ประวัติ พระอัครมเหสี ในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ใน “พรหมลิขิต”

ประวัติ พระอัครมเหสี ในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ในละคร พรหมลิขิต แฟนๆ ละครสนใจว่าเป็นใครมาจากไหน แม้จะออกเพียงฉากสั้นๆ เท่านั้น

ดำเนินเนื้อเรื่องเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สำหรับละคร พรหมลิขิต ภาคต่อของ บุพเพสันนิวาส ซึ่งเมื่อถึงฉากที่สมเด็จพระเจ้าท้ายสระขึ้นครองราชย์ ข้างๆ พระวรกายมีพระอัครมเหสีประทับอยู่เคียงข้าง แฟนๆ ละครจึงต่างเริ่มสนใจพระอัครมเหสี ในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระในประวัติศาสตร์เป็นใคร มาจากไหน

ประวัติ พระอัครมเหสี ในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

จากข้อมูลของพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า พระอัครมเหสี ในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ คือ กรมหลวงราชานุรักษ์ (กรมหลวงประชานุรักษ์ หรือ กรมหลวงประชาบดี)

กรมหลวงราชานุรักษ์มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าทองสุก (คำให้การชาวกรุงเก่า) หรือเจ้าท้าวทองสุก (คำให้การขุนหลวงหาวัด) ไม่ปรากฏข้อมูลว่าผู้ใดเป็นพระชนกชนนี มีเพียง คำให้การชาวกรุงเก่า ที่ระบุเพียงว่าพระองค์เป็นพระอัครชายาเดิมในเจ้าฟ้าสุรินทรกุมารตั้งแต่ยังเป็นพระมหาอุปราช เมื่อเจ้าฟ้าสุรินทรกุมารเสวยราชย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระภูมินทราธิราชจึงตั้งเจ้าฟ้าทองสุกขึ้นเป็นกรมหลวงราชานุรักษ์ พระอัครมเหสี

สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ในละคร พรหมลิขิต

ใน คำให้การชาวกรุงเก่า และ คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุตรงกันว่าพระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา 6 พระองค์ ได้แก่

  • เจ้าฟ้าหญิงเทพ
  • เจ้าฟ้าหญิงปทุมมา (ประทุม)
  • เจ้าฟ้าชายนรินทร์ (นเรนทร์)
  • เจ้าฟ้าชายอภัย
  • เจ้าฟ้าชายปรเมศ (ปรเมศร์)

นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ยังมีพระอัครมเหสีอีกพระองค์ คือ พระองค์เจ้าทับทิม (เจ้าติ่ง หรือออกพระนามว่า เจ้าครอกจันทบูร) เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) สมเด็จพระเจ้าท้ายสระเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา แต่ไม่ปรากฏพระนามพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน

พระองค์เจ้าทับทิมมีพระชนม์ชีพยาวนานจนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์เสด็จลี้ภัยไปเมืองจันทบุรี และได้รับการอนุเคราะห์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและประทับอยู่ในราชสำนักธนบุรี

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

  • เรื่องย่อ พรหมลิขิต (Love Destiny 2) ละครแนวพีเรียดอิงประวัติศาสตร์
  • เปิดประวัติ "ขุนหลวงท้ายสระ" พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา "พรหมลิขิต"
  • เจ้าพระองค์ดํา น้องต่างแม่ของพระเจ้าเสือ ผู้ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ "พรหมลิขิต"
  • ประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เจ้าฟ้าพร) ยุครุ่งเรืองยุคสุดท้ายของอยุธยาใน “พรหมลิขิต”

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.