มองย้อน "บ้านเอื้ออาทร" ก่อนติดตาม "บ้านเพื่อคนไทย"นโยบายใหม่รัฐบาล

จากกรณีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาล ในรอบ 3 เดือน (90 วัน) ได้กล่าวถึงนโยบาย “โครงการบ้านเพื่อคนไทย” โดยระบุว่า มีการดำเนินการบนที่ดินของรัฐ โดยมุ่งเน้นการใช้ที่ดินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะนำร่องในพื้นที่ ที่มีทำเลดี เดินทางสะดวก ใกล้เมือง บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 
มีรูปแบบพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งคอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยว พร้อมเฟอร์นิเจอร์ 

 

 

โครงการบ้านเพื่อคนไทยสร้างขึ้นเพื่อให้คนวัยเริ่มทำงานและผู้มีรายได้น้อยได้เช่าซื้อบ้าน ในราคาผ่อนเพียวเดือนละ 4,000 บาท และเมื่อจ่ายครบกำหนด จะสามารถได้เช่าอยู่นาน 99 ปี ทำให้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก 

 

 

ย้อนอดีต "บ้านเอื้ออาทร"

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2546 สมัยที่นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการริเริ่มโครงการในลักษณะคล้ายกันออกมาภายใต้ชื่อ “บ้านเอื้ออาทร”โดยการเคหะแห่งชาติ(กคช.) มีเป้าหมายแก้ปัญหาชุมชนให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งก็ดำเนินไปได้ด้วยดีเป็นระยะเวลา 3 ปี

จากโครงการบ้านเอื้ออาทร สู่ คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร

กระทั่งปีพ.ศ.2549 เกิดรัฐบาลรัฐประหารได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบโครงการต่างๆของนายทักษิณ ซึ่งโครงการบ้านเอื้ออาทรก็ถูกตรวจสอบเช่นกัน เนื่องจากได้รับร้องเรียนว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นและมีการเรียกรับสินบนทำให้ทั้งบริษัทรับเหมาเอกชนรวมถึงเจ้าหน้าที่กคช.ถูกกล่าวหาว่าทุจริตประเมินราคาที่ดินสูงเกินความเป็นจริง

 

 

ปีพ.ศ. 2550 ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดว่า โครงการบ้านเอื้ออาทรมีการจัดซื้อที่ดินแพงเกินจริงและมีการเรียกค่าหัวคิวจำนวน 82.5 ล้านบาท  เพื่อนำไปจ่ายให้กับนักการเมืองและพบเส้นเงินโอนเข้าบัญชีของคนขับรถ แม่บ้าน จึงเข้าข่าย 'ฟอกเงิน' จึงได้มีการโอนคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทรให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการต่อ

 

 

ปี 2560 ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด นายวัฒนา เมืองสุข เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการในโครงการโดยเรียกรับสินบนจากบ.พาสทิญ่า ไทย จนได้โควต้าเป็นคู่สัญญากับการเคหะแห่งชาติทั้งที่ไม่มีคุณสมบัติในการเข้าเป็นคู่สัญญากับกคช. ป.ป.ช.จึงสรุปสำนวนคดีการไต่สวนส่งให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีกับนายวัฒนาและพรรคพวกรวม 14 ราย

 

ปีพ.ศ. 2563 ช่วงปลายเดือนกันยายน ศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็มีคำพิพากษา
1.นายวัฒนา เมืองสุข จำเลยที่ 1
2.นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ "เสี่ยเปี๋ยง" 
ที่ปรึกษาของนายวัฒนา จำเลยที่4 จำคุก 50 ปี
3. น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง จำเลยที่ 5 จำคุก 20 ปี
4.น.ส.กรองทอง วงศ์แก้ว จำเลยที่ 6 จำ
คุก 44 ปี
5.น.ส.รุ่งเรือง ขุนปัญญา จำเลยที่ 7 จำคุก 32 ปี
6. บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดั้ง จำกัด จำเลยที่ ที่ 8 สั่งปรับ เป็นเงิน 275,000 บาท 
7.นายอริสมันต์ จำเลยที่ 10 จำคุก 4 ปี พร้อมสั่งปรับเงินกว่า 1,323 ล้านบาท 

 

ส่วนนายมานะ วงศ์พิวัฒน์ จำเลยที่ 2
 นายพรพรหม วงศ์พิวัฒน์ จำเลยที่ 3
 บริษัท ซิลเวอร์อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ไทย เฉน ทยู อินเตอร์เนชั่นแนลคอนสตรัดชั้น ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด)
จำเลยที่ 9 
บริษัท พาสทิญาไทย จำกัด จำเลยที่ 11
บริษัท นามแฟทท์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จำเลยที่ 12, บริษัท พรินชิพเทค ไทย จำกัด จำเลยที่ 13 และ 
น.ส.สุภาวิดา คงสุข จำเลยที่ 14 ศาลฯ ยกฟ้อง

 

 

 นายวัฒนาใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลฎีกา
ทำให้ระยะเวลายืดยื้อมาจนกระทั่งวันที่ 4 มีนาคม 2565 คดีโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ยืด
เยื้อมานานกว่า 15 ปีจึงได้ปิดฉากลง โดยองค์คณะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว พิพากษายืนจำคุก "วัฒนา เมืองสุข" 50 ปี ให้ชดใช้เพิ่ม 89 ล้านบาท

 

 

เนื่องจากโครงการบ้านเพื่อคนไทย และ โครงการบ้านเอื้ออาทร มีลักษณะคล้ายกัน ทั้งแนวคิด และวัตถุประสงค์ รวมถึงที่เป็นโครงใหญ่ใช้งบประมาณมหาศาล  จึงต้องจับตามองว่าโครงการบ้านเพื่อคนไทย จะเกิดปัญหา และทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยคดีโครงการบ้านเอื้ออาทรหรือไม่

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.