ส่องเส้นทาง ยิ่งลักษณ์ กลับมาเล่นสงกรานต์ปี 68

สังคมไทยกลับมาโฟกัสประเด็น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่หลบหนีคดีที่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญากรณี  ในคดีทุจริตรับจำนำข้าว 5 ปี จะกลับบ้านมาเล่นสงกรานต์ปี 2568 อย่างแน่นอน ตามคำให้สัมภาษณ์สื่อนอกของ ทักษิณ  ชินวัตร พี่ชายเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา 

ทักษิณ บอกเล่าอย่างมั่นใจว่า  
“พยายามทำให้แน่ใจว่า “ยิ่งลักษณ์” จะได้กลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีหน้า และไม่เห็นว่าจะมีปัญหาอะไรที่จะขัดขวางเธอไม่ให้ได้กลับบ้าน” 
“คิดว่าเธออาจจะได้กลับบ้านก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาส (ที่เหมาะสม)”

การกล่าวถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรกลับบ้านในช่วงสงกรานต์ เป็นการกล่าวจากปากของ ทักษิณ  ชินวัตรผู้เป็นพี่ชายเป็นครั้งที่ 2 และ ระบุช่วงวันเวลาตรงกัน คือช่วงสงกรานต์ 
      ครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 ครั้งเมื่อเดินทางไปทำบุญประเพณีสงกรานต์ที่จังหวัดเชียงใหม่ หลักได้รับการพักโทษออกจากโรงพยาบาลมาพักอาศัยที่บ้านจันทร์ส่องหล้า โดยทักษิณกล่าวว่า “นายกฯ ปู อวยพรสงกรานต์ก่อนที่ผมจะเดินทางมาเชียงใหม่ ก็เลยบอกเดี๋ยวปีหน้า เรามาทำบุญด้วยกัน สงกรานต์ปีหน้า นายกฯ ปูคงได้มีโอกาสมาทำบุญ”  ส่วนจะกลับมาช่องทางไหนนั้นยังไม่ทราบ เอาความตั้งใจก่อน 
     ครั้งที่สอง ให้สัมภาษณ์ นิตยสาร Nikkei Asia ระบุว่า  “ พยายามทำให้แน่ใจว่า “ยิ่งลักษณ์” จะได้กลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีหน้า และไม่เห็นว่าจะมีปัญหาอะไรที่จะขัดขวางเธอไม่ให้ได้กลับบ้าน 
“คิดว่าเธออาจจะได้กลับบ้านก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาส (ที่เหมาะสม)”

ดังนั้นแนวทางที่เป็นไปได้ที่ ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร อดีตนายก(ยังมีฐานะเป็นผู้หลบหนีโทษจำคุก 5 ปี จากคำตัดสินของศาลฯ) จะกลับมาช่วงสงกรานต์ปี 68 มีแนวทางใดบ้าง 

1 กลับมาเพราะได้รับการนิรโทษกรรม  ในช่องทางนี้ ขณะนี้ ทั้รัฐบาลและฝ่ายค้านกำลังผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมรวม 4 ร่าง ซึ่งถึงวันนี้ยังไม่สามารถเสนอร่างให้สภาพิจารณารับหลักการในร่างใดเลย โดย กฎหมายนิรโทษกรรมจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาได้ ก็ต้องรอเปิดสมัยประชุมสภา ในเดือนธันวาคม 2567 นี้ 

ทั้งนี้ในประเด็นการนิรโทษกรรม ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันว่า โดยมีบางฝ่ายเห็นว่าต้องไม่รวมคดีทุจริต – และความผิด มาตรา 112 ดังนั้นในหลักการ กฎหมายนิรโทษกรรม ยังคงต้องถกเถียงไม่สามารถสรุปได้ง่ายๆ 

นอกจากนี้ ขั้นตอนกระบวนการออกกฎหมาย ตามปรกติ ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาประมาณ 400 กว่าวันต่อฉบับ โดยมีขั้นตอน  3 ส่วน คือ 
1) กระบวนการก่อนการเข้าสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติ เสนอ ตรวจสอบ เพื่อบรรจุวาระ ที่ผ่านมาใช้เวลาประมาณ 45 วัน 

2) กระบวนการภายในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเกี่ยวกับการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 3 วาระ (แบ่งเป็นวาระรับหลักการ วาระพิจารณารายมาตรา และวาระลงมติทั้งฉบับ) ที่ผ่านมาใช้เวลาเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 209 วันและ 

3) กระบวนการหลังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกระบวนการที่วุฒิสภาจะพิจารณาและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยในการพิจารณาของวุฒิสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน กรณีเห็นชอบ หาก ไม่เห็นชอบ กฎหมายจะถูกส่งกลับมาสภาผู้แทนเพื่อพิจารณาอีกครั้ก เวลาก็จะเพิ่มขึ้นไปเป็น 120 วัน หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการทูลเกล้าฯและประกาศใช้กฎหมายในราชกิจจานุเบกเษกอีก 

เมื่อดูเงื่อนไขเวลาแล้วช่องทางนี้ โอกาสความเป็นไปได้น้อยมาก 

2  กลับมาตามโมเดล ทักษิณ 
ในกรณีทักษิณ ชินวัตร ที่กลับมาประเทศไทย เริ่มจากกระบวนการขอรับอภัยโทษลดโทษลง  จากนั้นเดินทางกลับมารับโทษ เข้าสู่กระบวนการของกรมราชทัณฑ์ แต่เนื่องจากเป็นผู้ป่วย ถูกส่งตัวมารับการรักษานอกโรงพยาบาลราชทันฑ์ พร้อมขอพักโทษ  โดยทักษิณ อาศัยรักษาตัวในโรงพยาบาลจนได้รับพักโทษกลับมาอยู่ บ้านจันทร์ส่องหล้า โดยไม่ได้เข้าเรือนจำ จนถูกวิพากษ์จารณ์และถูกตรวจสอบอยู่ในขณะนี้ 

โมเดลนี้ ค่อนข้างยาก เพราะโดยอายุของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ยังไม่ถึง 60 ปี ไม่มีข่าวการป่วยไข้ใดๆ ที่สำคัญหากยังใช้รูปแบบเดิม กระแสโจมตี กระแสตรวจสอบยิ่งหนักหน่วง และจะยิ่งลามกระทบรัฐบาลแพทองธาร ได้  ข่องนี้นี้จึงไม่น่าจะถูกเลือกมาใช้อีกครั้ง 

3 กลับมารับโทษ ตามคำพิพากษาของศาล 
ช่องทางนี้ ถือว่าปิดตายได้เลย เพราะ ไม่อย่างนั้น คงยอมรับโทษตั้งแต่แรก และคงได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว เพราะศาลฯมีคำพิพากษามาตั้งแต่ปี 2560 

4 กลับมารับโทษ แต่ ขอจำคุกนอกเรือนจำ
ช่องทางนี้ เป็นช่องทางที่บรรดานักสังเกตุการณ์ทางการเมือง พูดถึงมากที่สุด เป็นช่องทางที่ถูกจับตามากที่สุด 

การออกระเบียบ คุมขังยังสถานที่คุมขัง ของกรมราชทัณฑ์เกิดในยุคปลาย สมศักดิ์  เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในปี 2566  ปัจจุบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คือ ทวี สอดส่อง ล่าสุดได้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องความคืบหน้าการเดินทางกลับไทยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า 

“เบื้องต้นยังไม่ได้รับการประสานมา แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เพราะคนที่จะเข้าสู่กระบวนการของกรมราชทัณฑ์ต้องเริ่มต้นที่กระบวนการศาลก่อน คือมีหมายขังที่ออกโดยศาล เมื่อรับหมายแล้ว กรมราชทัณฑ์ก็ปฏิบัติตาม และตามกฎหมายของกรมราชทัณฑ์ปัจจุบันมีการยกระดับมากขึ้น หากเป็นผู้หญิงก็ต้องอยู่ในทัณฑสถานกลาง ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย”

ในขณะสาระสำคัญของระเบียบการจำคุกนอกเรือนจำ หรือ ที่เรียกอย่างเป็นทางการว่าระเบียบการคุมขังนอกสถานที่คุมขัง นั้น ในมุมมองของ นักกฎหมายคนสำคัญ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยให้ความเห็นไว้ว่า 

“ระเบียบที่ออกมาใหม่นี้ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอ และพึ่งพิงดุลยพินิจของผู้บริหารกรมราชทัณฑ์มากเกินไป ทำให้ถูกมองว่าระเบียบนี้ออกแบบมาเพื่อผลประโยชน์ของใครบางคน”

และจากการสำรวจระเบียบดังกล่าว พบว่า การอนุญาติให้คุมขังนอกเรือนจำ เป็นดุลพินิจของ  ‘คณะทำงานพิจารณาการคุมขังในสถานที่คุมขัง’ ทั้งสิ้น ไม่มีเกณฑ์จะต้องจำคุกในระยะเวลาเท่าไร อายุเท่าไร คดีลักษณะใดบ้างที่จะได้รับสิทธินี้  ดังนั้นช่องทางนี้ ถือว่า ถูกจับตามากที่สุด 

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ท้ายที่สุด ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร จะกลับมาเล่นสงกรานต์ในปี 68 จริงหรือไม่ ด้วยเหตุผลใด ช่องทางใด นับจากนี้ไปสังคมต่างจับตาไม่กระพริบในเรื่องดังกล่าว 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.