ตลท. สั่ง CMO แจงภายใน 27 ก.พ.นี้ หลังผล Special Audit พบพิรุธค่าใช้จ่าย
ตลาดหลักทรัพ์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขอให้ บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO ชี้แจงแนวทางการปรับปรุงระบบควบคุมภายใน กรณีผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) ตามคำสั่งการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สรุปได้ว่าบริษัทมีการจ่ายเงินค่าที่ปรึกษาที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการปฏิบัติงานร่วมกันกับบริษัท และมีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของบริษัท มูลค่าความเสียหายรวม 25.55 ล้านบาท
โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารของบริษัทและบริษัทที่ปรึกษา อาจสื่อถึงความไม่รัดกุมในการบริหารจัดการอันเป็นเหตุให้บริษัทเกิดความเสียหายทางการเงินได้ รวมถึงอาจสื่อได้ว่าอดีตผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มบริษัท
ทั้งนี้ ให้ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 27 ก.พ.2567 และขอให้ผู้ลงทุนศึกษารายงานตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษและติดตามคำชี้แจงของบริษัท
สำหรับข้อมูลสรุปผลรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit) 2 เรื่อง ได้แก่ 1.การจัดจ้างและจ่ายเงินให้กับบริษัทที่ปรึกษาโดยที่ไม่ได้รับบริการจริง มูลค่าความเสียหาย 19.8 ล้านบาท
โดยผลการตรวจสอบ พบว่า การคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาอาจมิได้มีความชัดเจนรัดกุมเพียงพอคณะกรรมการบริหารว่าจ้างและคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา 4 ราย โดยไม่มีการพิจารณาเปรียบเทียบที่ปรึกษาที่บริษัทจัดจ้างกับคู่ค้ารายอื่น
ขณะที่บริษัทไม่มีหลักฐานอื่นเพิ่มเติมจากรายงานของบริษัทที่ปรึกษา 3 ราย (จากจำนวน 4 รายดังกล่าวข้างต้น) ที่สามารถใช้อ้างอิงหรือพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน ว่ามีการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างบริษัทและบริษัทที่ปรึกษา
นอกจากนี้ พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารของบริษัท (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และอดีตผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) กับบริษัทที่ปรึกษาอาจสื่อถึงความไม่รัดกุมในการบริหารจัดการ อันเป็นเหตุให้บริษัทเกิดความเสียหายทางการเงินได้
2.ค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มบริษัท มูลค่าความเสียหาย 5.75 ล้านบาท โดยผลตรวจสอบ พบว่า กลุ่มบริษัทไม่ได้รับบริการจากคู่ค้า แต่ได้มีการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปจากกลุ่มบริษัทผ่านการจัดจ้างแบบไม่มีสัญญาและการเบิกเงินทดรองจ่ายของพนักงาน
ขณะเดียวกัน บริษัทและบุคคลผู้รับจ้างมีความเกี่ยวข้องกับอดีตผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งอาจสื่อได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสมเหล่านี้
โดยกลุ่มบริษัทยังมีจุดอ่อนในระบบการควบคุมภายในที่ควรพิจารณาปรับปรุง ประกอบด้วย
1) ขาดกระบวนการที่ชัดเจนและรัดกุมเพียงพอในการคัดเลือกผู้ค้า ผู้ให้บริการและบริษัทที่ปรึกษา
2) ขาดกระบวนการในการติดตามผลการปฏิบัติงานของคู่ค้า ผู้ให้บริการและบริษัทที่ปรึกษา
3) ขาดกระบวนการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัท และการตัดสินใจร่วมโดยคณะกรรมการบริหารของบริษัท
ประเด็นที่ขอให้บริษัทชี้แจง ได้แก่ แนวทางปรับปรุงระบบความคุมภายใน กำหนดเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบต่อแนวทางการปรับปรุงระบบควบคุมภายในดังกล่าว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.