คลัง มั่นใจขาดดุลงบประมาณเพิ่ม 1.5 แสนล้านไม่กระทบเครดิตเรทติ้งไทย
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าการปรับปรุงกรอบการคลังระยะปานกลาง(2567-2571) โดยขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เพิ่มขึ้นอีก 152,7000 ล้านบาท จากเดิมที่มีการขาดดุล 713,000 ล้านบาท รวมเป็นการขาดดุลงบประมาณ 865,700 ล้านบาท เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางการคลัง และกระทบความเสี่ยงต่อการปรับอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)ของไทย เนื่องจากฐานะการคลังของไทยยังคงแข็งแกร่ง โดยต้นปี 2567 มีเงินคงคลังสูงถึง 5-6 แสนล้านบาท
“ฐานะการคลังเราไม่มีปัญหา ดูจากทุนสำรองระหว่างประเทศมีกว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐญ เช่นเดียวกับฐานะคงคลัง ต้นปี 2567 มีสูงถึง 5-6 แสนล้านบาท อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับจัดการได้ ดังนั้นเรื่องฐานะของประเทศถือว่าเข้มแข็งมาก ไม่น่าเป็นห่วง ขณะที่ระดับหนี้สาธารณะรวมแล้วขาดดุลเพิ่มเติมอยู่ที่ 66% ต่อจีดีพี ไม่เกินกรอบเพดานที่ 70 ต่อจีดีพี และต่อไปเชื่อว่าระดับหนี้จะปรับลดลงเรื่อยๆ” นายกฤษฎา กล่าว
ส่วนประเด็นที่กังวลว่า การการขาดดุลเพิ่มขึ้น จะทำให้งบประมาณกลับเข้าสู่จุดสมดุลห่างออกไปมากขึ้นนั้น นายกฤษฎากล่าวว่า กระทรวงการคลังมีมาตรการที่ทำให้งบประมาณกลับเข้าสู่จุดสมดุลอยู่แล้ว ขณะที่นายกรัฐมนตรี ก็ได้ให้นโยบายชัดเจนว่า ต้องปรับลดรายจ่ายประจำลง ขณะที่มาตารการเพิ่มรายได้ขณะนี้ สศค.ก็มีแผนปฎิรูปรายได้เพิ่มขึ้น หากดูจากประมาณการตามเอกสารงบประมาณ พบว่าเติบโตอยู่ในวิสัยจัดการได้
“ตอนนี้มีเรื่องของปฎิรูปรายได้เพิ่ม และลดรายจ่าย ในอนาคตมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็มีลดลง เช่น ปกติเรามีรายจ่ายจากสมทบเงินให้กับเงินสำรองให้กบข.ปีละ 5 หมื่นล้านบาท แต่ตอนนี้จ่ายเต็มแล้ว ไม่ต้องจ่ายแล้ว ซึ่งการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้เป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กันไป ไม่มีอะไรน่ากังวล” นายกฤฎากล่าว
ส่วนกรณที่ทีดีอาร์ไอ เสนอให้ ที่รัฐบาลปรับเพิ่มภาษี VAT จากปัจจุบันอยู่ที่ 7% เป็น 10% เพิ่มหารายได้ใหม่ให้กับรัฐบาลนั้น เข้าใจว่า ทุกรัฐบาลมีความตั้งใจในแนวคิดนี้ แต่ต้องดูภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งหลายปัจจัยประกอบด้วย รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างภาษีไม่ว่าตัวไหนก็ต้องค่อยๆทำไป ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ และช่วงเวลาที่เหมาะสมเป็นสำคัญ
เช่นเดียวกับ นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า งบประมาณที่สมดุลยังเป็นเป้าหมายที่กระทรวงการคลังอยากเห็นอยู่ แต่ยอมรับว่า เวลาอาจต้องขยับออกไป ส่วนบริษัทจัดอันดับเครดิตจะประเมินจาก 2 ทาง คือ ไทยจะเอาเงินที่ได้จากการขาดดุลไปทำอะไร เกิดประโยชย์อย่างไร และเขาจะดูว่าไทยมีแผนที่การคืนเงินชัดเจนที่เพิ่มขึ้นอย่างไร ซึ่งถ้าไทยคำตอบที่ชัดเจน เชื่อว่าไม่น่าจะมีผลกระทบอะไร หากดูจากภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้มองว่า มองว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 2% นั้น ต่ำเกินไป การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ การกระตุ้นกำลังซื้อเป็นเรื่องจำเป็น เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนก็สำผัสได้แล้วว่าเศรษฐกิจมันไม่ดีอย่างไร
"ส่วนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 66% ต่อจีดีพี มองว่ายังอยู่ในระดับที่จัดการได้ แต่ก็ต้องติดตามดูในวันที่ 10 ทีเดียว ว่าสุดท้ายแผนการหาเงินในโครงการดิจิทัล วอลเล็ตจะเป็นอย่างไร ใครมีคำถามหรือข้อสงสัยอะไร อยากให้ถามนั้นวันนั้นให้หมด ซึ่งรัฐบาลหรือกระทรวงคลังจะได้ตอบให้จบให้สิ้นข้อสงสัยในทุกเรื่องในครั้งเดียว"นายลวรณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ไม่ได้ดูเพียงระยะสั้น หรือระยะยาวเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูว่าการกระตุ้นระยะสั้นเป็นเรื่องที่เร่งด่วนที่ต้องทำก่อนหรือไม่ในขณะนี้ เช่นเดียวกับการทำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ กระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านไป 3 เดือนภาพเศรษฐกิจวันนี้ถึงวันนี้ก็ต่างกันมาก จำเป็นต้องต้องได้รับการกระตุ้น
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 10 เม.ย.นี้ มองว่า การดำเนินนโยบายการเงินหรือการคลัง การส่งสัญญาณที่ถูกต้องให้กับสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งเหตุผลที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นเพราะอะไร มันสูงเกินจริงหรือไม่ เป็นสิ่งที่แบงก์ชาติต้องตอบสังคมให้ได้
“การส่งสัญญาณเศรษฐกิจที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่จำเป็น และควรส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินการคลังควรที่จะทำงานสอดประสานกัน เพื่อช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจ”นายลวรณ กล่าว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.