ส่องระเบียบขนส่งฯ รถบัสมีทางออกฉุกเฉินกี่จุด? ตรงไหนบ้าง?

ส่องระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยมาตรฐานรถโดยสารแบบมีเครื่องปรับอากาศ จะต้องมีทางออกฉุกเฉินกี่จุด? ทางออกฉุกเฉินจะต้องอยู่บริเวณใดบ้าง?

จากกรณีรถบัสทัศนศึกษาของนักเรียนเกิดเพลิงลุกไหม้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากนั้น หากย้อนดูระเบียบของกรมการขนส่งถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยของรถบัสประเภท ม.1 (ข) หรือรถโดยสารมาตรฐาน 2 ข มีเครื่องปรับอากาศ จำนวนที่นั่งโดยสารเกิน 30 ที่นั่ง ดังที่ปรากฏในข่าว ได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับทางออกฉุกเฉินเอาไว้ ดังนี้

กระจกกันลมและส่วนประกอบตัวถังที่เป็นกระจก - ส่วนประกอบของตัวถังด้านข้างที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์ (Tempered) จำนวนอย่างน้อย 2 บาน ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 70 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ติดตั้งอยู่ด้านขวาของตัวรถค่อนไปทางด้านหน้ารถอย่างน้อย 1 บาน และอยู่ด้านซ้ายของตัวรถในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างน้อย 1 บาน ต้องมีข้อความว่า "ทางออกฉุกเฉิน"

หมายเหตุ: กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) เป็นกระจกนิรภัย เมื่อเกิดการแตกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคม 

ค้อนทุบกระจก - มีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย 2 อัน ติดตั้งอย่างปลอดภัยที่ด้านซ้ายและด้านขวาของตัวรถใกล้บ้านกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์

ค้อนสำหรับการทุบกระจกนิรภัย

ประตูฉุกเฉิน - ประตูฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ประตู ความกว้างไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร อยู่ที่ด้านขวาของห้องโดยสารบริเวณกลางตัวรถหรือค่อนไปทางท้ายรถหรือด้านท้ายรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องเปิดออกได้ทั้งจากภายในและภายนอกโดยไม่ต้องใช้กุญแจหรือเครื่องมืออื่นใด โดยบานประตูต้องเปิดออกได้เต็มความกว้างและส่วนสูง และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางออกประตู มีเครื่องหมายข้อความว่า "ประตูฉุกเฉิน" พร้อมคำอธิบายหรือสัญลักษณ์แสดงวิธีเปิดปิดเป็นภาษาไทยทั้งด้านในและด้านนอกตัวรถ ณ ตำแหน่งที่เห็นชัดเจน และต้องติดป้ายโคมไฟบนพื้นสีขาว ที่มีตัวอักษรคำว่า "EXIT" สีแดง มีความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เหนือบานประตู ซึ่งต้องให้แสดงสว่างพร้อมกับโคมไฟหน้ารถ

เครื่องดับเพลิง - ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม จำนวนอย่างน้อย 2 เครื่อง ติดตั้งไว้ที่ด้านหน้า 1 เครื่อง และที่ด้านหลัง 1 เครื่อง

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารไม่ประจำทาง และรถโดยสารขนาดเล็ก จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง เทียบกับรถยนต์ส่วนบุคคลที่กำหนดให้ตรวจสภาพปีละ 1 ครั้ง

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.