'ทศพร'ลั่นปลดประธานบอร์ดปตท.โดยพลการเสี่ยงติดคุกผิดอาญาม.157
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ บอร์ด ปตท.ได้เริ่มขึ้นต้นขึ้นเมื่อเวลา 13.00น.ของวันที่ 19ตุลาคม 2566 โดยมีวาระสำคัญคือ การพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งประธานบอร์ดและการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงปตท. ทดแทนตำแหน่งเดิมที่จะเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566ที่ผ่านมา
การประชุมบอร์ด ปตท.ประเด็นที่น่าจับตาคือ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ได้ทำข้อต่อสู้รวม 11ข้อ เพื่อสกัดฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง ซึ่งสาระสำคัญคือ การให้ที่ประชุมบอร์ด ยึดข้อบังคับของบริษัทที่ต้องตีความตามลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด ตามข้อที่34 ซึ่งระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการพ้นวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับที่ 32 ซึ่งเป็นเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งประธานกรรมการไม่ใช่ข้อบังคับให้ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อใดก็ได้
ในข้อบังคับที่ 32 ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า ให้ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งได้ตามข้อบังคับที่32 ซึ่งหากข้อบังคับนี้ ขัดหรือแย้งต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีต่อประชาชน นายทะเบียน กระทรวงพาณิชย์ ย่อมที่จะไม่รับจดทะเบียนข้อบังคับ
การอ้างเพียงความเห็นของ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายให้ความเห็นและ/หรือ นายทะเบียน บางท่านที่ไม่ปรากฎนามและ/หรือ การตีความของกฤษฎีกานั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจากข้อบังคับของปตท.ดังกล่าวยังไม่ถูกเพิกถอน ย่อมบังคับใช้ได้ หากมีกรณีพิพาทกัน / หรือการตีความตามกฎหมาย ศาลเท่านั้นที่จะมีอำนาจพิจารณาวินิฉัย
ทั้งนี้ หากกรรมการปตท.ก้าวล่วงไปวินิฉัยถึงความชอบด้วยกฎหมายของข้อบังคับทั้งที่ไม่มีอำนาจและมีการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการโดยพลการถือเป็นการกระทำที่เกินขอบเขตอาจทำให้องค์กรหรือผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายได้ อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นกำรปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเพื่อให้เกิดความเสียหาย ผู้เสียหายหรือผู้ถือหุ้นอาจร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องได้
ข้อโต้แย้งของดร.ทศพร ยังอ้างถึงหนังสือตอบกลับของกลต.ได้กำชับให้บริษัทปตท.ดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบ ควำมระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท
เพื่อรักษำผลประโยชน์ของบริษัท และผู้ถือหุ้นโดยรวม หากมีเหตุจะต้องตีควำมข้อบังคับให้พิจารณาตามความประสงค์ในทางสุจริตเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตำมเจตนารมณ์ของข้อบังคับด้วย
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการคนใดเห็นว่ากรณีจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ เพื่อให้มีการถอดถอนประธานกรรมการได้โดยง่ายก็ควรแก้ไขข้อบังคับนั้นเสีย ตามขั้นตอนและกระบวนการกฎหมาย และหากเห็นว่าข้อบังคับใดไม่ถูกต้อง ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือศีลธรรมอันดี ควรส่งเรื่องให้ศาลเป็นผู้ยกเลิกเพิกถอนข้อบังคับนั้น มิใช่ร่วมประชุมกันแล้วพิจารณาลงมติโดยไม่ผ่านขั้นตอนและกระบวนการตามกฎหมาย
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.