ลิสซิ่งพ้อหลังเพดานดอกเบี้ย23%กดสเปรดหด10%ต้องชะลอผ่อนมอเตอร์ไซค์

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ด้วยกำหนดเพดานดอกเบี้ยจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 30% ลดลงมาเหลือไม่เกิน 23% ต่อปีสำหรับรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 23% ตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลให้ผู้ประกบอการมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (สเปรด) ลดลงราว 10% โดยเฉลี่ย อีกทั้งเมื่อรวมกับต้นทุนทางการเงินที่ 5-7% และต้นทุนในการดำเนิสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยนงานที่ราว 8% จึงส่งผลให้มีตัวเลขกำไรอยู่ที่ประมาณ 8% 

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ด้วยกำหนดเพดานดอกเบี้ยจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 30% ลดลงมาเหลือไม่เกิน 23% ต่อปีสำหรับรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 23% ตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลให้ผู้ประกบอการมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (สเปรด) ลดลงราว 10% โดยเฉลี่ย อีกทั้งเมื่อรวมกับต้นทุนทางการเงินที่ 5-7% และต้นทุนในการดำเนิสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยนงานที่ราว 8% จึงส่งผลให้มีตัวเลขกำไรอยู่ที่ประมาณ 1-2% 

ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว ล่าสุดรายงานข่าวจากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยระบุว่าจึงจำเป็นต้องมีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงต่างชะลอการปล่อยสินเชื่อลง จนยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ลดลง 10-15% จากปกติที่เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 8 หมื่นล้านบาท พื่อลดความเสี่ยงที่จะมีภาระหนี้เสียในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีตัวเลข NPL เฉลี่ยอยูที่ 5-7% ของยอดลิสซิ่งจักรยานยนต์รวม อย่างไรก็ตามคาดว่าตัวเลข NPL น่าจะต่ำลงจากที่บริษัทลิสซิ่งจักรยานยนต์ชะลอการอนุมัติสินเชื่อลง

"จริง ๆ ตัวเลขเพดานดอกเบี้ยที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ 26-28% ตามที่ทางแบงก์ชาติเคยเสนอ ซึ่งตอนนี้เมื่อหักต้นทุนการเงินและต้นทุนดำเนินธุรกิจแล้วเราเหลือกำไรบางมากเพียง 1-2% เท่านั้น หากปล่อยกู้ไม่ระวังแล้วหนี้เสียสูงจะยิ่งแย่กว่านี้" ตัวแทนจากสมาคมฯ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 ปีที่เริ่มใช้เกณฑ์เพดานดอกเบี้ยใหม่นั้น พบว่าสถานการณ์ที่ตัวเลขปล่อยสินเชื่อผ่อนมอเตอร์ไซค์ของบรรดาผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ฯ ลดลงสวนทางกับยอดขายรถที่เติบโตขึ้น 5% ก็เป็นอีกปัจจัยที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากตัวเลขปล่อยสินเชื่่อลิสซิ่งมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันหายไปถึง 16% เมื่อเทียบกับยอดขายรถที่ 1.8 ล้านคัน 

ทั้งนี้โดยเฉลี่ยในภาวะปกติจะต้องมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ราว 8 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อตรวจสอบจากสมาชิกของสมาคมฯ แล้วพบว่าแทบทั้งหมดต่างอนุมัติเงินกู้ใหม่ลดลง แต่ไม่สามารถระบุหรือหาที่มาของแหล่งเงินได้ว่าใครเป็นผู้ให้กู้ในส่วนต่างที่หายไป 16% ได้ ทั้งนี้อาจมีความเป็นไปได้ทั้งการที่่ลูกค้าไปเลือกขอสินเชื่อจากแหล่งอื่น เช่น Digital Lending หรืออาจจะเป็นช่องทางหนี้นอกระบบ ก็ตาม

นอกจากนี้ทางสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทยยังเปิดเผยความคืบหน้าของการผลักดันเพื่อเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าขณะนี้ยังอยู่ระหว่างส่งร่าง พ.ร.ฎ ให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแต่ยังไม่มีผลที่ชัดเจนออกมา แต่คาดว่าจะเริ่มเห็นภายในไตรมาส 2 ของปี 2567 ซึ่งทางสมาคมฯ มองว่าหากได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธปท. ก็จะทำให้การดำเนินธุรกิจและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของผู้ประกอบการธุรกิจเช่าซื้อเป็นมาตรฐานเดียวกับ และจะได้ยังเป็นการสร้างแนวทางการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบด้วย

"ในปีหน้าเรื่องที่สำคัญสุด คือความชัดเจนในการเข้าไปอยู่ใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ หวังว่าเร็วสุดน่าจะเกิดขึ้นภายในไตรมาสสองของปีหน้าแต่ก็อาจะลากยาวไปถึงไตรมาส 3 ได้ ซึ่งถ้ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงคงต้องเข้มงวดเรื่องการอนุมัติสนเชื่อแบบนี้ไปก่อน" หนึ่งในตัวแทนของสมาคมฯ เปิดเผย

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.