CASETiFY เผยเส้นทางคืนคุณค่าเคสมือถือเก่า 84 ตัน ผ่านแคมเปญ Re/CASETiFY ครั้งยิ่งใหญ่ทั่วโลก
นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 2011 “CASETiFY” แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมเทคโนโลยี ก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และก้าวกระโดดสู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ระดับโลกที่ครองใจกลุ่มมิลเลนเนียล Gen Z และเหล่าเซเลบริตี้ทั่วโลก ความปังของแบรนด์ไม่เพียงได้มาด้วยความเก๋ที่แตกต่าง แต่ยังเป็นผลพวงที่มาจาก “พลังแห่งการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน”
หนึ่งในหัวใจหลักของแบรนด์ ที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน และเชื่อมโยงการพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพเข้ากับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านแคมเปญ ‘Re/CASETiFY’ (รี/เคสทิฟาย) โครงการรีไซเคิลที่ปลุกชีวิตใหม่ให้กับเคสมือถือชิ้นเก่าให้มีคุณค่าในทั่วโลก ซึ่งตอกย้ำว่า CASETiFY ไม่ได้เป็นแค่แบรนด์ แต่ยังเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน
จุดเริ่มต้นของ Re/CASETiFY จากกล่องบริจาคเคสเก่า
โครงการ Re/CASETiFY เริ่มต้นจาก "กล่องบริจาค" ที่มีอยู่กว่า 40 สาขาในร้าน CASETiFY Studio ทั่วโลก ผู้ใช้งานสามารถนำเคสมือถือเก่ามาหย่อนใส่กล่องเหล่านี้ได้ตลอดเวลา โดยจะได้รับส่วนลดสำหรับใช้ซื้อสินค้าภายในร้านเป็นการตอบแทน สำหรับผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้กับร้าน CASETiFY Studio ก็สามารถส่งเคสเก่าทางไปรษณีย์ไปยัง CASETiFY ที่กำหนดไว้ได้หลายแห่ง เพื่อให้แบรนด์นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
เส้นทางสู่ชีวิตใหม่ของเคสมือถือเก่ส สู่ชั้นวางสินค้าใหม่อีกครั้ง
หลังจากผู้บริจาคหย่อนเคสมือถือลงกล่อง Re/CASETiFY ทาง CASETiFY ก็จะนำเคสเหล่านี้ไปยังโรงงานรีไซเคิลเพื่อย่อยและแยกชิ้นส่วนเป็น “เม็ดพลาสติก Re/CASETiFY” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเป็นอุปกรณ์เสริมใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เคสมือถือ เคส AirPods และอีกมากมาย วางจำหน่ายทั้งทางออนไลน์ในกว่า 180 ประเทศทั่วโลก รวมถึงหน้าร้าน CASETiFY Studio เมื่อการรีไซเคิลพลาสติกเสร็จสิ้น ชิ้นส่วนโลหะหรือชิ้นส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จะถูกแยกออกและกำจัดอย่างถูกวิธีเช่นกัน
รายงานผลกระทบด้านความยั่งยืนประจำปี กับการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน
ความสำเร็จและผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ของโครงการ Re/CASETiFY ได้ถูกเผยแพร่ผ่านรายงานผลกระทบด้านความยั่งยืนประจำปี (Sustainability Impact Report) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ CASETiFY มุ่งมั่นตลอดมา สร้างความยั่งยืนให้กับโลกอย่างแท้จริง
- ด้วยความพยายามด้านรีไซเคิลทั่วโลกของโครงการ Re/CASETiFY ทำให้พลาสติกกว่า 84,000 กิโลกรัม ไม่ต้องถูกทิ้งโดยการฝังกลบ และได้รับชีวิตใหม่ผ่านกระบวนการ Upcycling และนำกลับมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตอุปกรณ์เสริมใหม่
- CASETiFY บริจาคเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับองค์กรพันธมิตร EARTHDAY.ORG ทุกครั้งที่มีการจำหน่ายสินค้าประเภท Sustainable Products ซึ่งส่งผลให้มีการปลูกต้นไม้ใหม่คืนสู่ธรรมชาติไปแล้วทั้งสิ้น 463,406 ต้น คิดเป็นการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ เทียบเท่ากับ 22,243,488 ปอนด์
- ด้วยพันธกิจด้านการรีไซเคิลอย่างรับผิดชอบ CASETiFY มุ่งมั่นให้ CASETiFY Studio ทุกสาขา มีกล่องบริจาคเคส Re/CASETiFY เพื่อให้ลูกค้าบริจาคเคสมือถือ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใดก็ตาม พร้อมส่งเสริมจิตสำนึกให้ผู้บริโภคดูแลเคสมือถือที่ไม่ต้องการใช้แล้วอย่างต่อเนื่อง
- ภายในสิ้นปี 2022 ผลิตภัณฑ์ CASETiFY 80% ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับปี 2021 โดยในปี 2023 CASETiFY ภูมิใจประกาศว่า บริษัทฯ สามารถใช้ทรัพยากรรีไซเคิล 100% ในทุกหมวดหมู่สินค้า ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์แล้ว
ฉลองเดือนคุ้มครองโลกด้วยศิลปะและความยั่งยืน
CASETiFY ยังตอกย้ำแนวคิด "ความคิดสร้างสรรค์ไม่หยุดยั้ง" ด้วยกิจกรรมเฉลิมฉลองวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ในปีนี้ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567 ด้วยการลุยจัดกิจกรรมที่ผสมผสานศิลปะและความยั่งยืนเข้าด้วยกันในทั่วโลก ตลอดทั้งเดือนเมษายน 2567 โดยมีศิลปินและนักออกแบบชื่อดังจากทุกมุมโลกได้รับเชิญให้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะขนาดใหญ่จากเม็ดพลาสติก Re/CASETiFY เพื่อจัดแสดงในพื้นที่สาธารณะ
และนี่ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ CASETiFY ในการสนับสนุนศิลปิน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม การจัดแสดงศิลปะเหล่านี้ไม่เพียงดึงดูดสายตา แต่ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมโยงชุมชน สร้างความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างผู้คนกับธรรมชาติในวันคุ้มครองโลกอีกด้วย
กิจกรรม Earth Day ของ CASETiFY จะถูกจัดขึ้นในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา นำเสนอประสบการณ์พิเศษของงานศิลปะและเทคโนโลยี ร่วมกับ Wade and Leta สตูดิโอออกแบบชื่อดัง ออสเตรเลีย จับมือ Eva บริษัทออกแบบเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์สุดล้ำ จัดแสดงโซฟาเดย์เบดที่ผลิตจากเม็ดพลาสติก
Re/CASETiFY สะท้อนทั้งความสวยงามและฟังก์ชั่นการใช้งาน เกาหลีใต้ เปิดตัวผลงานศิลปะขนาดใหญ่จากศิลปิน Youngmin Kang, Dayoung Hwang และ Surin Kim ที่ศูนย์ศิลปะ Seoul Arts Center และ จีน จัดโชว์งานศิลปะกลางแจ้งร่วมกับ Zhou Yi Sun ศิลปินผู้เปี่ยมวิสัยทัศน์ ที่หาดอารัญหย่า ชิงเต่า (Aranya Beach, Qinhuangdao) เพื่อมอบโอกาสพิเศษในการเชื่อมโยงกับศิลปะและปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ท่ามกลางธรรมชาติ
CASETiFY ประเทศไทย ชวน #WalkWithReCASETiFY เดินไปกับรองเท้าแตะรีไซเคิล “Re/CASETiFY Sandals” ฝีมือชุมชนชาวปัตตานี
นับตั้งแต่เปิด CASETiFY Studio แห่งแรกในไทยเมื่อกันยายน 2022 มีผู้เข้าร่วมโครงการ Re/CASETiFY นับหมื่นคนนำเคสมือถือเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาหย่อนลงกล่อง Re/CASETiFY ที่ CASETiFY Studio กว่า 10,000 ชิ้น ทั้งที่สาขา CentralWorld และ Emsphere ในปีนี้ CASETiFY ประเทศไทย จึงบรรเจิดไอเดียเก๋ นำเคสมือถือเก่าเหล่านี้ไปแปรรูป (Upcycle) เป็น รองเท้าแตะ “Re/CASETiFY Sandals” จำนวน 500 คู่ ร่วมกับ โครงการรองเท้าทะเลจร (Tlejourn Shoes)
ซึ่งเป็นโครงการแบบไม่หวังผลกำไรที่เปลี่ยนขยะจากทะเลเป็นพื้นรองเท้า บนความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกลุ่ม Trash Hero นักวิทยาศาสตร์ด้านพอลิเมอร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แบรนด์แฟชั่นดีไซน์ และชุมชนชาวปัตตานี โดยรองเท้าแตะ “Re/CASETiFY Sandals” 1 คู่ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนจากเคสมือถือเก่า 7 เคส และขยะจากทะเลกว่า 20 กิโลกรัม เท่ากับว่ารองเท้า Re/CASETiFY Sandals
ทั้ง 500 คู่นี้ ได้ช่วยลดขยะในท้องทะเลถึง 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) เลยทีเดียว และทุกคนก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้ เพียงหย่อนเคสเก่าที่ร้าน CASETiFY Studio ทั้งสองสาขา รับส่วนลดทันที 10% สำหรับการซื้อสินค้า CASETiFY (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) และเพื่อเป็นการขอบคุณ CASETiFY ประเทศไทย ชวนรับรองเท้า Re/CASETiFY Sandal ฟรี 1 คู่ เมื่อหย่อนเคสเก่า ซื้อเคสใหม่ ตั้งแต่ 18 เมษายน 2567 เป็นต้นไป หรือจนกว่าของจะหมด
ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ Re/CASETiFY ช้อปอุปกรณ์ตกแต่งไอทีรีไซเคิล และรองเท้าแตะ Re/Birth Re/CASETiFY ได้ทางแอปพลิเคชั่น casetify.com/co-lab, และที่ CASETiFY Studio ทุกสาขา
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.