92 ปีรัฐธรรมนูญไทย นักการเมืองขี้ฉ้อ ตัวแปรหลัก ไม่พ้นบ่วงรัฐประหาร

วันที่ 10 ธ.ค. 2567  ในโอกาสครบรอบวันรัฐธรรมนูญของสยาม นับตั้งแต่วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475  โดยถือเอาวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งถือว่าเป็นวันเฉลิมฉลองของสยามและถือเอาวันที่ 10 ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญจนถึงปัจจุบัน

ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่า แม้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎกติกาหลักของประเทศ ก่อให้เกิดสถาบันทางการเมือง ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 เกิดองค์กรอิสระ และเกิดระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

ควบคู่กับระบบเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เพื่อออกแบบให้เป็นรัฐบาลผสม และการมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกสาขาอาชีพ แต่บริบทการเมืองในปัจจุบัน เปลี่ยนไปจากเดิม ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองในระดับที่สูงขึ้น เข้าใจสิทธิ์ในการหย่อนบัตรของตนมากขึ้น เพราะปัจจุบันไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล  สามารถสืบค้นข้อมูลทางการเมืองได้ จากโทรศัพท์มือถือและประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงระบบสื่อสารอินเตอร์เน็ต ในราคาถูกได้

แต่ปัญหาระบบการเมือง การแข่งขันทางการเมืองมีความรุนแรงมากขึ้น การซื้อเสียงเข้าสู่อำนาจรุนแรงทุกระดับโดยเฉพาะการเมืองระดับท้องถิ่น โดยจะเห็นการเมืองระดับชาติ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีบางคน ผิดฝาผิดตัว ใช้ช่องทางการเมืองพลพรรคการเมืองของตนเอง ใช้เทคนิคกินรวบ แก้กฎหมายป้องกันการปฏิวัติ ในการแต่งตั้งทหารชั้นนายพล เลียนแบบมาจากการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และอ้างสกัดการรัฐประหาร นำทหารมาเป็นของนักการเมือง

โดยลืมมองว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 8 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย โดยทหารนั้น เป็นทหารของพระราชา ค้ำจุนราชบัลลังก์ สถาบันกษัตริย์ ให้อยู่คู่กับประเทศไทย

ทั้งยังมีแนวคิดจะแก้ไขมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 อ้างกฎหมายล้าหลัง โบราณ โดยจะใช้โมเดลของรัฐสภาเกาหลีใต้ มาใช้เป็นโมเดลของประเทศไทย โดยให้อำนาจ ส.ส.ในรัฐสภา มีอำนาจต่อต้านการรัฐประหาร โดยให้ ส.ส.ใช้กลไกสภา ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกได้ 

ทั้งการเสนอ ร่าง พรบ.ประชามติ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 13 เปลี่ยนระบบสองชั้นมาเป็นระบบชั้นเดียว ให้เหลือเพียงระบบเสียงข้างมากธรรมดาแต่ล้มไม่เป็นท่า ส่งผลนัยยะสำคัญ คือ รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรของไทย ร่างโดยนายมีชัย ฤชุพันธ์ แก้ไขยาก เพราะมาตรา 256 วางหมากไว้อีกชั้นหนึ่ง จะต้องมี สว.เห็นชอบด้วยหนึ่งในสาม ในวาะที่ 3 ประกอบกับ การจัดทำประชามติ ปัจจุบันเป็นระบบสองชั้นและตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องจัดทำประชามติถึง 3 ครั้ง ทำให้แก้ไขทั้งฉบับ ยากกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา

การแย่งชิงอำนาจ แม้เป็นรัฐบาลผสมนำประเด็นที่ดินเขากระโดง สวนกลับที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ถูกขุดคุ้ยเพื่อใช้ช่องจริยธรรม มาตีกลับรัฐบาล พร้อมกับเกาะกูด ตาม MOU 2544 แม้ผ่านมา 92 ปี แต่การแย่งชิงอำนาจเหมือนเดิม แม้รัฐบาลผสม ต่างขั้วอำนาจ ต่างอุดมการณ์ร่วมกัน ย่อมเป็นการรวมตัวเพียงชั่วคราว เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้  

การเมืองสุกงอม หรือไม่ ประชาชนเจ้าของอำนาจเป็นผู้ชี้ขาด แม้รัฐธรรมนูญจะออกแบ สถาปนาอำนาจสถาบันทางการเมืองไว้อย่างไร คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไว้อย่างไร แต่เมื่อเสือหลับไปแหย่ให้เสือตื่น ไม่ต่างจากเอาไม้แหย่กรงเสือ

ดังนั้น การรัฐประหารของกองทัพ ย่อมเกิดขึ้นได้ ซึ่งตัวแปรหลัก คือ นักการเมืองขี้ฉ้อ แต่หากมุ่งแก้ปัญหาปากท้องประชาชน ไม่โยนหินถามทาง เพิ่มภาระเกินควร โดยเพิ่มภาษี Vat 15% เป็นการรีดภาษีประชาชนเพื่อคืนทุน

โดยการแจกหว่านผู้มีรายได้น้อย หัวละหนึ่งหมื่นบาท ไม่ต่างจากพ่อค้าเงินกู้นอกระบบ แทนที่จะได้คะแนนนิยม แต่ครั้งนี้ พลาดท่า ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข ร่าง พรบ.ประชามติ ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ร่าง พรบ.การจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม รวมถึงแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ล้วนแต่กระทำเพื่อคนของตนเอง และพรรคการเมืองของตนเอง ล้มเหลวไม่เป็นท่า

แม้การออกแบบรัฐธรรมนูญไทยในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตในช่องทางใด โดยยกอ้างว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แต่เป้าหมายเพื่อแย่งชิงอำนาจ ให้พรรคการเมืองของตนเอง ได้เปรียบทุกช่องทางเพื่อครองอำนาจนานที่สุด  มากกว่าการออกแบบเพื่อคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน 

ในโอกาส ครบรอบ 92 ปี การแย่งชิงอำนาจทางการเมือง เป็นวัฏจักการเมืองวน เวียนไม่จบสิ้น  แม้ไม่มีมิตรแท้ศัตรูถาวร ในทางการเมือง  แต่ผลประโยชน์ร่วมกัน ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ผลประโยชน์ลงตัว แต่เมื่อขัดแย้งกันเมื่อใด และเป็นฝ่ายแค้น ใช้กลุ่มมวลชน เป็นเครื่องมือ  กวักมือทหารเข้ามาเป็นคนกลาง ยึดอำนาจ เพื่อยับยั้งปัญหาทุกครั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญและเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นวัฏจักรการเมืองไทยแบบดั้งเดิม  นี่ คือ ระบบการเมืองไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญแบบไทยๆ 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.