แบล็กเมล์รีดทรัพย์ผู้อื่น มีความผิดหรือไม่

“หากโดนขู่ว่าจะเอาภาพลับส่วนตัวไปปล่อยบนโลกออนไลน์ โดยเรียกเงินเพื่อแลกกับการที่จะไม่ทำตามคำขู่ จะนำไปประจานหากไม่ยอมทำตาม ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอาย แจ้งความดำเนินคดีได้เลย…”

1. เก็บหลักฐานที่มีคนโพสต์หรือแชร์

ให้ผู้เสียหายรวบรวมพยานหลักฐานที่พบการกระทำความผิด ไม่ว่าจะมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ใดก็ตาม ให้เก็บไว้ว่าใครเป็นคนโพสต์เผยแพร่ให้ปรากฏชัดเจน ส่วนใครที่นำไปแชร์ต่อ ให้เก็บหลักฐานไว้เช่นกัน เนื่องจากมีความผิดทั้งคนโพสต์และคนแชร์

2. เก็บหลักฐานการข่มขู่

ในกรณีที่มีการแบล็กเมล์ ข่มขู่ เรียกร้องทรัพย์สินกับผู้เสียหายผ่านทางโทรศัพท์ ให้บันทึกเสียงไว้ตอนพูดข่มขู่ แต่หากพูดกันตัวต่อตัวต้องหาพยาน กรณีนี้ มีความผิดประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 338 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14 (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ส่วนคนที่แชร์ต่อ จะมีความผิดตามมาตรา 14 (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

3. แจ้งความ ณ สถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ

เมื่อรวบรวมหลักฐานได้แล้วนั้น ทราบเหตุที่ใดสามารถแจ้งความท้องที่ที่เกิดเหตุได้เลย เนื่องจากสถานีตำรวจในท้องที่มีหน้าที่โดยตรงที่จะรับแจ้งความ หรือเดินทางมาร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยตนเองที่ บก.ปอท.

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.