ปตท. ชี้ เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอนสำคัญ ช่วยคุมอุณหภูมิโลก
ฐานเศรษฐกิจ จัดงานสัมมนา “ROAD TO NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจ” ณ รอยัล พารากอนฮอลล์ ชั้น 5 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบถึงมาตรการต่างๆ และเกิดการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ในช่วง Keynote Speaker : CARBON CAPTURE to NET ZERO คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
โลกเราเปลี่ยนไปในทางที่น่ากังวลมากขึ้น ทั้งอุณหภูมิในยุโรป ปริมาณฝนที่ตกหนักในจีน ปะการังฟอกขาว และไฟป่าจากภัยแล้ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก่อให้เกิดคาร์บอนที่มากกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม หลายคนคิดว่าการเปลี่ยนจากรถสันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะมีส่วนช่วยทำให้สภาพอากาศดีขึ้น แต่แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดูตัวอย่างได้จากในจีน เนื่องจากไฟที่ใช้ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มาจากพลังงานถ่านหิน
ขณะที่ปัจจุบัน ทั้งประเทศของเราปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 320 ล้านตันต่อปี แม้การปลูกป่าจะช่วยกักเก็บคาร์บอนได้ แต่เมื่อเทียบในอัตราส่วนแล้ว ป่า 1 ล้านไร่สามารถเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 2 ล้านตัน แล้วเราต้องปลูกป่าให้ได้ 160 ล้านไร่ เสมือนเปลี่ยนประเทศไทยครึ่งนึงให้เป็นป่า เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพึ่งพาการปลูกป่าเพียงอย่างเดียว
การควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสนับว่ามีส่วนสำคัญ เราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS หรือ เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนเอาไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น นำคาร์บอนไดออกไซด์ที่แยกออกมาได้ไปทำซีเมนต์ หรือ Nanocube
อีก 30-50 ปี พลังงานอาจเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นในอนาคต แต่จะอยู่ในรูปแบบไหนยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ แต่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านพลังงาน การใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะในไทยถือว่ามีความสำคัญมาก แต่เราจะปล่อยให้เป็นเหมือนเดิมไม่ได้ เราต้องทำให้ก๊าซธรรมชาติมีความสะอาดโดยการแยกคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเก็บ
ขณะนี้ อุปสรรคในเมืองไทยคือราคาและค่าตอบแทนในการลงทุน ต่างประเทศเขามีการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตที่เป็นกลไกบังคับจากภาครัฐ ดังนั้น การที่ไทยจะบรรลุเป้าหมาย Net -Zero ได้ นโยบายคาร์บอนเครดิตและผลตอบแทนจากการลงทุน ภาครัฐต้องมีความชัดเจน จึงจะสามารถดึงดูดการลงทุนในภาครดักจับและกักเก็บคาร์บอนได้
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.