ส่งออกไทย ม.ค.67 ขยายตัวพุ่ง 10% สูงสุดในรอบ 18 เดือน
นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนมกราคม 2567 เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2567 มีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 784,580 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 10.0% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัยขยายตัว 9.2% การส่งออกของไทยยังขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ตามทิศทางการค้าโลก
ที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ประกอบกับปัจจัยมูลค่าฐานการส่งออกต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อีกทั้งมีแรงหนุนจากการส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบตามการฟื้นตัวของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ยังคงขยายตัวสูง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความไม่แน่นอนจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคทางการค้าในระยะต่อไป
สำหรับ มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 10.0% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 25,407.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.6% ดุลการค้า ขาดดุล 2,757.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมกราคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 784,580 ล้านบาท ขยายตัว 10.2% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 890,687 ล้านบาท ขยายตัว 2.8% ดุลการค้า ขาดดุล 106,107 ล้านบาท
“นับจาก มิ.ย.65 ที่สูงสุด รวมแล้ว คือสูงสุดในรอบ 18 เดือน หรือ 1 ปีครึ่ง ส่วนทิศทางไตรมาสแรกปีนี้ ไม่ง่ายแต่เราพยามทำเต็มที่ที่สุด ซึ่งมองว่ายังบวกอยู่ ถ้าไม่มีปัจจัยอะไรเข้ามาเพิ่มเติมมากไปกว่านี้ โดยเฉพาะเหตุการณ์สู้รบไม่ได้ขยายรุนแรง จะบวกมากน้อยขึ้นอยู่กับโมเมนตัม แต่ถ้าดูจากหลายประเทศช่วงไตรมาสปีที่แล้ว เราบวกอยู่ประเทศเดียว ตอนนี้เจาเพิ่งเริ่มทยอยเขียวหรือกลับมาเป็นบวก”
สำหรับ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 9.2% พลิกกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าเกษตร ขยายตัว 14.0% กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 3.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัว 45.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 10.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ซึ่งมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
การส่งออกไปตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว ตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลก และสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ ตลาดหลักขยายตัว 10.5% โดยขยายตัวในทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐฯ 13.7% จีน 2.1% ญี่ปุ่น 1.0% สหภาพยุโรป (27) 4.5% อาเซียน (5) 18.1% และ CLMV 16.6%
ส่วน แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 การส่งออกไทยยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าตามภาวะเงินเฟ้อโลกที่เริ่มชะลอตัว การได้รับอานิสงส์จากมาตรการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารของหลายประเทศ และจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่มีความเข้มแข็ง ขณะที่ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางยังไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อไทยมากนัก
“คาดว่าปีนี้ การส่งออกอาจขยายตัวบวกเฉลี่ยระหว่าง 24,069 -24,328 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเป้าที่ตั้งทั้งปี 1-2%”
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคการขนส่งที่เกิดจากความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลในทางอ้อมทำให้อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น และอาจทำให้เศรษฐกิจคู่ค้ามีความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะยังมีความผันผวน จากทิศทางการปรับเปลี่ยนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีการติดตามประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการทำงานในการผลักดันการเติบโตของมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2567 ที่ 1 – 2% ต่อไป
"ค่าระวางเรือที่กลับมาลดลง เกิดจากในช่วงนั้นจีนเร่งส่งออกก่อนปิดเทศกาลตรุษจีนในช่วงต้นก.พ.67 ดังนั้นเดือนม.ค.67 ทุกคนมีความต้องการตู้ส่งสินค้าสูงกว่าปริมาณตู้ที่มี ประกอบกับติดขัดในเรื่องทะเลแดง ทำให้ความต้องพุ่งขึ้น 5-6 เท่าตัว แต่ตอนนี้สถานการณ์เริ่มผ่อนคลายกลับเข้าสู่ที่ควรเป็น ทำให้ค่าระวางเรือค่อยๆลดลงมา แต่ภาพรวมตอนนี้ยังสูงกว่าช่วงกว่าช่วงก่อนเกิดความขัดแย้งทะเลแดง"
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.