เศรษฐา เรียกผู้ว่าฯคุยปมแบงก์ชาติสวนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมในวันที่ 27 กันยายน 2566 โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ต่อปี จาก 2.25 เป็น 2.50% ต่อปี ด้วยมองว่าโครงการแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงการคลังจะส่งให้เศรษฐกิจไทยร้อนแรงขึ้นในปีหน้า ซึ่งน่าจะขยายตัวถึง 4.4% ในปี 2567 จึงต้องป้องกันเงินเฟ้อไม่ให้หลุดกรอบไว้ก่อนด้วยการขึ้นดอกเบี่้ยล่าสุด
แต่ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจใหม่ด้วยมองว่าไปในทิศทางชะลอลงในปีนี้ จึงลดเป้าตัวเลขจีดีพีลง 0.8% เหลือ 2.8% จาก 3.6% จากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า
ทั้งนี้ไม่ว่าจากถ้อยแถลงจะให้เหตุผลใด ๆ ก็ตาม แต่มีรายงานข่าวระบุว่า ด้วยท่าทีของแบงก์ชาติล่าสุด ดูเหมือนว่าเกิดจากความขัดแย้งเรื่องจากกรณ๊โครงการแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ที่ทางแบงก์ชาติไม่เห็นด้วยที่จะให้ทำโครงการนี้ แต่รัฐบาลก็ยืนยันจะเดินหน้าต่อ และยังต้องการให้แบงก์ชาติมาสนับสนุนเรื่องนี้ด้วย
ดังนั้น จากกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว ก็ได้มีการส่งสัญญาณถึงความไม่พอใจที่แบงก์ชาติออกตัวแสดงท่าทีไม่สนับสนุนแนวทางที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยหลังจากได้พูดคุยกับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา หลังจากนี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเรียกผู้ว่าแบงก์ชาติมาหารือเรื่องดอกเบี้ย รวมทั้งนโยบายการเงินการคลังที่เหมาะสม
ผลลัพธ์จากนี้จะออกหน้าไหน ก็ต้องจับตามองกันต่อว่าแรงกระเพื่อมของทิศทางนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่สวนทางกันครั้งนี้ จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเขย่าเศรษฐกิจไทยไปอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ให้มุมมองต่อแนวทางที่แบงก์ชาติยังคงขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอว่า แม้ว่าทาง กนง. จะปรับได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้แต่ก็เพิ่มตัวเลขเศรษฐกิจขยายตัวถึง 4.4% ในปีหน้า
เนื่องจากตามปกติแล้วนโยบายการเงินจะใช้เวลาถึง 2 ไตรมาสในการส่งผ่านถึงเศรษฐกิจที่แท้จริง นั่นคือจาการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะไปกระทบเศรษฐกิจที่แท้จริงในปี 2567 ดังนั้นเหตุผลที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายล่าสุด เพราะแบงก์ชาติมีความกังวลต่อเศรษฐกิจในปีหน้า โดยเฉพาะต่อประเด็นนโยบายการคลัง โดยเฉพาะประเด็นแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ว่าจะทำให้เศรษฐกิจร้อนแรงขึ้น จนนำไปสู่สภาวะเงินเฟ้อ จึงมองว่าเหมาะสมที่จะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดความร้อนแรงในอนาคต
แต่มองว่าการขึ้นดอกเบี้ยในปัจจุบันเป็นการป้องกันกระแสเงินไหลออก โดยจะเห็นว่าค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงแค่เดือนกันยายนก็่อ่อนลงกว่าสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาคมากกว่า 3% ที่เป็นผลจากทั้งปัจจัยนอกประเทศคือการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จนทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง และปัจจัยในประเทศคือเรื่องความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่อนโยบายการคลัง เช่น การกู้ยืมเงินที่มากขึ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี พุ่งเกินกว่า 3% ซึ่งสะท้อนต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นของภาครัฐ จึงมีความพยายามขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินไหลออก
"เงินทุนสำรองระหว่างประเทศในปัจจุบันน้อยกว่าช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นความพยายามสกัดเงินทุนไหลออกของแบงก์ชาติมาระดับหนึ่งแล้ว แต่อาจจะไม่พอ ก็จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อปรามเงินไหลออก"
นอกจากนี้ ดร.อมรเทพมองว่า ในระยะข้างหน้ายังต้อ้งจับผลกระทบที่นโยบายการเงินและนโยบายการคลังสวนทางกัน นั่นคือแบงก์ชาติพยายามขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อและลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายการคลังตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจโตได้ 5% และหวังให้เศรษฐกิจโตได้อย่างชัดเจน แต่นโยบายการเงินกำลังสวนทางไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไป
"จึงต้องรอติดตามกันต่อไปว่า ด้วยทิศทางนโยบายการเงินและการคลังที่สวนทางกันจะส่งผลให้ตลาดขาดความเชื่อมมั่นหรือไม่"
ทั้งนี้ตลาดน่าจะยังต้องติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจกันต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขเงินเฟ้อ ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่มีโอกาสจะเห็นความชัดเจนในการประชุมรอบหน้าในเดือนพฤศจิกายนว่า สุดท้ายเฟดอาจจะไม่ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างที่ตลาดกังวลก่อนหน้านี้ก็ได้ เช่นเดียวกับอาจจะต้องมาดูตัวเลขนักท่องเที่ยว ที่ล่าสุดแบงก์ชาติเองก็ปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวลง จากเหตุผลที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวเลงก็ได้ รวมถึงต้องมาดูอีกว่าด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น ฟรีวีซ่า (Free Visa) จะมาช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ได้อย่างไร จึงยังมีความหวังอยู่ว่าค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าได้เล็กน้อยจากภาวะปัจจุบัน
ดังนั้นสถานการณ์ตอนนี้คือ นโยบายการเงินเดินหน้าและรักษาเสถียรภาพดีแล้ว แต่ที่ต้องรอดูคือถ้านโยบายการคลังถ้าจัดการได้ดี สร้างความเชื่อมั่นได้ เศรษฐกิจก็เดินได้ แต่หากคนขาดความเชื่อมั่น จนกระทบไปถึงเรื่องเครดิตเรตติ้งหรืออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ยิ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็ยังพุ่งอยู่ ก็สะท้อนต้นทุนการเงินภาครัฐและเอกชนด้วย เพราะเวลาเอกชนออกหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ก็อ้างอิงจากตัวเลขผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ยังต้องกังวลคือความชัดเจนและความเชื่อมั่นต่อนโยบายการคลัง
"แม้ว่าการที่ขึ้นดอกเบี้ยล่าสุดแต่ปรับลดเป้าจีดีพีเป็นเรื่องปกติ แต่ยังเป็นเรื่องน่ากังวล ที่เราไปฝันว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะฟื้นแรง แต่ถ้าเกิดไม่ใช่อย่างที่คาดการณ์ ก็หวังว่าแบงก์ชาติจะมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับนโยบายการเงิน แต่อย่างน้อยเราก็มีขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้หากมีปัญหา เพราะหากไปเหยียบเบรกในระยะสั้น แล้วปีหน้าเศรษฐกิจแย่ลง ก็จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยิ่งสะดุด จึงต้องติดตามการดำเนินนโยบายการคลังต่อไป"
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.