เทรนด์อาหารเพื่อสิ่งแวดล้อม ความท้าทายส่งออกไทย
ฐานเศรษฐกิจจัดงานสัมมนา “Thailand Challenge : ความท้าทายประเทศไทย” โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ที่จะชี้ให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ในวันพุธที่ 20 กันยายน 2566 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
ในช่วง Thailand Challenge: Opportunity and Position of Thailand นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ชี้ว่า
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในภาวะขาลง นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาครัฐต้องอัดฉีดเงินลงไปที่ภาคครัวเรือนเพื่อช่วยเหลือ และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ สินค้าต่างๆต้องปรับราคาขึ้น
เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวไปเยอะ ประเทศต่างๆก็ขึ้นดอกเบี้ยไปเรื่อยๆเพื่อลดเงินเฟ้อ แต่แนวทางนี้มีผลกระทบเชิงลบกับภาคธุรกิจ ที่ต้องรับต้นทุนเพิ่มขึ้น หนี้เดิมจากโควิดไม่ทันหมด หนี้ใหม่มาอีกแล้ว
ในเชิงการค้าก็เริ่มมีมาตรการใหม่ๆเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่าง CBAM ภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และนับเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย นอกจากนี้ยังมีเรื่องความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ อนาคตของดิจิทัลที่ประเทศไทยต้องเป็นส่วนหนึ่งของ Supply chain ด้านเทคโนโลยีด้วย
ประเทศไทยเราเอง ก็ถือว่าไม่ได้แย่มาก อยู่ในช่วงกลางๆ แต่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง สิ่งสำคัญคือกำลังซื้อของผู้บริโภค แม้กระทั่งสินค้าจำเป็น
สินค้าส่งออกหลักๆบ้านเราคือรถยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่ในอนาคตโลกเล็งเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น ให้รถยนต์กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งคาดว่าจะกระทบกับผู้ผลิตเดิมที่ทำส่วนประกอบของเครื่องยนต์สันดาป
เทรนด์อาหารก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์หนีไม่พ้นเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ผู้บริโภคเขาอยากรู้แหล่งที่มาของอาหารว่ากว่าจะได้ผลิตภัณฑ์มานี้ กระบวนการของมันทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ถัดมาคือเทรนด์อาหารที่ต้องสร้างความสมดุลด้านร่างกายและจิตใจ ปัจจุบันการรับประทานอาหารจะไม่ใช่แค่กินให้อิ่มหรือกินให้ครบ 5 หมู่ แต่ต้องกินแล้วช่วยให้นอนหลับสบาย ย่อยง่าย หรือกินอย่างไรแล้วช่วยให้ร่างกายเราสบาย
ในส่วนของเรื่องโปรตีนทางเลือก ก็เป็นเทรนด์ด้านอาหารที่น่าจับตาเช่นกัน ซึ่งเราต้องมีเทคโนโลยีที่ช่วยผลิตโปรตีนจากปศุสัตว์ ซึ่งเมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โปรตีนจากพืชถือว่าเป็นทางเลือกที่ช่วยลดเวลาผลิต ปลูกแค่3-4เดือนก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว ขณะที่เทรนด์อาหาร Plant-based ก็เติบโตมากเช่นกัน และเป็นนวัตกรรมที่ยังไปต่อได้
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.