“พิชัย” ชงแรงหั่นภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% -ขึ้นVAT หนุนลงทุน-ลดความเหลื่อมล้ำ
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาภายในงาน “Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business” ภายใต้หัวข้อ “Financial Policies for Sustainable Economy” ซึ่งจัดโดยกรุงเทพธุรกิจว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยอัตราการเติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อบ้าน โดยมีปริมาณการลงทุนใหม่น้อยเมื่อเทียบกับอดีต หรือมีการลงทุนต่ำกว่า 20%ต่อจีดีพี นอกจากนี้ไม่มีนโยบายที่สนับสนุนการลงทุนให้มีความต่อเนื่องที่เอื้อหนุนเศรษฐกิจ แต่ข้อดีมีสภาพคล่องในระบบเหลืออยู่จำนวน
ทั้งนี้ เห็นว่า สถานการณ์ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ทำให้เกิดการโยกย้ายฐานการผลิต ถือว่าเป็นโอกาสของไทย ที่นักลงทุนต่างประเทศจะเลือกในไทยเป็นฐานการผลิต เนื่องจากไทยมีพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนจำนวนมาก พร้อมตอบสนองการผลักดันพลังงานสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ขณะที่บุคลากรของไทยมีศักยภาพ มีพื้นฐานที่ดี เมื่อดูองค์ประกอบเหล่านี้ไทยจึงมีปัจจัยครบถ้วนที่เขาน่าจะเลือกเข้ามาลงทุนที่ไทยมากสุดในช่วงนี้ ซึ่งตอนนี้ธุรกิจที่เข้ามาจะเป็นธุรกิจที่ตอบสนองความั่งยืนพลังงานไฟฟ้า เช่น อีวี พลังงานสะอาด แบตตาลี่ ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นต้น
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนแสดงความสนใจ 7 แสนล้านบาท ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นถ้าเรามีความพร้อมรองรับธุรกิจเหล่านี้มากขึ้น และมี โลจิสติกส์ที่ดี อย่างไรก็ตามรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งสนับสนุนการปรับปัญหาเชิงโครงสร้าง มีนโยบายการเงินที่สนับสนุนการลงทุนให้มากขึ้น แน่นอนภาคธุรกิจอยากเห็นอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจที่ต่ำลง จากปัจจุบันที่ 2.25%
หลายคนอาจกังวลว่าเมื่อดอกเบี้ยต่ำลงอาจกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และทำให้ชาวบ้านเดือนร้อนเพราะของแพงขึ้น ทั้งนี้คาดว่า เงินเฟ้อปีนี้น่าจะปรับตัวขึ้นไม่น่าเกิน1%ต่อปี ขณะที่เพื่อบ้านอยู่ที่ 1-4% แปลว่า ยังมีช่องว่างในการทำนโยบายการเงินมากขึ้น นอกจากนี้ในส่วนอัตราแลกเปลี่ยน อยากเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งเรื่องนี้มองว่าค่าเงินบาทน่าจะปรับตัวอ่อนยาก เพราะคนเชื่อมั่นประเทศไทยมาก เนื่องจากเม็ดเงินทุนไหลเข้ามาไทยค่อยข้างมาก ทำให้เงินบาทยังอยู่ในทิศทางที่แข็งค่า ดังนั้นจะทำอย่างไรให้เงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป แต่ต้องไม่อ่อนค่าเกินไปด้วย ดังนั้นจึงอยากเห็นนโยบายการเงินเข้าผลักดันเศรษฐกิจ ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออก 65-7% ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลให้ความเป็นอิสระของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาอย่างรอบครอบและมีความเป็นอิสระ
ดังนั้นนโยบายเงิน และการคลังต้องสนับสนุนการขยายต่อเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจโตนำเงินมาสนับสนนุนเอกชนได้อย่างไร ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวขอ้ง เร่งพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดเก็บรายได้รัฐเช่น การลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% จาก 20% เพื่อให้แข่งขันกับชาวโลกได้ ซึ่งประเทศอื่นเขาก็ทำกัน ขณะที่ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ของไทยปัจจุบันอยู่ที่7% ขณะที่กฎหมายกำหนดให้ขึ้นได้ถึง 10% ขณะที่ทั่วโลกอยู่เก็บกันที่ 15-25% แปลว่าเราเก็บภาษีบริโภคน้อยไป แต่อยากบอกว่าถ้าเราเก็บในอัตราส่วนที่สูงขึ้นและเหมาะสมจะช่วยให้คนรายได้ต่ำรอด ลด่องว่างคนรวยกับคนจนได้ โดยเรื่องนี้ต้องพิจารณาให้รอบครอบค่อยเป็นค่อยไป โดยตอนนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน
“คนมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่อง Sensitive แต่อยากบอกว่า ถ้าเก็บสูงขึ้นและเหมาะสมจะช่วยให้คนรายได้ต่ำรอด ลดช่องว่างคนระหว่างคนรวยคนจน จะเห็นว่าจีนเก็บ VAT ที่ 19% สิงคโปร์ 9% ขณะที่หลายประเทศ เก็บเกือบ 20% จะเห็นว่าถ้าเราเก็บต่ำ ทุกคนจ่ายต่ำ เงินส่งกลับเข้ารัฐจะมีข้อจำกัด ถ้าเก็บสูงขึ้น ตามยอดการใช้เงินกองกลางก็ใหญ่ขึ้น ก็นำเงินก้อนนี้ไปส่งผ่านให้คนรายได้น้อย ผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา เพื่อให้โอกาสคนมีรายได้น้อย และไปสร้างความสามารถแข่งขันให้เอกชน นำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ต้นทุนเอกชนต่ำลง เมื่อต้นทุนถูกลง การส่งออกก็จะถูกลง แต่เรื่องนี้ต้องเริ่มต้นจากที่ว่าเราจะทำยังไงให้คนเข้าใจก่อน”
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.