญรุ่งเรืองไปพร้อมกันได้

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.