AIS ฉายภาพเส้นทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ก้าวสำคัญของการวิวัฒน์สู่การสร้าง Sustainable Nation
“โลกเดือด” คือสัญญาณเตือนของสภาวะโลกร้อนที่กำลังเข้าสู่วิกฤติ สาเหตุหลักเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่เกินกว่าโลกจะรับไหว ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ถึงเวลาที่ความสามารถของ Digital จะเข้ามาช่วยลดหรือแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดย AIS เชื่อว่าพลังของดิจิทัลและพลังของทุกคน จะสามารถสร้าง Green Network ที่แข็งแรง เพื่อช่วยสนับสนุนภารกิจ Sustainable Nation หรือการเติบโตร่วมกันของผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตของประเทศไทยที่ยั่งยืน
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “นอกเหนือจากการเติบโตทางธุรกิจที่เราได้สร้างความแข็งแกร่งของ Intelligence Infrastructure ให้กับลูกค้าและคนไทยแล้ว วันนี้ AIS ยังมีเป้าหมายใหญ่ในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ด้วยความตั้งใจของเราในครั้งนี้จะเป็นการวิวัฒน์ครั้งสำคัญของโลกดิจิทัลและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีเป้าหมายในการสร้าง Sustainable Nation หรือทำให้ประเทศไทยของเราเติบโตอย่างยั่งยืน”
สำหรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่ยืนหยัดด้านสิ่งแวดล้อมของ AIS ถูกวางไว้ใน 2 แกนหลัก คือ 1) ลดผลกระทบผ่านการบริหารจัดการกระบวนการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ 2)ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี
นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS ได้ฉายภาพให้เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมว่า “การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ การใช้พลังงานกับการทำงานเครือข่าย เป็นเรื่องสำคัญและถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก ซึ่งในส่วนของเอไอเอส ที่วันนี้นอกจากการปรับอุปกรณ์สถานีฐาน และเริ่มนำพลังงานทางเลือกจากธรรมชาติ อาทิ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม มาเริ่มใช้ควบคู่กับพลังงานหลัก ภายใต้แนวคิด Green Network แล้ว เรายังเริ่มทดลอง ทดสอบ นวัตกรรม โซลูชันต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ Traffic ของระบบเครือข่ายทั้งหมด กับเป้าหมายการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วเช่นกัน”
เราเชื่อว่าการจะเป็น Go Green ได้นั้นต้อง Go Digital ควบคู่กันไปด้วย ทำให้เราเดินหน้า Moving to The Cloud เพื่อยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ภายในสถานีฐานให้ยาวนานขึ้น รวมถึงความตั้งใจในการพัฒนา Autonomous Network ที่นำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในสถานีฐานเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของลูกค้า ได้แบบ More Bits, Less Watts เพื่อให้ลูกค้ายังคงได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ตรงใจ พร้อมกับการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ในส่วนของแนวทางการทำงานของ AIS เพื่อลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจรวมถึงมุ่งส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า “เมื่อเราเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ปริมาณอุปกรณ์ ดีไวซ์ เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย สอดคล้องกับข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ITU ที่พบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งหรือเผาทำลาย มีมูลค่าถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีแค่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ที่มีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ AIS ลุกขึ้นมาพูดและให้ความสำคัญกับปัญหา E-Waste เป็นรายแรกในอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2019
เราอยากสร้าง HEALTHY ECOSYSTEM ในการทำงานด้าน E-Waste โดยที่ผ่านมาเราเริ่มต้นจากภายในองค์กรด้วยการชวนพนักงานให้มีส่วนร่วมกับการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งอย่างถูกวิธี นำมาสู่การเชิญชวนเพื่อนบ้านองค์กรใกล้เคียงจนกลายเป็นกลุ่มกรีนพหลโยธินที่มาเข้าร่วมโครงการคนไทยไร้ e-waste หลังจากนั้นเราก็ขยายความร่วมมือไปยังภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่วันนี้มีกว่า 190 องค์กรเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังเป็น Green Partnership ที่ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้าน E-Waste นอกจากนี้เรายังนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามายกระดับกระบวนการจัดการด้วยแอปพลิเคชัน E-Waste+ ที่สามารถติดตาม รับรู้เส้นทางของการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงคำนวณปริมาณ Carbon Scores ได้อีกด้วย
วันนี้ AIS พร้อมเป็นแกนกลางด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ HUB of e-waste ที่มีความครอบคลุมทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ ด้านเครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ ๆ ด้านจุดรับทิ้ง ด้านการขนส่ง หรือแม้แต่ด้าน รีไซเคิลตามเป้าหมาย Zero e-waste to Landfill โดยเราอยากเชิญชวนให้ทุกองค์กรส่งต่อความตระหนักรู้ในด้านนี้ไปยัง พนักงาน ลูกค้า หรือแม้แต่ Stakeholder ทุกกลุ่ม เพื่อต่อยอดการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในระดับประเทศต่อไป”
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.