เปิดวิสัยทัศน์ผู้ว่าฯกฟผ.คนใหม่ "เทพรัตน์ เทพพิทักษ์"
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยวิสัยทัศน์การและนโยบายขององค์กรอย่างเป็นทางการ หลังรับตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16 ว่า ระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน ในฐานะผู้ว่าการ กฟผ. พร้อมเร่งเดินหน้า 5 ภารกิจสำคัญ ได้แก่ 1. รักษาความมั่นคงทางด้านไฟฟ้า 2. เพิ่มความสามารถแข่งขันทางด้านราคา 3. รักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม 4. ตอบสนองความต้องการของรัฐ 5. นำส่งรายได้ให้กับรัฐ
ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาราคาค่าไฟฟ้า ยืนยันว่า จะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เช่น ก๊าซ ลิกไนท์ ถ่านหิน มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก้ปัญหาราคาพลังงานแพง พร้อมสนับสนุนการรื้อโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้า ตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งจะสนับสนุนการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับแนวทางการจัดการค่าไฟงวดใหม่ เดือน พ.ค. ถึง ส.ค. 2567 โดย 3 แนวทางสูงสุด 5 บาท 43 สตางค์ ต่ำสุดคงเดิมที่ 4 บาท 18 สตางค์ต่อหน่วย นั้น ขณะนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นแนวทางการคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปร(เอฟที) สำหรับงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.2567 ใน 3 กรณีผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ซึ่ง กฟผ. ได้นำเสนอแนวทางการคงค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ในอัตราปัจจุบันที่ 4.1805 บาทต่อหน่วย โดยแบ่งการจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างให้ กฟผ. 99,689 ล้านบาท ออกเป็น 7 งวด เป็นแนวทางที่ กฟผ. รับได้ แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับ กกพ. จะสรุปก่อนประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
ขณะที่การบริหารจัดการค่าไฟฟ้าในระยะยาว กฟผ. จะสนับสนุนให้ใช้พลังงานธรรมชาติของประเทศ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน รวมถึงพลังงานสีเขียว อาทิ การซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนได้ใช้ค่าไฟฟ้าในราคาที่ถูกที่สุด อีกทั้งจะสนับสนุนการรื้อโครงสร้างราคาค่าไฟ ตามนโยบายรัฐบาล นอกจากมองว่า น่าจะมีการปรับค่าเอฟที 1 ครั้งต่อปี จากเดิม 3 ครั้งต่อปี จะส่งผลดีต่อภาคอุตสหากรรมในการคำนวณต้นทุนภาคการผลิต รวมทั้งมีผลต่อความเชื่อมั่นลงทุนภาคเอกชน
“ค่าไฟฟ้าเป็นต้นทุนของทุกอุตสาหกรรม ไม่ควรปรับไปปรับมาบ่อยๆ เพื่อให้การคิดต้นทุนสินค้าของธุรกิจมีความแน่นอน เพราะถ้าค่าไฟแพงบ้างถูกบ้างจะคำนวณยาก ธุรกิจก็ต้องคิดค่าไฟแพงเป็นต้นทุนไว้ก่อน สุดท้ายต้นทุนนี้ก็จะถูกบวกอยู่ในราคาสินค้าส่งต่อมายังผู้บริโภค"นายเทพรัตน์ กล่าว
ดังนั้นอะไรที่ไม่แน่นอน คือ ความแพง และเมื่อราคาสินค้าปรับขึ้นแล้วก็จะลงยาก ดังนั้นข้อเสนอของ กฟผ. จึงอยากให้ค่าไฟนิ่ง ต่ำ นาน ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย หรือเปลี่ยนแปลงไม่เกินปีละ 1 ครั้งก็ถือว่าเหมาะสม ไม่ใช่ต้องมาลุ้นกันทุกงวด แต่สุดท้ายคนที่ต้องนำไปพิจารณา คือ กกพ. เพื่อประกาศให้ฝ่ายปฏิบัติดำเนินการ
สำหรับสภาพคล่องของ กฟผ.ในขณะนี้ถือว่าดีขึ้น หลังจากภาครัฐล็อกค่าก๊าซธรรมชาติเมื่อช่วงปลายปี 2566 โดยให้บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) รับภาระส่วนต่างต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ประกอบกับปัจจุบันต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติในช่วงนี้ลดลง
โดยแบ่งการจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง 99,689 ล้านบาท จะหมดภายในประมาณ 7 งวด แบ่งเป็นงวดละ 14,000 ล้านบาท คิดเป็น 20 บาท 51 สตางค์ต่อหน่วย โดยแนวทางนี้ จะทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับเดือน พ.ค. ถึง ส.ค. 2567 คงอยู่ในอัตราปัจจุบัน 4.18 สตางค์ต่อหน่วย
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.