จุลพันธ์ สั่งสรรพากรใช้ Digital transformation หนุนจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวภายหลังการมอบนโยบาบยกรมสรรพากร ว่า วันนี้(31พ.ค.2567 ) ได้มอบโจทย์การทำงานให้กับกรมสรรพากร โดยเน้นในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกการชำระภาษีให้กับประชาชน และภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนให้คนไทยเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น ซึ่งเป็นเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ
ทั้งนี้ หากย้อนไปในช่วงหลายปี 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าสัดส่วนการจัดเก็บรายได้ภาษีต่อจีดีพีตกต่ำลง โดยเป้าหมายการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรปีนี้ อยู่ที่ 2.76 ล้านล้านบาท เป็นเป้าหมายที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน กรมฯจะต้องไปวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้การจัดเก็บได้มากขึ้นเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยกรมฯต้องไปหาแนวทางขยายฐานภาษีให้มากขึ้น อย่างแรกคือ ต้องสร้างแรงจูงใจให้คนไทยเข้ามาสู่ระบบภาษีมากขึ้น เหมือนในต่างประเทศ
“เราต้องสร้างจิตสํานึกให้กับประชาชนเป็นอย่างแรกให้เขาได้เข้าใจว่ากลไกในการเสียภาษีมันจะกลับไปเกิดประโยชน์กับเค้าอย่างไร ยกตัวอย่างในต่างประเทศนะครับในต่างประเทศ ประชากรเขายินดีที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในในเขตในพื้นที่ในคอมมูนิตี้ที่มันเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าเพื่อแลกกับสวัสดิการสวัสดิภาพ สิ่งอํานวยความสะดวกที่ได้มากขึ้น ซึ่งไทยเองก็น่าจะมีกลไกลแบบนี้ เพื่อดึงเข้าสู่ระบบภาษี” นายจุลพันธ์ กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้ให้กรมฯไปหาแนวทางปรับปรุงเรื่องของระบบเทคโนโลยี เพื่อที่รองรับให้กับพี่น้องประชาชนสามารถเข้าสู่กระบวนการในการเสียภาษีได้ง่ายขึ้น ในการยื่นแบบได้ง่ายขึ้น รวมถึงการคืนภาษีที่รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างเป็น pain point พอสมควร เพราะว่ากลไกตามกฎหมายของสรรพากรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกลไกของกฎหมายและตัวเอกสารที่มันค่อนข้างเยอะกับระบบที่มันยังไม่สอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นเนี่ยตรงนี้ทางกรมก็รับดำเนินการ เพื่อที่จะทําให้มันเกิดความสะดวกกับประชาชน และภาคเอกชนรวมถึงต่างประเทศด้วย ซึ่งเค้าก็อยากจะให้กลไกในการคืนภาษีเนี่ยมันเกิดได้รวดเร็วขึ้น แต่เราก็ต้องดูให้มันถูกต้องและเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย
สำหรับ การจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษี คือ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากรว่า ยอมรับว่า อาจมีบางกรมที่อาจจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เช่น กรมสรรพสามิต เป็นผลจากการดำเนินมาตรการลดภาษีน้ำมัน แต่มันเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ซึ่งหากจะทำเรื่อยๆ ก็สามารถทำได้ แต่ยืนยันว่าไม่มีผลต่อการดำเนินการ และไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ยังสามารถบริหารจัดการได้
นอกจากนี้ ให้กรมฯไปหามาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ตามตามโจทย์ของครม.เศรษฐกิจ โดยมาตรการระยะยางในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีนี้ ยังไม่สามารถบอกได้ ส่วนระยะสั้นนั้น ก็มีแนวคิดอาจนำโครงการ easy e-receipt ช่วยเฉพาะกลุ่มออกมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างรอโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ซึ่งได้มอบหมายให้กรมฯไปหามาตรการต่างๆ เพื่อนนำมาเป็นตัวเลือกให้ผมไปนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจพิจารณาต่อไป
ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น มองว่า เป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งกลไกทางภาษีจะมีส่วนสำคัญ เพื่อที่จะกำกับธุรกิจที่มีความสอดคล้องกับแนวนโยบาย หรือมาตรการของรัฐ เช่น เรื่อง ESG เรื่องฝุ่น ควัน กลไกในการช่วยเหลือด้านสาธารสุข ผู้สูงอายุ รวมถึงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ (S-curve) อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อสร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจในระยะยาว และเพื่อให้ไทยกลับมาอยู่ในขีดความสามารถในการแข่งขันที่เหมาะสม
ส่วนความคืบหน้าของการพิจารณานำกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) นั้น ล่าสุดได้นำข้อมูลส่งกลับไปยังฝ่ายนโยบายพิจารณา โดยจะมีการประชุมเพื่อหารือแนวทางร่วมกันอีกครั้ง แต่ยังไม่มีกำหนดเวลาในขณะนี้ โดยเรื่องนี้มองว่า หากฝ่ายนโยบายตัดสินใจดำเนินการ ก็เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2-3 สัปดาห์ เพราะมีกลไกเดิมที่รองรับอยู่แล้ว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.