ทรูมันนี่ เจาะ 4 เทรนด์ธุรกิจแอปการเงินครบวงจร (Financial Super App) พร้อมสร้างอีโคซิสเต็มส์

เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) สมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญและแทรกซึมไปกับทุกจังหวะชีวิตของคนยุคใหม่ ด้วยฟังก์ชันหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ความบันเทิงไปจนถึงเรื่องการเงิน

เมื่อพูดถึงแอปพลิเคชันการเงินในปัจจุบัน ก็ไม่ได้มีเพียง อีวอลเล็ต (E-Wallet) หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล ที่เป็นบริการเด่นเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ผู้ให้บริการต่างก็เดินหน้าพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ของบริการด้านการเงินของตัวเองให้ครบวงจร ไม่เพียงเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่คุ้นเคยกับความสะดวกของยุคดิจิทัลเท่านั้น

แต่ยังมุ่งเน้นการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ให้ครอบคลุมผู้คนทุกกลุ่มมากขึ้น ด้วยการทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่าย ลดความยากในการเข้าถึง พร้อมผลักดันให้ทุกคนสามารถมีคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีที่สุดในแบบของตัวเอง

ทรูมันนี่ ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มสร้างบริการใช้จ่าย (Payment) เพื่อตอบโจทย์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำให้ไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของผู้คนเป็นเรื่องง่าย อย่างไรก็ดี การสร้างแอปการเงินครบวงจร (Financial Super App) จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง 4 ปัจจัยสำคัญ ที่สามารถส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินให้แก่บุคคลทุกกลุ่มได้อย่างยั่งยืน ประกอบไปด้วย

เสริมสร้างทักษะความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ควบคู่กับไปกับทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

จากงานวิจัยของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ในปีพ.ศ. 2565 พบว่า เทรนด์ทางด้านทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literary) ของบุคคลทั่วไป โดยมากจะมีแนวโน้มสอดคล้องไปกับทักษะความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมจากผู้คนอายุระหว่าง 16 – 35 ปี จำนวน 90,000 คน จาก 6 ประเทศในอาเซียน พบ กว่า 24% ของมิลเลนเนียล (อายุตั้งแต่ 16 - 35 ปี) ไม่เคยเรียนรู้เรื่องการจัดการทางการเงิน หรือ การลงทุนมาก่อน เนื่องจากมองว่า การเงินเป็นเรื่องยาก อีกทั้งยังมีกำแพงด้านภาษาและขั้นตอนการใช้งานที่ซับซ้อน

ผู้ให้บริการจึงควรทำให้การใช้งานแอปการเงินเป็นเรื่องง่ายและตอบโจทย์ของผู้ใช้งาน ด้วยการลดอุปสรรคในการเข้าถึง (Barrier of Entry) อีกทั้งควรออกแบบแอปที่สามารถเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้ใช้งาน ให้พวกเขาสามารถเริ่มสร้างความมั่นคงทางการเงินของตนเองได้ไม่ยาก พร้อมด้วยฟีเจอร์ที่สนุกและมีประโยชน์หลากหลาย เช่น ฝากเงินแล้วเห็นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นรายวัน หรือ มอบสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ จากการใช้บริการให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล ความสะดวกทั้งหมดนี้จะเป็นแรงดึงดูดหลักที่ทำให้บุคคลที่ไม่เคยใช้บริการแอป หรือ บุคคลที่ยังนิยมใช้จ่ายด้วยเงินสด สนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอีโคซิสเต็มส์ที่ครบวงจร ซึ่งช่วยยกระดับชีวิตทางการเงินและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในทุกมิติ

จาก Micro Lending สู่ Micro Investing

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริการสินเชื่อได้รับการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านแอปการเงินครบวงจร เช่น สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) บริการใช้ก่อนจ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later) เป็นต้น ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของบริการทางการเงิน เพื่อให้ตอบโจทย์ธุรกิจรายย่อย บุคคลที่ไม่ได้ทำงานประจำ รวมถึงบุคคลที่ไม่มีบัญชีธนาคาร (Unbanked) ให้สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อได้ผ่านแอปการเงินครบวงจร หรือสามารถดำเนินการขอสินเชื่อได้ ณ จุดขายโดยไม่จำเป็นต้องมีสลิปเงินเดือน

นอกจากนี้ บริการด้านการลงทุนก็เป็นอีกหนึ่งบริการสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางการเงิน ผ่านการทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่งอกเงย โดยทรูมันนี่มองว่า อุปสรรคสำคัญในการลงทุนคือ การกำหนดยอดเงินขั้นต่ำในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ทรูมันนี่จึงลดข้อจำกัดตรงนี้ลงสำหรับบริการด้านการลงทุน โดยให้สามารถลงทุนในกองทุนรวมได้แบบไม่มีขั้นต่ำ

ซึ่งช่วยให้คนรุ่นใหม่ที่ยังมีเงินออมไม่เยอะ สามารถลงทุนได้สะดวกตามรายได้ที่มี อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทนที่งอกเงย พร้อมติดตามผลตอบแทนได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปทรูมันนี่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบวงจร ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นแอปการเงินครบวงจร เพิ่มบริการลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นในเร็วๆ นี้ อย่าง หุ้นกู้ หุ้นต่างประเทศ และการลงทุนในทอง เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญที่ผู้ให้บริการพยายามเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินให้ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับคนทุกกลุ่มในหลากหลายไลฟ์สไตล์ ที่นอกจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วยังตอบโจทย์เรื่องการออมและการลงทุนที่เข้าถึงผู้คนทุกกลุ่มอีกด้วย

ขยายบริการข้ามพรมแดน (Cross-Border) ไปสู่กลุ่มแรงงานต่างชาติ

สถิติในไตรมาสที่ 1/2566 ของกระทรวงแรงงาน พบว่ามีแรงงานต่างชาติในไทยรวมกว่า 2,743,673 คน ถือเป็น 6.92% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในไทย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งหากจะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินให้ครอบคลุมผู้คนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง จึงควรส่งเสริมการเข้าถึงสำหรับกลุ่มแรงงานต่างชาติในประเทศไทยอย่างแรงงานจากพม่าและกัมพูชา ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีบัญชีธนาคาร (Unbanked) รวมถึงกลุ่มที่ยังพบอุปสรรคในการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Underbanked) เสมอมา

โดยพวกเขายังมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง อย่าง การส่งเงินให้ครอบครัวในภูมิลำเนา (International Transfer) การจ่ายบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในต่างประเทศ (Cross Border Bill Payment) หรือ การเติมเงินโทรศัพท์ (Cross Border Mobile Top-up) ไปยังเครือข่ายโทรศัพท์มือถือผู้ให้บริการในต่างประเทศ การที่ทรูมันนี่เปิดให้ชาวต่างชาติที่มาทำงานในไทยสามารถเปิดบัญชีได้ และตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ จึงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่พวกเขาและสร้างการเข้าถึงบริการทางเงิน รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ยกระดับเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อเสริมเกราะความปลอดภัย

ในปัจจุบันมิจฉาชีพออนไลน์กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลในการใช้จ่ายบริการการเงินดิจิทัล เพราะหวาดระแวงว่าตนอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ตลอดเวลา โดยที่ผ่านมา สถาบันทางการเงินและผู้ให้บริการด้านการเงินต่างมีการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมการปกป้องให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น การออกมาตรการสแกนหน้าก่อนโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมิจฉาชีพมีการพัฒนากลโกงและเครื่องมือต่าง ๆ ให้ฉลาดขึ้นตลอดเวลา สถาบันการเงินและผู้ให้บริการแอปการเงินครบวงจรจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ช่วยปกป้องผู้ใช้บริการได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น โดยไม่คาดหวังให้ผู้ใช้งานเป็นฝ่ายป้องกันตนเองอยู่ฝ่ายเดียว

ในยุคดิจิทัล แอปการเงินครบวงจรอย่าง ทรูมันนี่ มีการพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อมาช่วยเสริมเกราะการป้องกันโดยสามารถประยุกต์ใช้ความชาญฉลาดของปัญญาประดิษฐ์ (AI - Artificial Intelligence) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Engineering) ในการรวบรวม จำแนก และจดจำ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้บริการ และสามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลชีวมิติ และ สถานที่ในการใช้งาน เพื่อตรวจจับการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงหยุดการทำธุรกรรมที่มีความผิดปกติได้ในทันที โดยอิงจากประวัติการทำรายการย้อนหลังที่ผ่านมา นอกจากนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินยังสามารถร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลของบุคคลที่กระทำความผิดด้านการเงิน ทำให้การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี ในการเดินหน้าเสริมสร้างอีโคซิสเต็มส์ของบริการด้านการเงินให้ครอบคลุมผู้คนทุกกลุ่ม ยังคงต้องคำนึงถึงอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือ การทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้สามารถตอบโจทย์และทลายข้อจำกัดทางด้านการเงินสำหรับผู้บริโภค ที่นอกจากการเข้าถึงแล้วจะยังช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ด้านการเงินที่ดีให้แก่ผู้คน ซึ่ง ทรูมันนี่ จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาบริการรวมไปถึงเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยเพื่อให้ผู้ใช้บริการของเรามั่นใจในทุกธุรกรรมทางการเงินบนทรูมันนี่ได้

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.