ดีเดย์เลือกเลขาธิการกสทช.17 ม.ค.67 ลุ้น “ไตรรัตน์” จบที่ศาล หรือ ได้ไปต่อ
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (บอร์ดกสทช.) กล่าวว่า ในการประชุมกสทช.ครั้งที่ 1/2567 เป็นการประชุมนอกสถานที่ ณ จ.เชียงราย โดยบอร์ด 3 คน เดินทางไปประชุมที่เชียงราย ประกอบด้วย ประธานกสทช.,พลตำรวจเอก ณัฐธร เพราะสุนทร และ นายต่อพงศ์ เสลานนท์ ส่วนบอร์ดที่เหลืออีก 4 คน คือ ,พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ,นางสาวพิรงรอง รามสูต,นายศุภัช ศุภชลาศัย และนายสมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ ประชุมผ่านออนไลน์
สำหรับการประชุมดังกล่าวมีการถ่ายทอดเสียงตามสายที่สำนักงานกสทช.ด้วย โดยเริ่มประชุมเวลา 09.00 – 13.28 น. มีการพิจารณาวาระการประชุมไปทั้งสิ้น 120 วาระ แบ่งเป็น เรื่องเพื่อทราบ 30 วาระ,เรื่องค้างพิจารณา 35 วาระ,เรื่องพิจารณา 51 วาระ และ เรื่องอื่นๆ 4 วาระ ขณะที่มีการรับรองรายงานการประชุม 2 ครั้ง
ทั้งนี้ในช่วงการปิดประชุมประธานกสทช.ได้มีการนัดประชุมวาระพิเศษในวันที่ 17 ม.ค. 2567 เพื่อพิจาณาวาระสรรหาเลขาธิการกสทช.ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมรับรู้โดยทั่วกันว่า คือ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการกสทช.และรักษาการเลขาธิการกสทช.ที่ยืดเยื้อมานานข้ามปี และยังมีคดีที่นายไตรรัตน์ ฟ้อง 4 กสทช.เสียงข้างมาก คือ พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ,นางสาวพิรงรอง รามสูต,นายศุภัช ศุภชลาศัย และนายสมภพ ภูริวิกรัยพงศ์
รวมถึง นายภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 172 กรณีตั้งอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายและและดำเนินการให้มีการเปลี่ยนรักษาการแทนเลขาธิการ ข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ละดำเนินการให้มีการเปลี่ยนรักษาการแทนเลขาธิการ โดยศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับคำฟ้อง และนัดไต่สวนมูลฟ้อง 7 ก.พ.2567
ประธานกสทช.กล่าวว่า การตัดสินใจนัดประชุมวาระพิเศษเพื่อเลือกเลขาธิการกสทช.ในครั้งนี้ เพื่อต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า ตนเองไม่ได้มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ในการสรรหาเลขา หรือ เป็นการสรรหาไม่เป็นธรรม ดังนั้นจึงต้องการให้ได้ข้อสรุป จะได้ไม่ถูกสังคมตั้งคำถามในเรื่องดังกล่าว
แม้ว่าความเป็นไปได้ของการสรรหาในการประชุมวันที่ 17 ม.ค. 2567 ซึ่งเป็นการประชุมก่อนศาลไต่สวน เชื่อว่าสุดท้ายต้องรอศาลตัดสิน เพราะหากเมื่อถึงการโหวตหากบอร์ดเสียงข้างมากต้องการโหวต ก็สามารถทำได้ แต่หากโหวตแล้วนายไตรรัตน์ ไม่ผ่าน ก็ขึ้นอยู่กับนายไตรรัตน์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ เพราะเห็นว่าเป็นคู่กรณีที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ก็จะทำให้ไม่สามารถเลือกได้ ต้องรอการตัดสินของศาล
หรือ หากนายไตรรัตน์ คัดค้านตั้งแต่ครั้งแรกโดยไม่ให้บอร์ดทั้ง 4 คนโหวต การโหวตก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะบอร์ดทั้ง 4 ท่านก็มีสิทธิ์อ้างเรื่องคดีที่ค้างอยู่ที่ศาลได้
วาระสรรหาเลขาธิการกสทช.อยู่ในวาระการประชุมทุกครั้ง ดังนั้นควรนำมาพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อสรุป จะได้ หรือ ไม่ได้ ผมไม่กังวล หากไม่ได้ เราก็สรรหาใหม่ หากต้องอยู่ที่ศาล ก็เป็นหน้าที่ของศาล เพื่อให้วาระนี้ได้ออกไปจากการประชุม และแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า ผมไม่ได้จ้องลักไก่นำวาระมาพิจารณาโดยรออีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่างประชุม แต่อย่างใด
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.