คลัง จับมือ กรุงไทย จัด 5 หมื่นล้าน แก้หนี้ราชการในสังกัด

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือ”โครงการแก้หนี้ข้าราชการยั่งยืน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกรุงไทย และ 9 หน่ายงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง, กรมธนารักษ์, กรมบัญชีกลาง, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, สำนักงานเศรษฐกิฐกิจการคลัง รวมทั้ง 7 สหกรณ์ในสังกัด เพื่อช่วยเหลือข้าราชการกลุ่มเปราะบาง แก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน

 

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยเป็นหนี้ครัวเรือน 16.2 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ข้าราชการวงเงิน 3 ล้านล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในหนี้สหกรณ์ รองลงมาคือหนี้ในสถาบันการเงิน ซึ่งทั้ง 2 ส่วนมีปัญหาหมด ซึ่งเกิดจากปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย วิธีแก้ที่เป็นไปได้ และยั่งยืน คือ ต้องใช้คุณสมบัติของข้าราช มีอาชีพการงานที่มั่น หลังเกษียณแล้วยังมีรายได้ประจำที่คำนวณได้ ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือกันของหลาย ฝ่าย คือ 1.สหกรณ์ 2. สถาบันการเงิน
 

“สหกรณ์ และธนาคารกรุงไทย จะทำงานร่วมกันเพื่อที่จะดูว่า ภาระหนี้ราชการของทั้งส่วนมีอยู่ที่เท่าไร ซึ่งการดูข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ภายใต้การยินยอมของราชการ ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ภาระการผ่อนลง เพราะดอกเบี้ยถูกลง และยืดการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น โดยเอาหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคลมารวมกันเป็นก้อนเดียว ทำให้มีความเป็นไปได้ที่หลายๆให้คนจะหลุดจากการเป็นหนี้ ” นายพิชัย กล่าว 

 

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง แนวคิดที่จะแบ่งประเภทการติดเครดิตบูโร เช่น กลุ่มคนที่ติดเครดิตบูโรเรื่อยๆ กับ กลุ่มที่ติดแค่ครั้งเดียว ซึ่งจะมีความเสี่ยงไม่เหมือนกัน ทั้งก็เพื่อช่วยเหลือให้ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น  โดยจะมีการหารือร่วมกับเครดิตบูโรว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ รวมทั้งจะมีการหารือถึงการแนวคิดการลดระยะเวลาการติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโรด้วย
 

 

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกกลุ่ม จึงขอให้ทุกหน่วยงานร่วมมือแก้ไขปัญหาหนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือข้าราชการเป็นอันดับต้นๆ  โดยเฉพาะข้าราชการกลุ่มเปราะบาง ที่มีภาระหนี้สูง เงินเดือนถูกหักเงินไปใช้หนี้จนเกือบหมด  มีเหลือใช้ในแต่ละเดือนไม่ถึง 30% ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทำให้ต้องไปกู้เพิ่มเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จนมีหนี้อยู่หลายแห่ง กระจัดกระจาย และอยู่ในวงจรหนี้ไม่จบไม่สิ้น  

 

ปัจจุบัน กระทรวงการคลัง มีข้าราชการภายใต้หน่วยงานในสังกัด รวมจำนวนราว 36,000 คน ซึ่งปัญหาของข้าราชการกลุ่มเปราะบาง คือ มีเจ้าหนี้มากกว่า 1 ราย ทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ มีเงินเดือนเหลือไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โครงการนี้จะช่วยให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง สามารถรวมหนี้ทุกประเภทมาไว้ที่ธนาคารกรุงไทยที่เดียว โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ตลอดอายุสัญญา  และมีระยะผ่อนชำระยาวขึ้น ทำให้มีเงินได้รายเดือนคงเหลือเพียงพอต่อการดำรงชีพ ส่งเสริมวินัยทางการเงิน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ด้านนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ KTB กล่าว ว่า โครงการนี้ จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสภาพคล่องเหลือเพียงพอในการดำรงชีพ และสามารถปลดภาระหนี้ได้เร็วขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

1. สินเชื่อแบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งสินเชื่อบ้าน (พร้อมขอกู้เพิ่ม) และสินเชื่อบ้านแลกเงิน (พร้อมขอกู้เพิ่ม) อัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ 3.50% ต่อปี 3 ปีแรก หลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา (อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา 4.49% ต่อปี โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 1 ล้านบาท อายุสัญญาสูงสุด 40 ปี ผ่อนชำระ 4,700 บาท/เดือน) โดยได้รับยกเว้นค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ประกัน

 

2. สินเชื่อแบบไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6.75% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

จุดเด่นโครงการ 
-สามารถร่วมใช้บริการทางการเงินกับสหกรณ์ที่ข้าราชการเป็นสมาชิก (Co-Exist) โดยที่ให้มีเงินเหลือใช้เพื่อดำรงชีพไม่น้อยกว่า 30% และยังสามารถหมดหนี้ได้หลังเกษียณ


-อัตราดอกเบี้ยต่ำ “คงที่” ตลอดอายุสัญญา ไม่ผันผวนไปตามทิศทางของดอกเบี้ย วางแผนการบริหารหนี้ระยะยาวและสภาพคล่องได้ดียิ่งขึ้น


– ขยายระยะเวลาคืนหนี้ และอายุผู้กู้ ให้สามารถชำระได้สูงสุดถึงอายุ 80 ปี จากเดิมกำหนดอายุถึง 60 ปี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับข้าราชการ


– สร้างวินัยการเงิน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน ในระหว่างเข้าร่วมมาตรการฯ ลูกหนี้จะเข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์ไม่ก่อหนี้เพิ่มโดยธนาคารร่วมมือกับเครดิตบูโร ซึ่งได้พัฒนาเครื่องมือในการแจ้งเตือน หากลูกหนี้มีการก่อหนี้เพิ่ม และร่วมมือกับสหกรณ์ในการแชร์ข้อมูลสถานะหนี้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (iLock Bureau)

– โปรแกรมตรวจสุขภาพทางการเงิน เป็นเครื่องมือตรวจสุขภาพทางการเงินออนไลน์ที่จะช่วยให้ทราบสถานะทางการเงิน เพื่อช่วยวางแผนเริ่มต้นจัดการหนี้ได้ง่าย ๆ ผ่าน https://krungthai.com/link/รวมหนี้ยั่งยืน


"เบื้องต้น ธนาคารได้เตรียมวงเงินสำหรับโครงการนี้ไว้แล้ว 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะช่วยเหลือข้าราชการได้ประมาณ 50,000 คน และพร้อมขยายวงเงินตามความจำเป็น อีกทั้งปัจจุบันธนาคารยังมีวงเงินสนับสนุนสหกรณ์ทั้งระบบอยู่ถึงเกือบ 140,000 ล้านบาท" นายพยง กล่าว

 

 


 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.