NIAxTED Fundใส่ทุน 200 ล้านบาทต่อยอดมูลค่าธุรกิจนวัตกรรมแตะ 1 พันล้านบาท
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่ากระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม และเชื่อมั่นว่าการที่นวัตกรรมจะเดินหน้าอย่างก้าวกระโดดนั้น ต้องอาศัยความเข้มแข็งของภาคเอกชนโดยมีภาครัฐเป็นกองหนุนที่สำคัญ
ทั้งนี้จึงเกิดความร่วมมือของ NIA และสํานักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) โดย TED Fund ในการพัฒนากลไกการเงินรูปแบบใหม่ นั่นคือ “กลไกการสนับสนุนเงินทุนอุดหนุนสมทบสำหรับผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากความร่วมมือของแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน” ซึ่งเป็นกลไกการเงินแห่งแรกที่เชื่อมต่อแหล่งเงินทุนของภาครัฐและเอกชน เพื่อเร่งธุรกิจนวัตกรรมไทยให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยงบทุนอุดหนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกว่า 200 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างให้เกิดมูลค่าของธุรกิจนวัตกรรมกว่า 1,000 ล้านบาท ผ่าน
3 แนวทาง ได้แก่ 1) เร่งการเติบโตในการลงทุนทางนวัตกรรมเชื่อมกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 2) กระตุ้นกิจกรรมด้านการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมจากตลาดทุนทางเทคโนโลยี และ 3) เพิ่มจำนวนวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่พร้อมเข้าสู่แหล่งเงินทุนจากภาคเอกชนเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างทางธุรกิจ โดยมุ่งสนับสนุนให้ประเทศไทยมีการสร้างสรรค์ พัฒนา ต่อยอด “ธุรกิจนวัตกรรม” ที่สร้างคุณค่าและประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการผลักดันอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก (GII) ของประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” ต่อไป
ด้านนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. และประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กล่าวว่า โครงการ TED Matching Fund ดำเนินการขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มจำนวนผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่ในประเทศ ตลอดจนเป็นตัวเร่งสำคัญที่จะเพิ่มปริมาณการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และร่วมมือกับภาคเอกชนในการร่วมลงทุนช่วยเสริมความแข็งแกร่งกลไกของทุนนี้ พร้อมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยฐานนวัตกรรม ในปีงบประมาณ 2567 นี้ TED Fun
โดย TED Fund จะร่วมสนับสนุนทุนอุดหนุนสมทบกำหนดเงื่อนไขการส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ (Recoverable Grant) ซึ่งการสนับสนุนจากฝั่งภาครัฐนั้นสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อโครงการ โดยงบประมาณการร่วมลงทุนจากภาครัฐจะมาจาก 2 หน่วยงาน คือ TED Fund (5 ล้านบาท) และ NIA (5 ล้านบาท)
ภายใต้เงื่อนไขว่า ผู้ที่จะขอรับการสนับสนุนทุนจะต้องได้รับการร่วมลงทุนและการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้ร่วมลงทุนภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนกับ “TED Fund” เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ ซึ่งผู้ขอรับทุนจะมีระยะเวลาการดำเนินโครงการไม่เกิน 5 ปี และเมื่อดำเนินโครงการประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ตามตัวชี้วัดของโครงการที่วางไว้ ผู้รับทุนต้องส่งคืนเงินตามมูลค่าที่ได้รับการสนับสนุนให้ TED Fund พร้อมดอกเบี้ย (ไม่เกินร้อยละ 5) เพื่อนำไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายอื่นต่อไป
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “จาก 6 ความท้าทายในการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพของไทย ได้แก่
1) สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่ซับซ้อนและไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ 2) กลุ่มผู้มีความสามารถยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะสาขาเทคโนโลยีเกิดใหม่ 3) กรอบความคิดทางธุรกิจนวัตกรรมที่สนใจทำธุรกิจนวัตกรรมแต่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 4) โครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเกิดธุรกิจนวัตกรรมเข้าถึงยากและไม่เพียงพอ 5) การสนับสนุนจากรัฐบาลไม่สอดคล้องต่อเนื่องกัน และ 6) การเข้าถึงเงินทุนโดยเฉพาะเงินทุนระยะเริ่มต้นและระยะเติบโตสำหรับสตาร์ทอัพไทยมีจำกัด จึงทำให้เกิดความร่วมมือในการเปิดกลไกการสนับสนุนเงินทุนอุดหนุนรูปแบบใหม่ “Corporate co-funding”
เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพมักมีความเสี่ยงสูง และบ่อยครั้งประสบปัญหาด้านการเงินสำหรับการต่อยอดผลงานและการขยายธุรกิจ กลุ่มนักลงทุนส่วนใหญ่สนใจแต่ธุรกิจสตาร์ทอัพขนาดใหญ่ที่พร้อมสร้างกำไรอย่างรวดเร็ว ซึ่งกลไกการสนับสนุนนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนแล้ว ยังช่วยเร่งจำนวนผลงานวิจัยที่ออกสู่เชิงพาณิชย์ให้เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่ออันดับดัชนีนวัตกรรมโลก (GII) ของประเทศไทยอีกด้วย
โดยทุนดังกล่าวจะสนับสนุนผู้ประกอบร่วมกันระหว่างแหล่งเงินทุนภาครัฐและเอกชนรวมโครงการละกว่า 20 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขส่งเงินอุดหนุนของภาครัฐคืนเมื่อประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ สำหรับในปีงบประมาณ 2567 นี้ NIA ได้รับเงินจัดสรรจาก สกสว. ในการดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการร่วมกับ TED Fund จำนวนหน่วยงานละ 50 ล้าน ทำให้มีวงเงินสนับสนุนจากแหล่งเงินทุนภาครัฐ 100 ล้านบาท
"การที่ผู้ประกอบการจะเข้าสู่ Growth stage ได้ ต้องมีเงินสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน "
ขณะที่รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ว่าอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ที่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570
โดยมี NIA และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีให้สามารถพึ่งพาตัวเองและเติบโตกลายเป็นธุรกิจฐานนวัตกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีกลไกการขับเคลื่อนที่แตกต่างกัน และหนึ่งในกลไกที่ สกสว. ได้จัดสรรงบประมาณผ่าน NIA คือกลไก Corporate co-funding
ด้วยมีเป้าหมายให้เกิดกลไกใหม่ในการส่งเสริม และสร้างโอกาสการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมผ่านการเชื่อมโยงเครือข่าย ทั้งด้านเทคโนโลยีและการเงินของสตาร์ทอัพไปสู่ธุรกิจฐานนวัตกรรม เนื่องจากปัจจุบันสตาร์ทอัพส่วนใหญ่อยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากแต่มีรายได้จำกัด ทำให้ไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้หลุดพ้นจากหุบเขามรณะ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเร่งผลักดัน และสร้างปัจจัยที่เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระบบการเงินนวัตกรรมที่เอื้อต่อการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากระยะเริ่มต้นให้เข้าสู่ระยะการเติบโตและต่อยอดการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.