นักวิชาการ เตือนไทยรับมือ เศรษฐกิจจีนโตไม่เหมือนเดิม
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวว่า เชื่อว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2566 จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ที่ 5%ต่อปี เห็นได้จากการประเมินของกองทุนระหว่าประเทศ(IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตจีดีพีของจีนไว้ที่ 4.5% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี จากเดิมที่ 5.2% เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 20%ของจีดีพีจีน กำลังเผชิญกับวิกฤตหนัก ราคาตกต่ำลง ยอดขายปรับตัวลดลง
นอกจากนี้การประกาศล้มละลายของ เอเวอร์แกรนด์ (China Evergrande Group) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาฯของจีน หลังจากประสบปัญหานี้สินแล้ว ในเวลาเดียวกัน ในจีนยังมีเรื่องที่สร้างความกังวลใจจาก คันทรี่ การ์เดน (Country Garden) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ระดับท็อปอีกรายที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง และกำลังนับถอยหลังสู่การผิดนัดชำระหนี้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ และอาจเกิดการลุกลามของการผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้างออกไปอีก
ปัญหาดังกล่าวยังไปกระทบต่อ ธนาคารเงา (Shadow Bank) หรือ สำหนักงาน จงหลง อินเตอร์เนชั่นแลน ทรัสต์ เป็นหนึ่งใน Shadow Bank รายใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่คล้ายกับธนาคาร โดยรับฝากเงินจากลูกค้าไปปล่อยกู้ในรูปแบบของตราสารหนี้ (หุ้นกู้) หรือตราสารทุน (หุ้น) และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร แต่ตอนนี้ไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนได้ตามที่สัญญาไว้ ทั้งที่พบว่า บริษัยังมีกำไร ทำให้เกิดเหตุประท้วงความไม่พอใจของประชาชน
อีกทั้ง จีน กำลังประสบกับภาวะกำลังซื้อในประเทศจีนลดลง เศรษฐกิจส่อแววเข้าสู่ภาวะเงินฝืด สวนทางกับทิศทางเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งจะเป็นปัญหาหนัก จากประชาชนไม่ยอมใช้จ่าย และจีนยังมีปัญหาคนว่างงาน 5-6% แม้เป็นระดับที่ไม่สูงนัก แต่พบว่าส่วนใหญ่เป็นเด็กจบใหม่ที่ว่างงาน 21-22% ที่ร้ายกว่านั้น เศรษฐกิจมีหนี้สาธารณะ ทั้งของรัฐ และเอกเอกชนรวมกันถึง 280%ต่อจีดีพี
ขณะที่ขีดความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดโลกของจีนปรับตัวลดลง เป็นอีกเหตุผลที่ฉุดเศรษฐกิจจีนหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยขยายตัวสูงสุดได้ถึง 10%ต่อจีดีพี ติดกัน 10 ปี ทำให้หลายสำนักเศรษฐกิจคาดว่า เศรษฐกิจจีนมีโอกาสที่จะหดลงเหลือกว่า 3% หากเป็นแบบนี้ เชื่อว่า เศรษฐกิจไม่สามารถแซงหน้าสหรัฐไม่ได้แล้ว และแนวนโยบายของจีนที่จะหลุดจากกับดับรายได้ปานกลาง ในปี 2035 อาจไปไม่ถึง
ด้วยเศรษฐกิจที่ตกอยู่ในสภาะเปราะบาง ทำให้จีนไม่กล้าที่ใช้มาตกรารจกระตุ้นด้วยยาแรงแบบเก่า เช่น การอัดสภาคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนมากๆ เช่น ในภาคอสังหาฯ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพราะจะไปดันระดับหนี้ครัวเรือน และหนี้สาธารณะให้พุ่งสูงขึ้นไปอีก ทำให้รัฐบาลจีนทำนโนยายได้ในขอบเขตจำกัด เห็นได้จากมาตรการทางการเงิน ด้วยลดดอกเบี้ย ที่ล่าสุด ธนาคารกลางจีน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีลงเพียง 0.10% สู่ระดับ 3.45% เพื่อกระตุ้นความต้องการสินเชื่อ ลดต้นทุนการกู้ยืมเงิน แต่คงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีเอาไว้ที่ระดับ 4.20%
“จะเห็นได้ชัดว่าจีนไม่กล้าลดดอกเบี้ยเยอะ เพราะดอกเบี้ยสหรัฐฯสูงถึง 5% ช่องว่างผลตอบตอบทนจากการลงทุนใน 2 ประเทศต่างกันมาก จะส่งผลต่อเงินหยวนอ่อนแอลง เพราะยิ่งลดยิ่งแย่ ตอนนี้เงินหยวนก็ร่วงลงมาแตะที่ระดับ 7 .30 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว ซึ่งจะไปมีผลกระทบต่อการนำเข้าแพงขึ้น ” รศ.ดร.สมชาย กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า แนวนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน จะเป็นลักษณะกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจไม่มากนัก เพราะสิ่งที่นาย สีจิ้นผิง ประธานธิบดี จีน ต้องการ คือ การให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างช้า แต่มีคุณภาพ ดังนั้นภายใต้ข้อจำกัด บวกกับแนวนโยบายของจีน ทำให้คาดว่า จากนี้เศรษฐกิจจีนจะเติบโตได้เฉลี่ย 3-4% ต่อปีเท่านั้น
สำหรับผลกระทบต่อ เศรษฐกิจไทย ปัญหาเศรษฐกิจจีน ส่งผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางเงินหยวน เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาเศรษฐกิจจีนมาก ทั้งด้านการลงทุน และท่องเที่ยว โดยเฉพาะผลกระทบต่อการท่องเที่ยว หลังคนจีนเที่ยวไทยชะลอ เมื่อนักท่องเที่ยวจีนแผ่วลง ทำให้การเติบเติบโตของเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 2/2566 ขยายตัวเพียง 1.8% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 3%
“เดิมที่ IMF คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจโลก แต่เมื่อเศรษฐกิจจีนเป็นแบบนี้จะกระทบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเศรษฐกิจไทยไปด้วย เศรษฐกิจจีนมีปัญหา ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ลำบากมากขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยน้อยกว่าที่คาดไว้ว่า ปีนี้จะมี 28 ล้านคน ตอนนี้ลดลเหลือ 25-26 ล้านคน ส่วนหนึ่งเพราะนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาน้อยลง จากปัญหาเศรษฐกิจเขา มา 3-4 ล้านคนก็เก่งแล้ว ขณะที่การใช้จ่ายรายได้ต่อหัวก็ลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการออก จนทำให้จีดีพีไตรมาส2 ติดลบ 6.4% ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ส่งออกไทยที่ติดลบมากถึง -5.7% สาเหตุจากตลาดส่งออกของไทย โดยเฉพาะจีน รวมทั้งสหรัฐ และยุปโรปชะลอตัวอย่างมากในปีนี้” รศ.ดร.สมชาย กล่าว
สำหรับ มาตรการรับมือระยะยาว เพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยให้อยู่รอดได้ ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจจีน คือ
1.ลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจีน และขยายตลาด การส่งออก และการท่องเที่ยวให้มากขึ้น เช่น ขยายตลาดเก่า หาตลาดใหม่ ไปยังประเทศอื่น เช่น ตะวันออกกลาง เพื่อลดความเสี่ยง
2.พัฒนาเทคโลโลยีดิจิทัล แบบปฐมภูมิ คือ การสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ อาทิ ภาคเกษตร การท่องเที่ยว อาหาร ให้มีเทคโนโลยีทันสมัย ในผลิตสินค้าใหม่ๆออกสู่ตลาด จะทำให้เราพัฒนาขีดสามารถการแข่งขันได้มากขึ้น
3.พัฒนาจุดแข็งของไทย เช่น ท่องเที่ยว อาหาร และด้านสุขภาพ ให้เต็มกำลังด้วยเทคโนโลยี
4.พัฒนา บุคลากร ด้วยการรีสกิล ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ
5.พัฒนา หรือปฎิวัติด้านการศึกษา เพราะการศึกษาไทยยังต่ำ และไม่เก่ง โดยเฉพาะการคำนวณ จับการประเด็น
ส่วน มาตรการในระยะสั้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อันดันแรก ที่รัฐบาลใหม่เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น หลังจากที่สศช. หั่นคาดการณ์จีดีพีไทย โตต่ำ หรือเหลือเพียง 2.5% จากเดิมที่ประเมินไว้ 3% คือ การเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 เพื่อมากระตุ้นเสรษฐกิจ เชื่อว่า จะช่วยให้เศรษฐกิจโตได้ 3-4% ที่ต้องทำคู่ขนานไปกับการพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันซึ่งเป็นมาตรการระยะยาวในข้างต้น รวมทั้งต้องเร่งลดระดับหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงแตะ 90% ของจีดีพี ผ่านการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ไม่ใช่เพียงเรื่องหนุนสินเชื่อ แต่ช่วยเรื่องการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีออกสู่ตลาด เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางขยาดย่อมเติบโตได้ในระยะยาว
“รัฐบาลใหม่ต้องรรับกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวดีขึ้น เริ่มด้วยการเริ่งการเบิกง่ายงบประมาณ ซี่งจะทำให้จีดีพีขยับขึ้นได้ 3-4% บนพื้นฐานที่คำนึงถึงเสถียรภาพการคลัง ไปพร้อมแก้ไขความสามารถด้านการแข่งขันด้วยเทคโนลียี และพัฒนาคุณภาพการศึกษา” รศ.ดร.สมชาย กล่าว
รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า จากปัญหาเศรษฐกิจจีน ส่งผลต่อการการค้า การส่งออกของไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะจีนเป็นตลาดส่งออกหมายเลข 1 ของไทย เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่ชะลอลงมาก เพราะเมื่อเศรษฐกิจจีนไม่ดี ก็มีผลทางจิตวิทยา ทำให้ประชาชนไม่ยอมใช้จ่าย และออกเดินทางน้อยลง จะเป็นนักท่องเที่ยวแบบ fasting tourists คือ จะมาเร็วไปเร็ว ใช้จ่ายน้อย และไม่มาแบบกรุ๊ปทัวร์ ต่างจากเดิมที่มีการจับจ่ายใช้สอยจำนวนมาก ตอนนี้ก็จะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่เป็นลักษณะท่องเที่ยวระยะสั้น ไม่กี่วันกลับ การใช้จ่ายจึงไม่มาก
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ รัฐบาลจีนจะออกมาตรการจำนวนมากเพื่อกระตุ้นจำนวนมาก เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอยในระยะยาว ส่วนธนาคารจีนปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงไม่มาก เป้าหมายเพื่อกระตุ้นความต้องการสินเชื่อ และดูแลภาคอสังหาฯ สะท้อนว่าจีนยังรับมือวิกฤตในตอนนี้ได้ด้วยมาตรการอื่น
ส่วนมาตรการรับมือของไทย รัฐบาลใหม่จะมีมาตรการเชิงรุกออกมา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ทั้งข้าราชการ เอกชน และประชาชน โดยต้องพิจารณาดูว่าปัญหาความเชื่อมั่นตอนนี้เกิดจากสาเหตุอะไร
“ปัจจัยอะไรที่ทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่น ประชาชนไม่ใช้จ่าย เพราะความไม่แน่นอนการเมืองหรือไม่ หรืออะไร ดังนั้นเราต้องไปทำให้เอกชน ประชาชนมั่นก่อน จะทำให้การลงทุน การใช้จ่ายตามมา ที่สำคัญรัฐต้อง สร้างความสมดุลระหว่างการใช้นโยบายประชานิยมกับระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยระบบกลไกลตลาดทำงานที่เป็นจริง ไม่ใช่เน้นเรื่องประชานิยมลด แลกแจกแถมเพียงอย่างเดียว” รศ.ดร.สมภพ กล่าว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.