นายกฯขอโทษชาวพิษณุโลก ไม่ทราบปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค พร้อมเร่งแก้ปัญหา
เมื่อเวลา 10.20 น. นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงผลิตน้ำประปา ณ เทศบาลนครพิษณุโลก ตำบลในเมือง อำเภอพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เพื่อพูดคุยถึงปัญหาน้ำประปา ซึ่งได้รับรายงานจากนางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก ว่า ตลอด 80 ปีที่ผ่านมาเทศบาลพยายามใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอด แต่การประปาไม่ได้รับการปรับปรุง และการจัดเก็บค่าน้ำประปาก็ถูกจึงไม่สามารถนำเงินมาปรับปรุงน้ำประปาได้ หลังจากที่ได้งบประมาณมา 100กว่าล้านก็ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนเส้นท่อน้ำประปาได้ทั้งหมด และไม่เพียงพอต่อการบริโภคของประชาชนทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ขณะที่เส้นท่อน้ำประปาก็ผุพังไปเรื่อยๆ
จากนั้น นายเศรษฐา กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าการบริหารจัดการน้ำมี 4 ส่วน ส่วนที่พูดกันตลอดเวลาคือภาคการเกษตรภาคอุตสาหกรรมและการรักษาระบบนิเวศ และอีกส่วนที่สำคัญที่สุดแต่อาจจะมองข้ามไปเพราะคิดว่ามีมาโดยตลอดคืออุปโภคบริโภค จังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดแรกที่มีน้ำท่วม และมีปัญหาเรื่องนี้ ส่วนจังหวัดอื่นที่มีน้ำท่วมไม่เคยมีปัญหานี้เพราะจังหวัดอื่นน้ำท่วมแต่น้ำกินน้ำใช้ไม่เคยมีปัญหา
เรื่องการพัฒนาท่อส่งน้ำประปา พิษณุโลกมีการพัฒนาเป็นเมืองรองจนกระทั่งเป็นเมืองหลักในการท่องเที่ยวแล้วฉะนั้นการอุปโภคบริโภคน้ำเป็นเรื่องสำคัญตรงนี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้การแก้ไขปัญหาของเมืองหรือเขตรอบ ชายแดน เราก็ต้องคำนึงถึงอย่างมาก เรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐานรัฐบาลต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หลังจากนี้ตนจะโทรหาให้นายชาดา ไทยเศรษฐ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงมาดูว่าสามารถทำอะไรได้หรือไม่ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
พร้อมยอมรับว่า"ตนพึ่งทราบตอนเรื่องนี้ ซึ่งช่วงมาเลือกตั้งตนก็ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนถ้าทราบมาก่อนก็จะได้หาทางออกไว้ให้ แต่ช้าก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำขอกราบขอโทษด้วยที่เดือดร้อนมานาน วันนี้ สส.ก็ได้มากันเยอะ ที่ให้ความสำคัญ และเป็นห่วงเป็นใยประชาชนในเรื่องนี้พอสมควร สิ่งที่คนในจังหวัดหลายๆจังหวัดถือว่าเป็นของตายคือน้ำอุปโภคบริโภคแต่จังหวัดใหญ่ อย่างพิษณุโลกยังมีปัญหา จึงขอกราบขอโทษในนามรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน ก็จะนำมาพัฒนาและทำให้ดีขึ้นในระยะสั้นก่อนและในระยะยาวก็ต้องแก้ไขกันไปเมืองรองอย่างพิษณุโลกก็ต้องพัฒนาและเติบโตไปตามแผนงานเศรษฐกิจต่อไป แล้วจะกลับไปทำให้เร่งด่วน
ด้านนายเกรียง กันตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่าถามนายกเทศมนตรี ว่าในเจตนารมณ์ท้องถิ่นต้องการในเรื่องการจำหน่ายน้ำประปาเองหรือต้องการที่จะโอนมอบ โอนถ่ายประปา ไปให้ทางประปาภูมิภาค อยากให้สส.ประสานกับนายกเทศมนตรี ให้ทำประชาคมดูว่าจะต้องการโอนถ่ายภารกิจนี้ไปยังประปาส่วนภูมิภาคหรือจะทำเอง แต่ถ้าจะทำเองหรือจะโอนถ่ายก็ดีอยากให้สส.ประสานและรวมไปถึงทำยังไง ในเมื่อจะทำใหม่แล้วจะทำเป็นประปาดื่มได้ด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเป็นประปาดื่มได้ก็จะลดค่าใช้จ่ายประชาชนมามหาศาล
ด้านนายสมศักดิ์ เทพสุทินรองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เมื่อครู่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตำหนิซึ่งตนขอรับผิดไว้เอง พี่ไม่ได้บอกนายกรัฐมนตรีไว้ เพราะนายกเทศมนตรี ได้บอกตนไว้ตลอดแต่ทนไม่ได้เป็นผู้แทนจึงไม่ได้บอกต่อไปยังนายกรัฐมนตรี
จากนั้นายเศรษฐาได้รับฟังปัญหาของภาคอุตสาหกรรม และกล่าวว่า ด้านภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยวการขยายตัวของสาธารณูปโภคพื้นฐาน สนามบิน ซึ่งอยู่ในแผนของรัฐบาลอยู่แล้วที่อยากสนับสนุนเมืองรองให้เป็นเมืองหลักให้มีสายการบินหลายๆสายการบินมาลงที่นี่หรือผลักดันไปเป็นสนามบินนานาชาติเลยก็ได้ ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ผู้บัญชาการท่าอากาศยานเองก็ตระหนักดีในเรื่องนี้ ถ้าไม่มีน้ำประปาที่ดี น้ำอุปโภคที่ดี ท้ายเขื่อนที่ดีทำให้น้ำท่วมน้ำแล้งอุตสาหกรรมก็ไม่มา อย่างน้อยก็ต้องสร้างพื้นฐานเรื่องอุปโภคพื้นฐานก่อน ซึ่งตนก็ค่อยๆดูอยู่ เมืองนี้ นอกจากนีเมืองนี้มีมหาวิทยาลัยที่ดีอยู่แล้ว ก็มีศักยภาพในการพัฒนาบุคลากรที่สำคัญมีวัฒนธรรมเป็นที่แพร่หลายในเมืองไทยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องการท่องเที่ยวไม่ต้องเป็นห่วง เราพยายามที่อยากทำให้เมืองนี้เป็นเมืองท่องเที่ยวมากขึ้นไม่ใช่เฉพาะแค่ชาวไทยแต่ชาวต่างประเทศด้วย รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างสูงอยู่แล้ว เรื่องของผังเมืองไปทุกที่ก็เจอหมดเพราะฉะนั้นเราต้องทำอย่างบูรณาการทั้งประเทศ เข้าใจเรื่องพื้นที่เขียว สีม่วง จะเอาอุตสาหกรรมมาลงก็ไม่ได้ถ้าพื้นที่ไม่ให้เอามาลง จังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดแรกๆที่ตนได้ลงมาเอง บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับจังหวัดพิษณุโลก
"อุตสาหกรรมทั้งหลายชอบไหมลดค่าไฟ เหลือ 3.99 บาท ไม่เห็นมีใครบอกเลยนั่งน้อยใจอยู่ลึกๆ น้ำมันดีเซลลงไปเท่าไหร่ 29 กว่าๆนะ โอ้โหพอทำไปปั๊บเงียบเลยนะเงียบเลย พร้อมถามว่า Digital wallet อยากได้หรือไม่ครับ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่เราทำอยู่ เป็นพื้นฐานที่รัฐบาลตระหนักดีเรื่องค่าใช้จ่าย ที่เป็นภาระสำคัญของประชาชน ลดค่าไฟให้พี่น้องได้ค่าอุตสาหกรรมก็ได้ต้นทุนก็ปรับลดลง อยากอธิบายให้พี่น้องฟังนิดนึงว่าคิดดูวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทุกคนที่มีอายุ16 ปี จะได้เงินคนละ 10,000 บาทคิดดูบ้านนึงอยู่กัน 3 คน 5 คน 7 คนท่านจะได้ 3-5 หมื่นถึง 70,000 บาท ท่านสามารถเอาไปตั้งตัวเปลี่ยนชีวิตได้ทำธุรกิจใหม่ๆได้ ลองคิดดูมีคุณประโยชน์มากมายขนาดไหน แล้วเงินที่ได้เอาไปใช้ที่อื่นก็ไม่ได้ต้องใช้ในพื้นที่ที่ท่านอยู่ จะพัฒนาชุมชนที่ท่านอยู่ด้วยไม่ใช่พัฒนาแค่เมืองใหญ่อย่างเดียว ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่หลายคนไม่เห็นด้วย แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับคนที่ไม่เห็นด้วย แต่เราก็พยายามรับฟังความคิดเห็นเพราะเราเป็นรัฐบาล ของประชาชน เราก็ต้องรับฟังและปรับให้ดีให้เป็นนโยบายที่โดนใจของประชาชนทุกคน ท่านลองคิดดูสิครับวันที่ 1 ก.พ.จะมีเงินเข้ามา 560,000 ล้านศูนย์กี่ตัวผมยังจำไม่ได้ ถ้าเป็นภาคอุตสาหกรรมลองคิดดูว่าจะผลิตสินค้ามารองรับหรือไม่ จะมีการซื้อขายวัสดุที่จะมาทำของที่จะเตรียมขายไหมจะมีการจ้างคนเพิ่มไหมจะมีการจ้างงาน over time เพิ่มขึ้นไหม เงินจะอยู่ในกระเป๋าพี่น้องประชาชนได้มากขนาดไหน อย่างไรท่านอย่ายอมให้กับคนที่ไม่เห็นด้วยที่ไม่มีเหตุผลมายับยั้งโครงการนี้ไม่ได้ ถ้าชอบดูดีอยู่ก็ขอให้พูดบ้างขอให้เปล่งเสียงออกมาบ้างอย่างเช่นภาคอุตสาหกรรม เช่นลดค่าไฟ เช่นลดค่าน้ำมัน เหล่านี้ ต้องพูด ว่าท่านมีความสุขท่านดีใจ เราเองเราก็เป็นคนเหมือนกัน เราเองก็ต้องการขวัญและกำลังใจเหมือนกัน วันนี้วันเสาร์นะครับ ท่านก็อยากตีกอล์ฟท่านก็อยากอยู่บ้านเหมือนกัน แต่ก็เข้าใจถึงความเดือดร้อนของประชาชน ตนไม่ได้มาหาเสียงเพราะหาเสียงจดไปแล้ววันนี้มาทำงานจริงๆอย่างไรก็ฝากด้วยก็แล้วกันขอบคุณครับ"นายเศรษฐา กล่าว
โดย บรรยากาศระหว่างลงพื้นที่ได้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่เทศบาลมาให้การต้อนรับ และในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีถาม ประชาชนที่มานั่งฟังอยู่ก็ได้ส่งเสียงปรบมือและโห่ร้องเป็นระยะ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.