TRUE ชู ‘CTPaP’ เคลื่อนองค์กร หนุนไทยสู่ผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัล
ทรู คอร์ปอเรชั่น นำศักยภาพบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย สู่ผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค SEA และปูทางไทยรับโอกาสเศรษฐกิจดิจิทัลโลกมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศวิสัยทัศน์ดิจิทัลและอุปสรรคที่ยังเป็นความท้าทาย
ประเทศไทยมีพื้นฐานโครงสร้างดิจิทัลที่แข็งแกร่งและมีอัตราการใช้งานดิจิทัล (Digital Adoption Rate) ที่สูง และมีโอกาสสร้างการเติบโตจากเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จากการคาดการณ์พบว่าในปี 2573 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากภูมิภาค SEA สามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ (ข้อมูลจาก Bain & Company)
ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ SEA เป็นรองแค่อินโดนีเซีย สัดส่วนดิจิทัลต่อ GDP ไทยนั้นอยู่ประมาณ 12% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง (เศรษฐกิจดิจิทัลคิดเป็น 15% ของ GDP โลก) อนึ่งรัฐบาลไทยตั้งเป้าให้เศรษฐกิจดิจิทัลสร้าง 30% ของ GDP ในปี 2570 อย่างไรก็ดี ยังมีความท้าทายบางประการที่ประเทศไทยต้องรับมือ ในการคว้าโอกาสสูงสุดจากการขยายตัวเศรษฐกิจดิจิทัล
นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการใช้งานดิจิทัลที่สูง เรามีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดี และสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP ในระดับที่น่าพึงพอใจ แต่การจะสร้างโอกาสอย่างยั่งยืนจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่อาจเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ประเทศไทยต้องเร่งยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆและบุคลากร เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังมีเป็นผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิตในเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้รายได้หลักในระบบนิเวศดิจิทัลไหลไปสู่มือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ นำไปสู่ ‘การขาดดุลทางดิจิทัล’ กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศไทย
ตอนนี้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย กล่าวคือ เป็น ‘a must’ ที่ต้องทำทันที ไม่ใช่ ‘a choice’ หรือทางเลือกอีกต่อไป ซึ่งการจะเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย และประเทศไทยสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบให้สำเร็จนั้น ต้องอาศัยความพร้อมของ ‘building block’ ทำ 5 สิ่งนี้พร้อมกัน ได้แก่ Connectivity, Technology, Platform as a Service , Analytics & Artificial Intelligence และ People (โมเดล CTPaP) ซึ่งทรู คอร์ปอเรชั่นพร้อมจะเป็นผู้นำในการผลักดันทุกบริบทของไทยและร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างโอกาสสูงสุดจากเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับโลก
ทรูคอร์ปอเรชั่นชู ‘CTPaP’ องค์รวม 5 ปัจจัยทรานฟอร์มประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
C – Connectivity : บริการการเชื่อมต่อนั้นเป็นตัวกลาง (enabler) สำคัญในการเข้าถึงบริการดิจิทัลและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งการจะเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลนั้น การมีบริการการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพ มีความสเถียรแม่นยำ และประชากรสามารถเข้าถึงได้ นั้นเป็นหัวใจสำคัญ เป็นสาเหตุที่ทรู คอร์ปอเรชั่นให้ความสำคัญการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานระดับโลก ครอบคลุมทั้ง 5G และบรอดแบนด์
ปัจจุบัน ทรู คอร์ปอเรชั่นมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเต็มรูปแบบ ทั้ง โมบายล์และบรอดแบรนด์ โดยปัจจุบันโครงข่าย 4G ของทรู-ดีแทค นั้นครอบคลุมประชากร 99% และโครงข่าย 5G ของทรู-ดีแทคนั้นครอบคลุมประชากร 86% และตั้งเป้าขยายให้ถึง 97% ภายในปี 2568
T – Technology : ทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งเดินหน้าทรานฟอร์มธุรกิจไทยสู่ความเป็นเทคคอมปานี เพื่อขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่ โดยอาศัยพลังของเทคโนโลยีในระบบนิเวศ อาทิ AI, Blockchain, IoT, Robotics และ Quantum Computing พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยและทุกองค์กรพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้ 1. รายได้เติบโตเพิ่มขึ้น 2. เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลิตภัณฑ์ (Productivity) ที่สูงขึ้น
P – Platform as a Service : เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มให้สมบูรณ์แบบเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุด โดยทรู คอร์ปอเรชั่น ให้ความสำคัญ 3 ปัจจัย คือ 1. Digital Media ซึ่งปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่น 8 พันล้านบาท (เติบโต 12% จากปีก่อน) จากคอนเทนต์วิดีโอเกมและ video on demand 2. Digital Home: ในปี 2565 ซึ่งจำนวนบ้านของคนไทยที่มีอุปกรณ์ Smart Home มีจำนวน 2.9 ล้านหลัง เติบโตขึ้นจากปีก่อน 11.9% และ 3. Digital Health ที่มีศักยภาพเป็น the new S-Curve ใหม่ของประเทศไทย
a-Analytics & Artificial Intelligence : เปิดองค์ความรู้จากดาต้าเพื่อเจาะลึกถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานสู่การสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม พร้อมทั้งสนับสนุนภาครัฐในการนำ Analytics Capabilities มาวิเคราะห์เชิงรุกกำหนดนโยบายสาธารณะ สู่กำหนดโครงสร้าง e-government หรือใช้ insights ที่สามารถออกแบบแผนและแก้ไขปัญหาได้จริง ทั้งหมดนี้ต้องเริ่มด้วย digitization ขององค์กรสู่การเปลี่ยนผ่านใช้ระบบดิจิทัลและ AI แห่งอนาคตได้
P – People (คน) : ทรู คอร์ปอเรชั่นชี้ชัดว่า “คน” เป็นปัจจัยชี้วัดสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำเร็จหรือล้มเหลว การเร่งยกระดับทักษะของพนักงานให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงกลายเป็นวาระเร่งด่วน โดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ระบุว่า 44% ของทักษะที่เป็น core skills ที่ใช้ทุกวันนี้จะล้าสมัยในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะมีอาชีพใหม่ๆ ในสายงานดิจิทัลเกิดขึ้นอีกมากมาย
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.