6 เรื่องเข้าใจผิดของ PowerBank ที่หลายคนใช้ แต่มันคือการทำร้ายน้อง
แบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank เป็นอุปกรณ์เสริมหนึ่งที่หลายคนอาจจะมีการพกติดตัวเป็นประจำ บางคนอาจจะไม่ได้พกแต่ไปยืมเพื่อน ในการชาร์จไฟให้กับมือถือตัวเอง หน้าที่หลักๆ ตามชื่อเลย เป็นที่เก็บพลังงานสำรอง เพื่อจ่ายอุปกรณ์ให้กับคุณ เมื่อยามจำเป็น แต่มันมี 6 เรื่องที่ คุณอาจจะเข้าใจผิดอยู่ และบางเรื่องก็ส่งผลร้ายต่ออุปกร์นี้โดยไม่รู้ตัว มันจะมีเรื่องอะไรบ้าง เรามาดูกันครับ
Power Bank ทุกอันสามารถชาร์จไฟได้ทุกอุปกรณ์
จริงอยู่ว่ามี Power Bank บางแบบที่สามารถชาร์จไฟกับอุปกรณ์ได้ทุกแบบเช่น มือถือ, หูฟัง, Smart Watch, Tablet และ Notebook แต่ใช่ว่าทุกก้อนจะชาร์จได้ มันมีปัจจัยทั้ง
- กำลังไฟที่จ่ายไฟออก (Output) จะต้องจ่ายถึง บางก้อนจะมีแปะหน้ากล่องว่าจ่ายไฟได้เท่าไหร่ ถ้าอยากซื้อให้จ่ายไฟสูงๆ จะต้องดูกำลัง 65W ถึงจะชาร์จไฟได้ทุกอุปกรณ์
- ความจุของแบตเตอรี่ หากอยู่ที่ 10000 mAh ส่วนมากจะกำลังสูงสุด 30 – 60W อาจจะไม่เพียงพอต่อการชาร์จไฟ Notebook ได้
- พอร์ตชาร์จไฟ โดยมากแล้วถ้าเป็นแบบ USB-C จะรองรับกำลังไฟได้สูงเพราะมีเทคโนโลยี Power Deilvery หรือ PD ครับ
การเสียบ Power Bank ตลอดเวลา ราวกับเป็นเครื่องสำรองไฟ
ผู้เขียนเองเคยเจอคนรอบข้างถามว่า ถ้าเราจะใช้ Power Bank ไปด้วยและชาร์จไฟไปไหมสามารถทำได้ไหม คำตอบคือ อย่าทำเด็ดขาด!!! เพราะมันจะทำให้ Power Bank เสื่อมได้ง่าย เพราะความร้อนสูง และนอกจากนี้หาก Power Bank ร้อนเกินไป และไม่ได้รับมาตรฐาน อาจจะเกิดอันตราย ถึงขั้นระเบิดได้
ใช้งานให้หมดไม่เหลือ
Power Bank เป็นอุปกรณ์ที่เหมือนกับมือถือคือใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไออน ที่ไม่เหมาะกับการใช้ไฟจนไฟหมดแล้วชาร์จไฟ หากไฟเหลือ 20% เราควรจะชาร์จเพื่อยืดอายุการใช้งาน แต่เราสามารถชาร์จไฟ Power Bank ให้เต็ม 100% เพื่อไปชาร์จอุปกรณ์ของเราได้ครับ
ลืมไว้ในรถ!
เรื่องนี้หลายคนชอบลืมประจำ เพราะความเล็กแสนสะดวกพกของ Power Bank ก็อาจจะทำให้หลายคนลืมในรถ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเด็ดขาดเพราะ เพราะ Power Bank เป็นแบตเตอรี่ ถ้าโดนความร้อนนานๆ ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ ร้ายแรงสุดคือ ระเบิดตัวเอง
ทำตกบ่อยๆ
อีกเรื่องที่ Power Bank ไม่ชอบรวมถึง Gadget อื่นๆ ที่ไม่ชอบคือ การทำตกบ่อยๆ เพราะ การทำให้ตกบ่อยๆ เซลล์แบตเตอรี่อาจจะมีปัญหาได้เช่นเดียวกันครับ หรือบางครั้งพอร์ตชาร์จอาจจะพังได้
Power Bank ไม่เกิน 30,000 mAh ขึ้นเครื่องบินไม่ได้
จริงๆ แล้วแบตเตอรี่ที่พกพาขึ้นเครื่องบินได้ โดยประเทศไทยกำหนดไม่เกิน 32,000 mAh แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าประเทศอื่นๆ จะมีกฎคล้ายกันหรือไม่ ทั้งหมดอ่านต่อได้ที่
- รู้แล้วถึงกับกระจ่าง! ทำไม Power Bank ขนาด 32000 mAh ห้ามนำขึ้นเครื่องในทุกกรณี
เมื่อรู้แบบนี้วิธีการใช้งาน Power Bank ที่ถูกต้องก็จะทำให้อุปกรณ์เสริมนี้ช่วยให้คุณมีพลังงานใช้งานไปนานๆ แล้วครับ แต่อย่าลืม ถ้าแบตเตอรี่สำรองมีขนาดผิดปกติ และ เก็บไฟไม่นาน เราควรจะทิ้งให้ถูกต้องด้วยนะครับ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.