คลัง ชี้หนี้ครัวเรือนสูง-การลงทุนรัฐต่ำ ฉุดเศรษฐกิจไทยโตไม่เต็มศักยภาพ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.กระทรวงการคลัง กล่าวในงาน เสวนา “ปากท้องคนไทยจะเป็นอย่างไรในปี 2567” รดน้ำที่ราก เพื่อให้ต้นไม้งอกงามทั้งต้น ซึ่งจัดโดย สถานีข่าว Top news ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ว่า ทิศทางของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ต้องจับตาปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อเศรษฐกิจ เริ่มจากเศรษฐกิจโลก ที่ทุกท่านคงจะทราบดีว่า ไอเอ็มเอฟ คาดว่า เศรษฐกิจโลกจากการทำนายปี 2566 จะเติบโตที่ 3% แต่ปี 2567 มีแนวโน้มว่าจะโตลดลงเหลือ 2.9% ต่อปี
ขณะที่หลายประเทศคู่ค้า อเมริกา จีน และญี่ปุ่นทีการเติบโตชะลอลง ประกอบค่าเงินบาททรงตัว เฉลี่ยอยู่35-36 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ เป็นสัญญาณว่า มูลค่าการค้าของไทยจะอยู่ในระดับที่ทรงตัว การที่เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจะมีผลทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวช้าลงไปด้วย ซึ่งปัจจุบันภาคการท่องเที่ยวของไทยก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวเหมือนช่วงก่อนโควิด ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 40 ล้านคน แต่ในปีนี้ คาดว่าจะได้ 27 ล้านคน หรือไม่เกิน 28 ล้านคน คาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่เราจะเริ่มฟื้นตัวใกล้เคียงก่อนโควิด ซึ่งปี 2567 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวน่าจะได้ 34 ล้านคน
หากมาดูมุมมองในประเทศ ถือว่าเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในระดับที่ดี เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มประเทศในอาเซียน หากยังจำกันได้ปี 2565 เศรษฐกิจเผชิญเรื่องปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาพลังงาน ราคาสินค้าอาหาร ปรับตัวสูงขึ้น ทำเห้กิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งเงินเฟ้อไทยก็ปรับขึ้นสูงสุดในภูมิภาค ในช่วงกลางปี 2565 แต่อัตราเงินเฟ้อได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ในกรอบของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 7 เดือน การที่เงินเฟ้อกลับมสู่ภาวะปกติได้เร็วทำให้การจัดการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังก็ทำให้ง่ายขึ้นเทียบกัประเทศอื่นๆที่มีปัญหาเงินเฟ้อสูงอยู่
สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2567 คาดว่า จะอยู่ที่ 1.5%ต่อปี ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 80-90 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ใกล้เครียงกับปี 2566
“คิดว่ายังเป็นสัญญาณที่ดี จะทำให้แรงกดดันของราคาเงินเฟ้อลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตามต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอย่างใกล้ชิด ที่จะส่งผลต่อเงินเฟ้อด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านภูมิอากาศ และภัยพิบัติ เพราะจะมีผลต่ออุปทาน และราคาสินค้าเกษตร และเงินเฟ้อจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ” นายกฤษฎา กล่าว
สำหรับเสียรภาพด้านการคลัง ไม่ต้องเป็นห่วง เงินกองทุนต่อระบบสินทรัพย์เสี่ยงสถาบันการเงินของไทยอยู่ในฐานะแข็งแกร่งมาก โดย ณ สิ้นไตรมาส/2566 อยู่ที่ 19.9% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ธปท.กำหนดไว้ที่ 8.5%
ส่วนระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ของไทยอยู่ 6.2% ยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง 70% ซึ่งประกอบอยู่ด้วยหลายส่วน อาทิ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยหนี้กองทุนฟื้นฟู ตั้งแต่สมัยวิกฤตปี 2540 แฝงอยู่ด้วย ซึ่งหนี้ก้อนดังกล่าวไม่ได้เงินจากงบประมาณไปใช้คืน แต่เป็นเงินจากค่าธรรมเนียมเงินฝากที่ธปท.ได้จัดเก็บกองทุนฟื้นฟูเพื่อมาชำระหนี้ และหนี้รัฐวิสาหกิจ ปตท.เป็นต้น แต่เป็นหนี้สาธารณะที่เขาสามารถชำระเองไม่ได้เป็นภาระของรัฐบาล ดังนั้นไม่น่าเป็นห่วง
เช่นเดียวกับ เสถียรภาพด้านการคลัง ก็ยังแข็งแกร่ง โดย สิ้น ก.ย.2566 มีกว่า 5 แสนล้านบาท เงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ดุลบัญชีเงินสะพัดก็ยังเกินดุล
สำหรับ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะโตได้กว่า 3%ต่อปี ซึ่งยังไม่ได้รวมถึงมาตรการต่างๆของภารัฐ จะออกมาช่วงปลายปี หรือต้นปีหน้า โดยหลายมาตรการยังต้องรอดูถึงรูปแบบ และประสิทธิภาพของวิธีการ และประสิทธิภาพก่อน ว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ยังดูเครื่องจักรตัวอื่นๆที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย ไม่ว่าเป็นเรื่องการใช้จ่ายวของภาครัฐจากงบประมาณปี 2567 ที่ออกมาล่าช้า คาดว่าจะได้ออกมาใช้จ่ายได้ประมาณปลายเม.ย.หรือพ.ค.2567
ภาพเศรษฐกิจไทยที่เล่ามาให้เห็น ยังไม่น่าตื่นเต้นมานัก ยังอยู่ในระดับทรง ถามว่าทำไมเป็นเช่นนั้น แม้เรามีพื้นฐานดีก็ตาม ขณะที่การจัดอันดับความสามารถการแข่งขัน 64 เขตเศรษฐกิจในปี 2566 จากการจัดอันดับของ IMD ดีเกือบทุกด้าน มีประสิทธิภาพของภาครัฐอยู่ที่อันดับ 24 ประสิทธิภาพธุรกิจอยู่ที่ 23 แต่พบว่าในภาพรวมเราอยู่ที่อันดับ 30 เป็นรองเพื่อนบ้านค่อยข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นสิงค์โปร 4 มาเล 27 แม้ว่าเราจะมั่นคงพอสมควร แต่ต้องยอมรับเศรษฐกิจไทยเราไม่ได้เติบโตหวือหวามาพอสมควร
ซึ่งถามว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตเต็มศักยภาพหรือยัง ศักยภาพก้าวเป็นประเทศมีรายได้สูงได้หรือยัง หากหันไปดูจะพบว่า เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากหลายประการ อาทิ
1.ปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ภาวะการเงินตึงตัว ดอกเบี้ยสูง ทำให้ภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายสูง เสี่ยงภายในปัจจัยการผลิต ปัจจัยความเสี่ยงโครงสร้าง เช่น การเข้าสู่ภาวะสูงวัย นำไปสู่การขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตร ซึ่งส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ภาครัฐลดลง
2. ยังมีเรื่องของเม็ดเงินลงทุนในการลงทุนของภาครัฐ ที่เห็นว่า ลดลงอยู่ที่ 25%ต่อจีดีพี มานานกว่า 20 ปี แล้ว
3.หนี้ครัวเรือนอยู่ในดับสูง 90%ต่อจีดีพี ซึ่งก็อยู่ในความสนใจของรัฐบาลที่พยามแก้ไข โดยเตรียมจะออกมาตรการต่างๆมาแก้ไขภายในเร็วๆนี้
แม้ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ระดับ 90% ของจีดีพี ส่งผลต่อการบริโภค การออม ลงทุนของครัวเรือน เมื่อรวมกับแล้งจึงไม่ต้องสงสัยทำไมเศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตลดลงอยู่เรื่อยๆในระยะ20ปีที่ผานมาจากเคยโตได้ 5-6% หลังจากมีวิฤตต้มยำกุ้ง มาจากหลายสาเหตุ เช่น จากโควิด ดังนั้นเราต้องเร่งการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ เช่น การกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้น ยังต้องกระตุ้นฝั่งโครงสร้างการผลิตด้วย ซึ่งการลงทุนภาครัฐและเอกชน ต้องเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ศักยภาพจะได้นำพาไทยให้เติบโตก้าวผ่านความไม่แน่นอน และข้อจำกัดต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย รวมถึงด้านแรงงานด้วย เพื่อยกระดับหรือพลิกเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอีกขั้น
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.