ประวัติ เจ้าฟ้านเรนทร หลานรัก พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บวชไม่สึก หลีกทางให้อาขึ้นครองราชย์

อีกหนึ่งตัวละครที่ถูกพูดถึงในละคร พรหมลิขิต ตอนล่าสุด จะได้เห็นฉากที่ เจ้าฟ้าพร หรือ พระเจ้าบรมโกศ (เด่นคุณ งามเนตร) ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ได้เจอกับ เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของ ขุนหลวงท้ายสระ (สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ) ในงานพิธีจองเปรียง เผยให้เห็นถึงสัมพันธ์อันดีของอาหลาน ที่เจ้าฟ้าพรถึงกับเอ่ยว่าเป็นหลานรัก

  • เรื่องย่อ พรหมลิขิต (Love Destiny 2) ละครแนวพีเรียดอิงประวัติศาสตร์
  • เปิดประวัติ "ขุนหลวงท้ายสระ" พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา "พรหมลิขิต"
  • ประวัติ "เจ้าฟ้าพร" สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ยุครุ่งเรืองยุคสุดท้ายของอยุธยาใน "พรหมลิขิต"

โดยเจ้าฟ้านเรนทร มีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์คือ ทรงออกบวชตลอดชีวิต หลีกทางให้ เจ้าฟ้าพร (กรมพระราชวังบวร) ขึ้นรับราชสมบัติ เพราะสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเจ้าท้ายสระใกล้สวรรคต กลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้านเรนทร (พระโอรสองค์โต) เจ้าฟ้านเรนทรไม่รับสืบราชสมบัติ ต้องยกให้เจ้าฟ้าลำดับถัดไปเจ้าฟ้าอภัย (พระราชโอรสองค์รอง) เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยเจ้าฟ้านเรนทร ทรงออกผนวชตลอดชีวิต 

 

ประวัติ เจ้าฟ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ หรือ เจ้าฟ้านเรนทร

เจ้าฟ้านเรนทร หรือ เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้านเรนทร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ) ที่ประสูติแต่สมเด็จพระอัครมเหสี พระองค์มีพระอนุชา 2 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัย และ เจ้าฟ้าปรเมศร์

การออกผนวช และ ฉนวนการแย่งชิงบัลลังก์

ก่อนสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 จะเสด็จสวรรคตนั้น พระองค์ได้แสดงพระราชประสงค์ที่จะให้พระราชโอรสของพระองค์สืบต่อราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นเจ้าฟ้าพร พระอนุชาในพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลอยู่ ในขั้นแรกนั้นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 มีพระราชประสงค์ที่จะให้เจ้าฟ้านเรนทรเสด็จขึ้นครองราชย์แต่พระองค์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยเนื่องจากพระมหาอุปราชก็ยังคงมีพระชนม์อยู่ พระองค์จึงทรงออกผนวช ดังนั้น พระองค์จึงทรงยกราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัยสืบราชสันตติวงศ์ต่อ

เหตุการณ์ในครั้งนี้สร้างความไม่พอใจให้กับกรมพระราชวังบวรเป็นอย่างมาก ซึ่งนำไปสู่การเกิดศึกกลางเมืองระหว่างวังหน้าและวังหลวงขึ้น โดยกรมพระราชวังบวรเป็นฝ่ายชนะและเสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลังจากนั้น พระองค์มีพระราชดำรัสให้นำตัวเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามโบราณราชประเพณี

เจ้าฟ้านเรนทร (เจ้าฟ้าพระฯ) ดำรงเพศบรรพชิตออกผนวชตลอดมา โดยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงสถาปนาให้ทรงกรมที่ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ พระองค์ทรงสนิทกับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและกรมหลวงอภัยนุชิต เกิดความระเวง ลอบทำร้ายเจ้าฟ้านเรนทรจนจีวรขาด แต่ไม่ทรงได้รับบาดเจ็บ ทำให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพระพิโรธเจ้าฟ้ากุ้งเป็นอย่างมาก

เจ้าฟ้ากุ้ง ลอบฟัน เจ้าฟ้านเรนทร

เนื่องจากเจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ทรงสนิทกับพระราชบิดาของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง อย่างมาก ขณะทรงผนวชก็มักจะเสด็จมาเข้าเฝ้าอยู่เนืองๆ ทำให้ เจ้าฟ้ากุ้ง เกิดความระแวงขึ้น เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงประชวร ตรัสให้พระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิดไปนิมนต์เจ้าฟ้านเรนทรเข้ามายังพระราชวังหน้าเพื่อมาเยี่ยมพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อเจ้าฟ้านเรนทรเสด็จมาถึง เจ้าฟ้ากุ้งได้ใช้พระแสงดาบฟันเจ้าฟ้านเรนทร แต่ไม่ทรงได้รับบาดเจ็บเพียงถูกแต่ผ้าจีวรขาดเท่านั้น เมื่อทอดพระเนตรเห็นดังนั้นจึงเกรงพระราชอาญาแล้วจึงเสด็จไปยังตำหนักกรมหลวงอภัยนุชิต พระมารดาของพระองค์

หลังจากนั้น เจ้าฟ้านเรนทร เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และพระองค์ตรัสถามว่า เหตุใดผ้าจีวรจึงขาด เจ้าฟ้าพระฯ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ถวายพระพรว่า กรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) หยอกท่าน เมื่อเจ้าฟ้าพระฯ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ถวายพระพรลาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้ว กรมหลวงอภัยนุชิต ได้เสด็จมาอ้อนวอนและตรัสว่าถ้าท่านไม่ช่วยในคราวนี้เห็นที เจ้าฟ้ากุ้ง คงสิ้น เจ้าฟ้าพระฯ กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ จึงตรัสว่าคงมีแต่ร่มกาสาวพัตรเท่านั้นที่จะช่วยได้ กรมหลวงอภัยนุชิตจึงพากรมขุนเสนาพิทักษ์เสด็จออกผนวชทันทีที่วัดโคกแสง 

ในครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธกรมขุนเสนาพิทักษ์มาก มีพระราชดำรัสให้ค้นหาตัวจนทั่วพระราชวัง แต่พบเพียงพระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิดที่สมรู้ร่วมคิดเท่านั้น จึงมีพระราชดำรัสให้นำตัวทั้ง 2 พระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ดับสูญทั้งสองพระองค์

เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพระพิโรธกรมขุนเสนาพิทักษ์มากและมีพระบรมราชโองการให้จับตัวกรมขุนเสนาพิทักษ์มาให้ได้ แต่ในระหว่างกรมขุนเสนาพิทักษ์ได้เสด็จออกผนวชจึงทรงพ้นจากภัยในครั้งนี้ได้

เจ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ไม่ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่าสิ้นพระชนม์เมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจะทรงสถาปนากรมขุนเสนาพิทักษ์ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อปี พ.ศ. 2284

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.