รัฐบาลปล่อยเอกสารคลัง คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 66 โตต่ำแค่ 1.8%

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่เอกสารการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 และ ปี 2567 ของกระทรวงการคลัง โดยระบุว่า สรุปแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยในปี 2566 เติบโตเพียง 1.8% เทียบกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์เอาไว้เมื่อต้นปี 2566 ว่าจะเติบโตถึง 3.6% ถือเป็นการเติบโตที่ถดถอยลงกว่าปี 2565 ที่เติบโต 2.6% 

 

ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวประทับตราเอกสารลับ และมีกำหนดที่จะแจกเป็นเอกสารแถลงข่าวกับสื่อมวลชนในวันที่ 24 ม.ค.โดยมีเนื้อหาระบุถึง ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567

 

"เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 2.8 ต่อปีในปี 2567 จากภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูง และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด"
 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มาจากภาคการท่องเที่ยวมีการขยายตัวสูง และการบริโภค

 

สำหรับในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 ถึง 3.3 ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปี 2566 และเป็นการขยายตัวที่มาจากทุกเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูง ในภาคการท่องเที่ยวคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 33.5 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและมาเลเซีย มีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 ต่อปี 

 

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า "เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 (ช่วงคาดการณ์ที่ ร้อยละ 1.6 ถึง 2.0) ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายร้อยละ 2.6

 

โดยมีปัจจัยสำคัญจากการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์ และคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้า ทั้งปี 2566 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 1.5 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.8 ถึง -1.3) ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจะหดตัวที่ร้อยละ -1.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -2.2 ถึง -1.7)

 

ส่งผลดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คาดว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวลงเล็กน้อย ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้า
จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3. 7 ถึง 4.7) และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5)
 

สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.8 ถึง 3.8) ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆในประเทศ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.7 ถึง 3.7) ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ0.5 ถึง 1.5) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดี ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะกลับมาเกินดุล 10.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP
 

โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพในระยะยาวนั้น ควรให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ดังนี้ 

1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Development)เช่น การพัฒนาการใช้พลังานที่ยั่งยืน การลงทุนในด้านดิจิทัล และการพัฒนาด้านคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคได้

2)การพัฒนาทักษะ (Skills Development) การเตรียมแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจโลกมีความสำคัญและจะส่งเสริมความสำเร็จใน ระยะยาวได้ดี

3) การรักษาเสถียรภาพทางการคลัง (Fiscal Stability) มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะอย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคตได้
 

นอกจากนั้น ยังควรติดตามปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1) ความขัดแย้ง ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป เช่น การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ สถานการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่
อาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานให้ปรับตัวสูงขึ้น และความยืดเยื้อของสงครามระหว่างรัสเชียและยูเครน

2) สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นำของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศรัสเชีย และประเทศ อินเดีย เป็นต้น ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศของไทย 

3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการ ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

4) สถานการณ์เศรษฐกิจของจีน ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของ ภาคการท่องเที่ยวของไทย

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.