ส.อ.ท. ชู 3 แนวทางปรับตัวก้าวข้ามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์

        นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงาน ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity ซึ่งจัดขึ้นโดย กรุงเทพธุรกิจ ว่า สถานการณ์สงครามการค้า หรือ Trade war และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ถือเป็นความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ ซึ่งในสมัยนายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯได้ประกาศสงครามการค้ากับจีนครั้งแรก ส่งผลให้ supply chainโลกได้รับผลกระทบ แต่ในขณะเดียวมีผลบวกก็มีผลลบ จากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากสินค้าจีนในทุกรายการในเวลานั้น ส่งผลให้สินค้าไทยที่เป็นวัตถุส่งขายไปจีน และส่งออกไปสหรัฐจะได้ผลกระทบในเชิงลบทั้งหมด 

 

       แต่ในทางกลับกันสินค้าที่เป็นแบรนด์ในไทยได้รับผลเชิงบวก เช่น เครื่องปรับอากาศ จากเดิมไทยเคยส่งออกเป็นอันดับสองรองจากจีน แต่เขาไม่สั่งสินค้าจีนแต่กลับมาสั่งสินค้าจากไทยแทน ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องผลิตไม่ทัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส หากปรับตัวไม่ทันไปพึ่งพาตลาดตลาดที่กำลังได้ผลกระทบอุตสาหกรรมนั้นย่อมอ่อนแอลง ทั้งนี้เรื่องของการแบ่งขั้วถือเป็นจุดที่ภาคอุตสาหกรรมต้องระมัดระวังมากที่สุด

 

        หากพูดถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน จะเป็นปัญหาเรื่องราคาพลังงาน  ส่งผลให้ราคาน้ำมัน ราคาพลังงานพุ่งสูงมากกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรน จะทำให้ต้นทุนสินค้าต่างๆเพิ่มสูงขึ้นทั้งหมด รวมถึงค่าระวางเรือด้วย เช่นเดียวกับสงครามอิสราเอล-ฮามาส กังวงว่าจะบานปลายจะขยายวงกว้างหรือไม่ ต้องติดตามอย่างให้ชิด แต่ยังมีข้อดีตอนนี้กลับพบว่าราคาน้ำมันในช่วงนี้ค่อนข้างเสถียรกว่าที่คาดไว้

“จะเห็นได้ว่าเมื่อมีวิกฤตจะเกิดผลกระทบใน 2 มุม พอเกิดปัญหาภูมิศาสตร์ จะเปลี่ยนระบบการค้าใหม่มีการตั้งกำแพงสูง สินค้าจีนเข้าไปยังสหรัฐไม่ได้ สถานการณ์มันเปลี่ยนทิศ โอเวอร์ซัพพลาย ไหลกลับเข้ามาในอาเซียน ทำให้อาเซียนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของจีนเพิ่มขึ้น  ทำให้ปี 2566 หรือ 16 ปี เป็นปีแรกที่จีนกับสหรัฐไม่ได้เป็นคู้ค้าอันดับ1 ของแต่ละประเทศแล้ว ด้วยมาตรการต่างๆ” 

        โดยปี 2565 สินค้านำเข้าจากจีนเข้าสหรัฐมีมูลค่ากว่า 5.3 แสนเหรียญสหรัฐ พอปี 2566 ด้วยมาตรการต่างๆทำให้เหลือเพียง 4.2 แสนเหรียญสหรัฐ ลดไปประมาณ 20% แต่สินค้าเหล่านั้นไม่ได้ไปไหนแต่ไหลเข้าไปในตลาดอาเซียน ทำให้สินค้าเอสเอ็มอีของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ 

       ดังนั้นมองว่า เราต้องมีมาตรการที่ดีพอ มีความเข้มงวดเพราะสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ และราคาถูก เข้ามาทำให้ 46 อุตสาหกรรมของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ หากเราไม่มีมาตรการที่เท่าทันและดีพอ ปีนี้จะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมากกว่า 30 กลุ่มอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ 

เราไม่ต้องถึงขั้นต้องการกำแพงภาษี แต่ปัญหาการไหลบ่าเข้ามาของสินค้าไม่ได้เข้าไทยประเทศเดียว แต่ภูมิภาคนี้ก็โดน แต่ไทยจะมากที่สุด ทั้งถูกกฎหมาย การลักลอบเข้า และสำแดงเท็จ ดังนั้นสินค้าเกลื่อนตลาดไปหมด เราเพียงแต่ต้องการใช้มาตรฐานสากลที่เรามีระหว่างกัน โดยมาตรฐานที่เราใช้เพียง 30% เราควรทำได้ถึง 90-100% จะช่วยชะลอการไหลเข้ามาได้ไม่มากก็น้อย จึงขอเรียกร้องทุกภาคส่วนให้ช่วยกันเพราะถ้าเราปล่อยไว้แบบนี้เอสเอ็มอี หรือภาคอุตสาหกรรมจะไปต่อไปไม่ได้”

 

       นายเกรียงไกร ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันโลกการส่งออกมีแนวโน้มลดลงและมีคู่แข่งมากขึ้น เราถูกหลายคนพูดว่า สินค้าไทยเริ่มล้าสมัย ไม่เป็นที่นิยม ซึ่งเราพยายามจะเข้าช่วยกลุ่มนี้ก่อน เนื่องจากใน 46 กลุ่มอุตสาหกรรม มีประมาณครึ่งหนึ่งพัฒนาตัวเองได้ดี หันไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่อีกครั้งที่เป็นเอสเอ็มอีที่ยังปรับตัวไม่ค่อยได้ เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้เราต้องเข้าไปพยุง ซึ่งเราก็มีมาตรการเช่น โออีเอ็มให้เป็นโอดีเอ็ม คือ จากที่เคยรับจ้างเค้าเพียงอย่างเดียว เป็นการผลิตภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง การมีส่วนร่วมในการออกแบบจะได้ขายแบบได้ ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 

 

       ตัวที่สอง คือ กลุ่มที่ใช้แรงงานทักษะธรรมดา วันนี้เราต้องพัฒนาไปสู่ทักษะที่สูงขึ้น คือ ในไม่ว่าจะเป็นการอัพสกิล รีสกิลหรือสกิ เรื่องของการค้าขายต้องให้มายเซ็ทว่าการค้าขายในอดีตเอากําไรสูงสุดวันนี้ไม่ได้แล้ว ปรับตัวรับกติการใหม่ต้องดูเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย รวมถึงการปรับโครงสร้างไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ในกรอบของความยั่งยืน เรื่อง ESG การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นเทรนด์ทั่วโลก รวมทั้งเรื่องของกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve BCG อุตสาหกรรมใหม่ และ Climate Change

 

      ท้ายสุด ปัญหาของบ้านเราก็คือ เรามีเอสเอ็มอี 90% ในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศมีหมื่น 6000 กว่าบริษัท รวมกันแต่ส่วนใหญ่เกือบ 90% ก็เป็นเอสเอ็มอีทั้งสิ้นเอสเอ็มอีเป็นผู้ที่เปราะบางแล้วก็ต้องการความช่วยเหลือในทุกด้าน สิ่งที่เรากําลังทําอยู่ในโครงการที่เรียกว่าทรานส์ฟอร์มเอสเอ็มอีไปสู่สมาร์ทเอสเอ็มอี

 

      อย่างไรก็ตามไทยมี โครงสร้างพื้นฐานที่ดีมากที่สุดในภูมิภาค เราต้องเทรนด์คนของเราใช้ดิจิทัล ใช้เอไอให้เป็น เพื่อเป็นการสร้างแต้มต่อให้ได้ และเราต้องมีมีนวัตกรรม และโกโกลบอล คือ การส่งออกไปทั่วโลกโดยใช้ระบบดิจิทัล จะทำให้เรารู้จักมาตรฐานอุตสาหกรรใหม่ๆในอนาคต ทำให้เราไปอยู่ในห่วงโซของซัพพลายเชนโลก และเรื่องของสิ่งแวดล้อม 

      3 แนวทาง ปรับตัวการก้าวข้ามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ คือ หนึ่ง เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต สองบริหารจัดการความเสี่ยงเรื่องของซัพพลายเชน และความปลอดภัยไซเบอร์ สามความยั่งยืน เช่นการใช้พลังงานสะอาด 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.